12 ส.ค. 2021 เวลา 14:59 • สุขภาพ
## รู้แล้วจะอึ้ง! เมื่อพืช “ผัก” ช่วยคุณจากโควิดได้ ##
15
สายกินเพื่อสุขภาพขอเชิญมารวมกันตรงนี้ และชวนเพื่อนๆ ของคุณมาร่วมด้วยนะคะ คุณมาถูกทางแล้วค่ะ
16
งานวิจัยในหลายประเทศพบว่า การกินพืชผัก ผลไม้ที่หลายหลากเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า “การกินแพล้นท์เบสด์” (Plant-based diet) เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายสามารถต่อต้านการติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ รวมถึงเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยค่ะ
10
การวิจัยในหมู่บุคลากรทางการแพทย์ใน 6 ประเทศบ่งชี้ว่าการกินอาหารที่เน้นพืชผักเป็นหลักไม่เพียงแต่จะช่วยให้สุขภาพดีโดยรวมเท่านั้นแต่ยังมีผลต่ออาการของผู้ที่ได้รับเชื้อโควิดด้วย เพราะผลของการวิจัยปรากฏว่ายิ่งกินอาหารที่มาจากพืชผักเป็นสัดส่วนมากเท่าไหร่อาการก็ยิ่งดีขึ้นเท่านั้น ในขณะที่กลุ่มผู้ติดเชื้อที่เน้นการกินโปรตีนสูง คาร์โบไฮเดรตต่ำโดยไม่ได้เพิ่มพืชผักที่มีเส้นใยอาหารกลับมีอาการแย่ลง
11
การกิน ‘Plant-based diet’ คืออะไร?
หากจะพูดถึงคำว่า Plant-based diet นั้น อาจเป็นอะไรที่ดูแปลกใหม่อยู่ไม่น้อยนะคะ แต่จริงๆ แล้วหากใครที่คุ้นชินกับการ ‘กินเจ’ หรือ ‘กินมังสวิรัติ’ ก็อาจจะเคยเห็นเมนูอาหารจากผลิตภัณฑ์โปรตีนเกษตร เช่น หมูแดงเจ ขาหมูเจ หรือลูกชิ้นเจ มาบ้างใช่ไหมคะ แต่ Plant-based diet นั้นถูกนิยามให้กว้างกว่านั้นค่ะ
3
Plant-based diet คือ การกินพืชผัก ผลไม้เป็นหลัก หรืออาหารที่มาจากการสกัดจากพืชประมาณ 95% ค่ะ อาหารเหล่านี้ให้คุณค่าทางโภชนาการอย่างดี เสมือนกินผัก ผลไม้ อีกทั้งยังให้ไขมันต่ำ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังได้โปรตีนสูงจากการสกัดโปรตีนของพืชจำพวกถั่วหรือเห็ดนั่นเองค่ะ
7
พูดง่ายๆ ก็คือ การกิน Plant-based diet เป็นการกินอาหารเพื่อเน้นสุขภาพเป็นหลักค่ะ ไม่ได้เป็นการกินเพื่อคุณธรรมหรือศีลธรรมปกป้องสัตว์เนื้อแดงแต่อย่างใดนะคะ
3
แล้วการกิน Plant-based diet เกี่ยวข้องอย่างไรกับโควิด-19?
5
งานวิจัยจาก The British Medical Journal เรื่อง ‘Plant-based diets, pescatarian diets and COVID-19 severity: a population-based case–control study in six countries’ ศึกษาโดย Kim Hyunju และคณะ สามารถอธิบายให้คุณเข้าใจได้ค่ะ
5
ต้องขอบอกก่อนนะคะว่า งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงสังเกตการณ์ ยังต้องอาศัยผลงานวิจัยเชิงคลินิกต่อไป แต่ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราเห็นความสัมพันธ์เล็กๆ ระหว่างรูปแบบการกินอาหารและความรุนแรงของอาการจากโรคโควิด-19 ค่ะ
3
เราได้รับทราบกันอยู่แล้วว่าบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าในหลายๆ ประเทศต่างก็ได้รับวัคซีนคุณภาพดีกันแล้ว แต่เชื้อโควิด-19 ก็ยังเกิดการกลายพันธ์ุ และแพร่เชื้อได้อย่างต่อเนื่องรวมถึงในหมู่บุคลากรทางการแพทย์ส่วนหนึ่งด้วย จึงเกิดข้อสงสัยว่า นอกจากมาตรการที่ต้องปฏิบัติตามวิถียุค ‘New Normal’ และวัคซีนคุณภาพดีแล้ว มีสิ่งใดรอบตัวอีกบ้างที่พอจะช่วยให้เราดูแลสุขภาพ และปกป้องชีวิตของเราได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
2
งานวิจัยนี้ได้สำรวจพฤติกรรมการกินของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นด่านหน้าที่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วยโควิดอยู่ตลอดเวลา จำนวน 2,884 คน โดยสำรวจตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม-25 กันยายน พ.ศ. 2563 จาก 6 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา โดยมีผลการวิจัยดังต่อไปนี้ค่ะ
2
จากผู้ที่มีอาการ และไม่มีอาการแต่มีผลตรวจเป็นบวก 568 คน มี 138 คน ที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง และ 430 คน ที่แสดงอาการเล็กน้อย หรือแทบไม่มีอาการเลย ส่วนอีก 2,316 คน ที่ไม่มีอาการ และไม่มีผลตรวจเป็นบวก ได้เป็นกลุ่มควบคุมค่ะ
3
ผลจากรายงานรูปแบบการกินของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรงทั้ง 3 แบบ เทียบกับกลุ่มคนที่ไม่ได้กินอาหารรูปแบบเดียวกันนั้น พบว่า
3
แบบที่ 1 ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง 73% เมื่อกินอาหารแบบ Plant-based diet เช่น พืชผัก ผลไม้ ถั่ว (ถั่วเพาะ พืชตระกูลถั่ว) ธัญพืช หรือน้ำมันจากพืช ซึ่งผักทุกชนิด เช่น ผักสวนครัว ผักพื้นบ้าน ผักป่า ที่สามารถกินได้ก็รวมอยู่ในนี้ด้วยค่ะ
4
แบบที่ 2 ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง 59% เมื่อกินอาหารแบบ Plant-based diet และผสมกับแบบ Pescatarian diets คือ การเน้นกินผักผลไม้ แต่ก็กินปลาและอาหารทะเลเพิ่มด้วย โดยรูปแบบการกินเช่นนี้ เป็นการกินที่เน้นกินผักและเนื้อปลามากกว่ากินเนื้อสัตว์ค่ะ
8
แบบที่ 3 ผู้ป่วยมีอาการมากขึ้นถึง 48% เมื่อกินอาหารแบบที่เน้นคาร์โบไฮเดรตต่ำ แต่กินโปรตีนสูง คือ การลดแป้ง แต่เพิ่มโปรตีน โดยไม่เน้นการเพิ่มพืชผักที่มีใยอาหารค่ะ
3
ทำไมยิ่งกินพืชมากขึ้น ความรุนแรงของโควิด-19 ยิ่งน้อยลง?
จากการวิจัยนี้พบว่า อาหารสุขภาพที่เน้นพืชเป็นหลักนั้น มีสารอาหารมากมาย โดยเฉพาะ ‘สารไฟโตเคมิคอล’ ที่เป็นสารทางชีวภาพจากพืช เช่น โพลีฟีนอล แคโรทีนอยด์ มีไฟเบอร์หรือใยอาหารสูง มีวิตามินเอ ซี และอี โฟเลต รวมถึงแร่ธาตุต่างๆ เช่น เหล็ก โพแทสเซียม และแมกนีเซียม
6
โดยวิตามินเอ ซี ดี และ อี จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ค่ะ เช่น ไข้หวัดและปอดอักเสบ หรือถ้าหากคุณมีอาการป่วยก็จะช่วยทำให้อาการของคุณนั้นหายเร็วขึ้น สารอาหารพวกนี้ มีคุณสมบัติช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้ดี มีบทบาทสำคัญในการลดการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เซลล์ต่างๆ ติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้ สารอาหารที่มีประโยชน์ยังช่วยในการผลิตแอนติบอดี้ การเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาว และลดการเกิด ‘Oxidative Stress’ ที่เป็นภาวะความไม่สมดุลของการเกิดอนุมูลอิสระที่สามารถเข้าไปทำลายระบบต่างๆ ภายในเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตได้ค่ะ
9
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว การกินอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงก็สำคัญนะคะ เช่น สาหร่าย เมล็ดเชีย เมล็ดแฟล็กซ์ ผักโขม กะหล่ำดาว และผักชี ปลา หอยและสัตว์น้ำต่างๆ เพราะจะให้วิตามินดีและกรดไขมันโอเมก้า 3 ทั้ง EPA (Eicosapentaenoic acid) และ DHA (Docosahexaenoic acid) ซึ่งสามารถช่วยลดการอักเสบในผู้ป่วยโควิดได้ค่ะ ในกรณีที่ผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS) การได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง จะช่วยลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ และระยะเวลาในการอยู่ในห้องผู้ป่วยไอซียูจะสั้นลงอีกค่ะ
9
ส่วนใยอาหารในพืชผัก ผลไม้ และธัญพืชไม่ขัดสีนั้นจะช่วยสนับสนุนจุลินทรีย์ในลําไส้ (Gut microbiome) ช่วยในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร ช่วยสร้างวิตามิน และช่วยกระตุ้นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วยค่ะ นอกจากจะช่วยลดการอักเสบภายในเซลล์ได้แล้ว ยังมีผลดีในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ป่วยโรค “ลองโควิด” ซึ่งเป็นอาการป่วยเรื้อรังที่เกิดจากการติดเชื้อโควิดในอวัยวะต่างๆ ด้วยค่ะ สุดยอดไปเลยใช่ไหมคะ
4
เห็นไหมคะว่า การกินส่งผลต่อร่างกายเรามากแค่ไหน ถ้าเรากินสารอาหารที่มีประโยชน์ ร่างกายก็จะมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น ในทางกลับกัน หากการกินของเราแย่ หรือละเลยต่ออาหารที่ได้รับเข้ามา ก็อาจทำให้ร่างกายแย่ลง และส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของเรานั้นลดลงตามไปด้วยค่ะ
2
ความรู้จากงานวิจัยชิ้นนี้ไม่เพียงแต่ทำให้เรารู้มากขึ้นว่าควรกินอะไร แต่ยังทำให้รู้ว่าไม่ควรกินอะไรด้วยค่ะ เช่น การกินเนื้อแดงหรือเนื้อแปรรูปมีผลทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะของร่างกายได้ง่ายขึ้นค่ะ
4
ผลการวิจัยดังกล่าว อาจสามารถปูทางไปสู่การออกแบบการวิจัยในอนาคตด้านความสัมพันธ์ระหว่างโภชนาการและโควิดได้นะคะ โดยการกินเพื่อสุขภาพรูปแบบนี้ อาจจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรงเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หากคุณได้รับเชื้อไวรัสเข้าไป
2
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ไม่ว่าเราจะจำเป็นต้องทำงานที่บ้าน เรียนออนไลน์ อยู่บ้านเพื่อป้องกันตัว จะต้องกักตัว (Home Quarantine) หรือพักรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) ยังไงเราก็ต้อง “กิน” เพื่อให้ชีวิตสามารถดำเนินต่อไปได้
2
จะดีกว่าไหมคะ ถ้าเราหันมาใส่ใจกับการกินของเรากันอีกสักนิด โดยไม่ว่าคุณจะกินอาหารรูปแบบไหน ก็ควรมี Plant-based diet เป็นพื้นฐานหลักในการรักษาสุขภาพ เพราะ “การกิน” ไม่ใช่เพียงแต่เพื่ออยู่รอด แต่ควรกินเพื่อให้รอดชีวิตจากโควิด-19 ด้วยค่ะ
1
ตอนนี้ที่ยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตในประเทศไทยมียอดนิวไฮต่อเนื่องเกือบทุกวัน นั่นก็เพราะโควิด-19 “แพร่ทางอากาศ” ดังนั้น เพื่อปกป้องตัวเองและคนที่คุณรักจากไวร้สร้ายนี้ นอกจากการใส่ใจเรื่องอาหารการกินแล้ว การใส่หน้ากาก N95 ทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน และอยู่ในที่ที่มีการระบายอากาศดีอยู่เสมอ ก็เป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยให้เราผ่านพ้นเหตุการณ์เลวร้ายนี้ไปได้ค่ะ
3
แล้วเราจะจับมือร่วมกันฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกันนะคะ
╔═══════════╗
ZERO COVID THAILAND เพจสำหรับแชร์ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยยุติการแพร่กระจายของโควิด-19ในไทย
╚═══════════╝
1
ติดตามเราได้ที่
อ้างอิง
Plant-based diets, pescatarian diets and COVID-19 severity: a population-based case–control study in six countries
1
Nutritional Update for Physicians: Plant-Based Diets
Plant-Based Diets for Cardiovascular Disease Prevention: All Plant Foods Are Not Created Equal
It’s Called ‘Plant-Based,’ Look It Up. https://www.nytimes.com/2019/12/28/style/plant-based-diet.html
Oxidative Stress: Harms and Benefits for Human Health
Ten scientific reasons in support of airborne transmission of SARS-CoV-2 (Greenhalgh et al, 2021) https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(21)00869-2/fulltext/ ฉบับแปลภาษาไทย https://www.zerocovidthai.org/covid-is-airborne-th
โฆษณา