11 ส.ค. 2021 เวลา 02:50 • ธุรกิจ
เทคนิคฝ่าวิกฤต COVID19 SME ควรทำอย่างไร
SME ไทยเริ่มได้ผลกระทบจาก COVID 19 กันถ้วนหน้า ส่วนสำคัญมาจากสภาพเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่ล้มลงแบบโดมิโน่ เช่น ภาคการท่องเที่ยว ข้อมูลจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี TMB Analytics ได้ประเมินไว้ว่า COVID19 ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2020 เหลือเพียง 18 ล้านคน หรือลดลง 54.6% มีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจไทยในวงกว้าง
ทางรอดของ SME ไทย คือการปรับตัวตามหลักความคิดพื้นฐานของความเป็นจริง วิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค วิเคราะห์การเข้าถึงผู้บริโภคให้ตรงจุดมากที่สุด แม้จะทำให้รายได้ธุรกิจกลับมาได้เหมือนเดิมได้ยาก แต่ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อให้ธุรกิจไม่ล้มและอยู่รอด
เรามาดูกันว่าเทคนิคที่รวบรวมจากบทความต่างๆ มีอะไรบ้าง
หาแหล่งเงินทุนเพิ่ม หรือ กู้
ปัญหาใหญ่ ของ SME คือการขาดสภาพคล่องทางการเงินในช่วงนี้ จนไม่สามารถชำระหนี้ได้นั้น ภาครัฐและสถาบันการเงินต่างๆ ได้ออกนโยบายช่วยเหลือ เช่น การพักชำระหนี้ หรือการปล่อยสิ้นเชื้อสำหรับ SME ดังนั้นต้องเข้าไปเจรจากับสถาบันการเงิน เจรจาพักชำระหนี้กับเจ้าหนี้
หาแหล่งเงินทุนเพิ่ม หรือ กู้
ปัญหาใหญ่ ของ SME คือการขาดสภาพคล่องทางการเงินในช่วงนี้ จนไม่สามารถชำระหนี้ได้นั้น ภาครัฐและสถาบันการเงินต่างๆ ได้ออกนโยบายช่วยเหลือ เช่น การพักชำระหนี้ หรือการปล่อยสิ้นเชื้อสำหรับ SME ดังนั้นต้องเข้าไปเจรจากับสถาบันการเงิน เจรจาพักชำระหนี้กับเจ้าหนี้
การเจาะกลุ่มผู้บริโภคแบบเจาะลงพื้นที่
Hyperlocal Marketing ทำการตลาดแบบเจาะกลุ่มพื้นที่ อาจเป็นทางเลือกสำหรับ SME ที่อยู่ในระดับท้องถิ่นที่มีหน้าร้านและให้บริการส่งสินค้าถึงบ้าน เช่น ร้านอาหาร ร้านค้าปลีก บริการทำผมเคลื่อนที่ สิ่งเหล่านี่จะเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค และจะมีฐานลูกค้ามากขึ้น แต่ก็อย่าลืมลูกค้าเก่าพยายามส่งข่าวให้ลูกค้าทราบว่าเรามีบริการถึงที่บ้าน
ปรับเปลี่ยนลุคให้สอดคล้องกับการทำออนไลน์
แม้จะใช้ออนไลน์เป็นการสร้างยอดขายใหม่ ถ้ามีหน้าร้านก็ต้องปรับกลุยุทธ์เช่นกัน เช่น ร้านอาหารรับออเดอร์จัดส่งถึงบ้าน รายการอาหารทำแบบออนไลน์ ง่ายในการสั่ง
รายจ่ายไม่จำเป็นตัดออก
เราต้องหันมาสำรวจและวิเคราะห์บัญชีรายจ่าย ว่าส่วนใดไม่จำเป็น รายจ่ายส่วนใดตัดได้ให้ตัดออก เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น สินค้าฟุ่มเฟือย หรือรายจ่ายที่ไม่ก่อเกิดรายได้ ซึ่งในบางครั้งต้องทำความเข้าใจและขอความร่วมมือกับพนักงานโดยตรง แนะว่าให้ทำแผนการเงินล่วงหน้า 3 เดือน ของบริษัท ว่าถ้าเราการตลาดใหม่ เราจะมีรายได้เข้ามาเท่าไร เราจะพยุงบริษัทได้นานแค่ไหน
งดการลงทุนที่ไม่จำเป็น
การเก็บเงินสดไว้เพื่อนการหมุนเวียนน่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ไม่ควรทำอะไรในช่วงวิกฤต เช่น การตกแต่งร้านใหม่ การปรับเปลี่ยนยูนิฟอร์ม พักไว้ก่อน
ล้างสต๊อคเอาทุนคืน
ยอมขายสินค้าแบบลดล้างสต๊อคไปก่อน เพือเอาต้นทุนบางส่วนกลับคืนมาเก็บไว้ในรูปแบบเงินสดหมุนเวียน การปล่อยสินค้าบางส่วนเพื่อความอยู่รอดการยอมจายเท่าทุนดีกว่าการต้องขายขาดทุนหรือต้องแบกต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการรักษาสต๊อคสินค้าไว้ จะช่วยต่อลมหายใยให้แก่ SME ได้ดีกว่ามาหวังเก็งกำไรในช่วงวิกฤต
ล้างสต๊อคเอาทุนคืน
ยอมขายสินค้าแบบลดล้างสต๊อคไปก่อน เพือเอาต้นทุนบางส่วนกลับคืนมาเก็บไว้ในรูปแบบเงินสดหมุนเวียน การปล่อยสินค้าบางส่วนเพื่อความอยู่รอดการยอมจายเท่าทุนดีกว่าการต้องขายขาดทุนหรือต้องแบกต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการรักษาสต๊อคสินค้าไว้ จะช่วยต่อลมหายใยให้แก่ SME ได้ดีกว่ามาหวังเก็งกำไรในช่วงวิกฤต
ล้างสต๊อคเอาทุนคืน
ยอมขายสินค้าแบบลดล้างสต๊อคไปก่อน เพือเอาต้นทุนบางส่วนกลับคืนมาเก็บไว้ในรูปแบบเงินสดหมุนเวียน การปล่อยสินค้าบางส่วนเพื่อความอยู่รอดการยอมจายเท่าทุนดีกว่าการต้องขายขาดทุนหรือต้องแบกต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการรักษาสต๊อคสินค้าไว้ จะช่วยต่อลมหายใยให้แก่ SME ได้ดีกว่ามาหวังเก็งกำไรในช่วงวิกฤต
นิค ภิชยะ
ติดตามอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่
โฆษณา