11 ส.ค. 2021 เวลา 01:03 • นิยาย เรื่องสั้น
[ ภาพ“นางฟ้าโปรยดอกไม้” หรือ “เซียน-นวี่-ซ่าน-ฮัว” (仙女散花) ของขวัญพิเศษก่อนเทศกาลเด็กสาวขึ้น 7 ค่ำเดือน 7 ]
....นางฟ้าโปรยดอกไม้ หรือ “เซียน-นวี่-ซ่าน-ฮัว” (仙女散花)
บ้างเรียกว่า “เทียน-นวี่-ซ่าน-ฮัว” (天女散花)
...ทั้งสองคำต่างล้วนมีความหมายเดียวกัน ภาพสิริมงคลของนางฟ้าจะแสดงออกในลักษณะของเทพธิดาผู้งดงาม กำลังโบยบินอยู่บนท้องฟ้าท่ามกลางหมู่มวลเมฆ และร่ายรำพร้อมทั้งโปรยดอกไม้จากฟากฟ้าลงมาสู่แดนดิน นับเป็นภาพแห่งความงดงามที่ติดตาตรึงใจกับชาวจีนมานานแสนนาน
....ดังนั้น ภาพ “นางฟ้าโปรยดอกไม้” จึงถูกใช้เป็นภาพสัญลักษณ์แห่งการอำนวยพร ดอกไม้จากสวรรค์ที่โปรยลงมา เปรียบได้กับการประทานส่งความสุขมอบให้แด่มนุษย์ทุกรูปนาม ในปัจจุบันนี้ คำว่า
“นางฟ้าโปรยดอกไม้”
....ไม่เพียงแต่ปรากฏในภาพวาดจิตรกรรมอันเป็นสัญลักษณ์มงคลแห่งการอำนวยพรเท่านั้น แต่ยังนิยมใช้ในการร่ายรำทางนาฏศิลป์จีน และการแสดงอุปรากรจีนอีกด้วย
....นอกเหนือจากนี้ ยังมีภาพลักษณ์มงคลเกี่ยวกับนางฟ้าอีกภาพหนึ่งที่นิยมใช้แขวนประดับและส่งมอบอวยพรต่อกันและกันคือ ภาพ
“เจ็ดนางฟ้า” (七仙女) "
หรือ บ้างก็เรียกกันว่า
“เจ็ดนางฟ้าคะนึงถึงแดนดิน” (七仙女思凡) "
กล่าวกันว่า นางฟ้าทั้งเจ็ดเป็นพระธิดาของ
"อวี้ฮว๋างต้าตี้ (玉皇大帝)"
หรือที่เราเรียกกันว่า “เง็กเซียนฮ่องเต้”
....แม้ว่าชีวิตบนสรวงสวรรค์จะสุขกายสบายใจ แต่เทพธิดาทั้งเจ็ดต่างก็ปรารถนาจะเป็นดั่งเช่นชีวิตของชายหนุ่มหญิงสาวบนโลกมนุษย์ จึงเมียงมองลงมายังโลกด้วยความคะนึงหาชีวิตอันแสนหวานของทุกคู่รักบนแผ่นดิน
....คตินิยมเรื่องของ “นางฟ้า” ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ จะพบเห็นได้ในงานศิลปะจิตรกรรมฝาผนังทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพจิตรกรรมพุทธศิลป์ ณ ผนังถ้ำตุนหวง (敦煌) ในเส้นทางสายไหมอันเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยหนานเป่ยเฉา ถึงราชวงศ์สุย ในถ้ำดังกล่าว มีปรากฏภาพลักษณะของเหล่าทวยเทพผู้สามารถล่องลอยบนท้องฟ้า และภาพของเหล่านางฟ้าที่บรรเลงเพลงดนตรีขับกล่อมให้ใจพิสุทธิ์ผ่องแพ้ว เรียกกันว่า
“เฟยเทียน(飞天)"
.... ซึ่งภาพของเหล่านางฟ้า ในความรู้สึกนึกคิดของคนปัจจุบัน ก็มาจากแบบลักษณะของเฟยเทียนนั้นเอง
....ดังนั้นไม่ว่าช่วงเวลาจะผ่านไปกี่ร้อยกี่พันปีก็ตาม จินตนาการเกี่ยวกับนางฟ้าก็ยังเป็นที่นิยมจากชาวบ้านทั่วไปอยู่ดี อาจเป็นเพราะว่า ความงามแห่งสัญลักษณ์นางฟ้าก็คือความปรารถนาในใจของมนุษย์ทุกรูปนามที่ต่างใฝ่ฝันหา
...ขอนำเซ็ตภาพ“เซียน-นวี่-ซ่าน-ฮัว” (仙女散花) ยุคใหม่มาให้ชมแทนภาพวาดสมัยโบราณครับ
บทความจากหนังสือ : 108 ลัญลักษณ์จีน – ปิยะแสง จันทรวงศไพศาล
เรียบเรียงและภาพโดย : 10000deva
โฆษณา