12 ส.ค. 2021 เวลา 18:13 • ธุรกิจ
รื่องราวของ Ray Kroc ผู้สร้างอาณาจักร McDonald's
จากเซลส์ขายถ้วยกระดาษสู่เจ้าของ food chain ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
โดย Pursuit of Business
ความสำเร็จต้อง "ไล่ล่า"
Raymond Albert Kroc หรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ Ray Kroc เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกันที่ปฏฺิวัติอาหารจานด่วน ทำให้ McDonald's เป็น fast food chain ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
แม้ว่าจะถูกยกย่องจาก Harvard Business School ว่าเป็น "ภาคการบริการที่เทียบเท่า Henry Ford" แต่ Kroc มีจุดเริ่มต้นที่ค่อนข้างเจียมเนื้อเจียมตัว
เมื่อเริ่มแรก เขาเคยขายสินค้าหลายอย่าง เช่น ถ้วยกระดาษ เครื่องทำมิลค์เชค ก่อนที่จะมาร่วมงานกับสองพี่น้อง McDonald ซึ่งเปิดกิจการร้านอาหาร fast food ขนาดเล็กแต่เป็นที่นิยม ในแคลิฟอร์เนีย เมื่อ Kroc อายุ 51 ปี
หลังจากที่เขาได้รับแฟรนไชส์ของ McDonald's Corporation ขนาดเล็ก เขาได้เปลี่ยนมันให้เป็นหนึ่งในธุรกิจ fast food ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก
ในที่สุด Ray Kroc ก็ซื้อบริษัทนี้ เมื่อเขาอายุ 59 ปี
เขายังนำ "การกำหนดมาตรฐาน" มาใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์อาหารของ McDonald's มีรสชาติเหมือนกันทุกร้าน
Kroc ปฏิวัติอุตสาหกรรมร้านอาหารอเมริกัน ด้วยระบบปฏิบัติการและการจัดส่งแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น
ในเวลาที่เขาเสียชีวิต food chain ของเขามีร้านค้า 7,500 แห่งทั่วโลก โดยมียอดขายรวมถึง 8 พันล้านดอลล่าร์
Raymond Albert Kroc เกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 1902 ที่ Oak Park ซึ่งในขณะนั้นเป็นหมู่บ้านที่อยู่กับเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์
พ่อและแม่ของเขาเป็นชาวเช็ก (Czech) โดย Ray เป็นลูกคนโต
พ่อของเขา Alois "Louis" Kroc มีพื้นเพมาจากหมู่บ้าน Bøasy ใกล้ Plzeò ในเมือง Bohemia เป็นคนมีระเบียบวินัยสูง
เขาทำงานในบริษัทโทรเลข Western Union ซึ่งเขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งที่ค่อนข้างสูงในองค์กร
เขายังเป็นแฟนเบสบอลตัวยงอีกด้วย ซึ่งเป็นความคลั่งไคล้ที่ Ray ได้รับมาจากเขา
ส่วนแม่ของเขา Rose Mary nee Hrach เกิดในรัฐอิลลินอยส์
เธอเป็นสุภาพสตรีที่มีนิสัยน่ารัก และเป็นแม่บ้าน
เธอยังเล่นเปียโน และหารายได้พิเศษโดยการสอนทั้งเด็กและผู้ใหญ่
Ray เรียนเปียโนจากเธอเช่นกัน ซึ่งแสดงถึงความใกล้เปียโนของเขาโดยธรรมชาติ
Ray มีน้อง 2 คน ได้แก่ Robert และ Lorraine
ในวัยเด็ก Ray และ Bob (Robert) มีแนวคิดที่แตกต่างกันมาก และทั้งสองพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะพูดคุยกัน
อย่างไรก็ตาม พวกเขาสนิทสนมกันมากขึ้นเมื่อโตขึ้น
ในขณะที่ Bob เป็นคนขยัน Ray ก็จะเป็นอะไรก็ได้ที่ไม่เหมือนกัน
Ray มักจะคิดโครงการใหม่ๆ และวาดฝันถึงแผนการที่ซับซ้อนเพื่อทำให้มันเกิดขึ้น จนได้รับฉายาว่า "Danny Daydreamer" (จอมฝันกลางวัน)
แต่ความฝันของเขาไม่เคยว่างเปล่า ในทางตรงกันข้าม ความฝันของเขาจะได้รับการเชื่อมโยงกับการกระทำบางอย่างเสมอ
ตั้งแต่วัยเด็กแล้วที่ Ray แสดงความมุ่งมั่นและความมั่นใจเป็นอย่างมาก
เขายังเป็นเด็กที่มีความเฉลียดฉลาดและขยันขันแข็งอีกด้วย
ขณะเรียนที่โรงเรียนลินคอล์นใน Oak Park เขาเก่งในการโต้วาที ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถพิเศษในการโน้มน้าวผู้คนได้อย่างง่ายดาย
ระหว่างเรียนที่โรงเรียนมัธยม เขาเริ่มหารายได้พิเศษจากการทำงานที่ร้านขายของชำ และร้านขายยา
ต่อมาเขาเริ่มขายน้ำมะนาวที่แผงขายของนอกบ้าน
นั่นเป็นครั้งแรกของเขากับธุรกิจอาหาร
ในปี 1916 เมื่ออายุได้ 14 ปี Ray พร้อมด้วยเพื่อนอีก 2 คน ได้เปิดร้านดนตรีชื่อ Ray Kroc Music Emporium โดยขายแผ่นโน้ตเพลง ในขณะที่เขาเล่นเปียโนไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ร้านของเขาปิดตัวลง ภายในไม่กี่เดือนหลังจากนั้น
จากนั้น Ray ทำงานที่บาร์เครื่องดื่มของลุงของเขาเป็นเวลา 2-3 เดือน ซึ่งเขาได้มีโอกาสเพิ่มพูนทักษะในการขาย
ที่นี่เองที่เขาได้เรียนรู้ว่า "รอยยิ้มเล็กๆ น้อยๆ" และ "การแสดงความกระตือรือร้น" สามารถทำให้คนซื้อมากกว่าที่เขาตั้งใจจะซื้อแต่แรก
ในปี 1917 หรือเมื่อเรียนจบปีสอง Ray ตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเข้าสมัครเป็นคนขับรถพยาบาล โดยหวังว่าจะได้ไปอยู่เป็นแนวหน้า
แต่ในวัยเพียง 15 ปี จึงไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานดังกล่าว
Ray จึงได้สมัครเข้าทำงานให้สภากาชาดอเมริกัน และถูกส่งไปยังคอนเนตทิคัตเพื่อฝึกอบรมในเวลาต่อมา หลังจากนั้นเขาเตรียมจะถูกส่งไปยังฝรั่งเศส
แต่สงครามก็สิ้นสุดลงก่อนที่เขาจะถูกส่งไปยังยุโรป
จากนั้นเขาก็กลับไปที่ชิคาโก และจากคำขาดของพ่อของเขา เขาก็กลับไปที่โรงเรียนลินคอล์นเพื่อเรียนให้จบ
แต่ในตอนนั้น เขาได้ไอเดียใหม่ๆ และลาออกจากโรงเรียนอีกครั้ง พร้อมที่จะออกไปผจญโลกแห่งความเป็นจริงเพื่อหาเลี้ยงชีพ
ในปี 1919 เมื่ออายุได้ 17 ปี Ray Kroc เริ่มต้นอาชีพเกี่ยวกับการขาย และหารายได้เสริมจากการเป็นนักเปียโนที่ไนท์คลับ และเป็นดีเจที่สถานีวิทยุท้องถิ่น
ต่อจากนั้น เขาได้ทำงานหลายอย่าง โดยขายทุกอย่างตั้งแต่อสังหาริมทรัพย์ใน Fort Lauderdale ไปจนถึงเครื่องประดับสตรี
และเป็นเวลาสักพักแล้วที่เขาเข้าร่วมตลาดหลักทรัพย์ในนิวยอร์ก โดยอ่านเทปทิกเกอร์ (ticker) และแปลสัญลักษณ์ต่างๆ
ในที่สุด เมื่ออายุได้ 21 ปี เขาได้งานประจำเป็นครั้งแรกในตำแหน่งพนักงานขายที่บริษัท Lily Tulip Paper Cup
อายุยังน้อย ทะเยอทะยาน และขยัน เขาเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อขายถ้วยกระดาษ
เขาดูแลความต้องการของลูกค้า และติดต่อกับพวกเขาเสมอ
ในไม่ช้า เขาก็กลายเป็นหนึ่งใน top sales ของบริษัท
ในปี 1938 ขณะที่ยังขายถ้วยกระดาษ Kroc ให้พบกับสุภาพบุรุษคนหนึ่งที่ชื่อว่า Earl Prince
เขาผู้นี้ได้ประดิษฐ์สิ่งที่เรียกว่า "Multimixer" ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือเครื่องทำมิลค์เชคที่มีแกนหมุน 5 อัน
โดยปกติเครื่องดังกล่าวจะมีแกนหมุนเพียงอันเดียว ซึ่งทำมิลค์เชคได้ทีละแก้ว ในขณะที่ Multimixer สามารถทำได้ครั้งละ 5 แก้ว
เมื่อถึงตอนนั้น หลังจากทำงานที่ Lily Tulip Paper Cup มาถึง 16 ปี เขารู้สึกค่อนข้างอิ่มตัว
เมื่อตระหนักว่า Multimixer มีศักยภาพสูง เขาจึงขอสิทธิ์ทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์นี้ และในอายุ 37 ปี เขาได้ลาออกจากงานที่มั่นคง เพื่อก่อตั้ง "Prince Castle Sales"
เมื่อเริ่มแรก มีกระแสตอบรับดีมาก โดยเขาขายเครื่องทำมิลค์เชคได้ถึง 8,000 เครื่องในปีเดียว
อย่างไรก็ตาม ลำดับความสำคัญของผู้คนเรื่องเปลี่ยนไปอย่างช้าๆ และลูกค้าหลักของเขา ร้านอาหาร บาร์เครื่องดื่มตามเมืองต่างๆ เรื่องประสบปัญหา และส่งผลให้ยอดขายของเขาลดลง
และยังมีเครื่องผสมเครื่องดื่มอย่าง Hamilton Beach เป็นคู่แข่งที่สำคัญอีกด้วย
ในปี 1954 ซึ่งสถานการณ์ค่อนข้างเลวร้าย Ray Kroc สังเกตว่าร้านอาหารแห่งหนึ่งในซานเบอร์นาดิโนยังคงสั่งเครื่องทำมิลค์เชคของเขาเป็นจำนวนมาก
ด้วยความสงสัยใคร่รู้ เขาจึงได้เดินทางไปเยี่ยมชมและพบร้านอาหารแบบ drive-in โดยไม่มีการจัดที่นั่งภายในร้าน ซึ่งบริหารงานโดยสองพี่น้อง Richard และ Maurice McDonald
เมื่อสำรวจไปรอบๆ เขาพบว่า ร้านอาหารใช้รูปแบบ "การประกอบชิ้นส่วนในโรงงาน" ในการเตรียมและขายอาหารปริมาณมากในเวลาอันสั้น
ยิ่งไปกว่านั้น เมนูอาหารจำกัดเพียงแค่ชีสเบอร์เกอร์ แฮมเบอร์เกอร์ มันฝรั่งทอด เครื่องดื่ม และมิลค์เชค แต่ยอดขายนั้นมหาศาลจนต้องใช้เครื่องทำมิลค์เชคของเขาจำนวน 8 เครื่องอย่างต่อเนื่อง
ด้วยความประหลาดใจ เขาจึงเริ่มเดินไปรอบๆ ที่จอดรถเพื่อพูดคุยกับลูกค้าของร้าน และพบว่าพวกเขามาที่นี่เป็นประจำ เพื่อซื้อแฮมเบอร์เกอร์และเฟรนช์ฟรายส์ในราคาไม่แพงแต่อร่อย
ทันใดนั้น เขาเริ่มฝันถึง chain ของ McDonald's ที่แต่ละร้านใช้เครื่องทำมิลค์เชคของเขา 5-8 เครื่อง
เมื่อเขาคุยกับสองพี่น้อง McDonald เกี่ยวกับไอเดียนี้ พวกเขาทั้งคู่มิได้แสดงความสนใจในตอนแรก แต่ Kroc ก็สามารถโน้มน้าวพวกเขา เพื่อให้สิทธิ์ในการขายวิธีการของ McDonald's แก่เขาจนได้
ตอนนั้นเขาอายุ 52 ปี เป็นโรคเบาหวานและโรคข้ออักเสบ แต่เขารู้ดีว่า เขาต้องไม่พลาดโอกาสนี้
เมื่อวันที่ 15 เมษายน 1955 Kroc เปิดร้านอาหารแห่งแรกในเมือง Des Plaines รัฐอิลลินอยส์
และในปลายปีเดียวกัน เขาได้เปิดอีกสองแห่ง โดยทำรายได้รวมถึง 235,000 ดอลล่าร์
สำหรับทุกๆ แห่ง เขาใช้รูปแบบของสองพี่น้อง McDonald โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษกับความสะอาด
ต่อมาเขาเริ่มขายแฟรนไชส์ โดยเรียกเก็บ 1.9% ของยอดขาย
เพื่อให้ได้ผลกำไรมากขึ้น เขาได้เปิดบริษัทอีกแห่งหนึ่งในการซื้อหรือเช่าที่ดิน โดยบรรดาแฟรนไชส์ของ McDonald's จะต้องใช้ที่ดินดังกล่าวในการดำเนินธุรกิจ
โดยแฟรนไชส์จะต้องจ่ายค่าเช่าให้เขา หรือจ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
ในช่วงเปลี่ยนผ่านของทศวรรษ 1950 McDonald's ได้เติบโตขึ้นอย่างมาก และมีผลกำไรที่ดี
แต่ในขณะเดียวกัน การปะทะกันบ่อยครั้งระหว่าง Kroc และสองพี่น้อง McDonald เริ่มจะถึงจุดเดือด เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ Kroc ต้องการจะนำเข้ามา
ดังนั้นในปี 1961 Kroc จึงซื้อ McDonald's ด้วยเงินสด 2.7 ล้านเหรียญ
การถ่ายโอนดังกล่าวมิได้ปราศจากข้อผูกมัด
Kroc คาดหวังว่า ข้อตกลงนี้จะรวมถึงร้านอาหารดั้งเดิมที่ San Bernadino แต่ในนาทีสุดท้าย สองพี่น้องได้ปฏิเสธในเรื่องดังกล่าว
ในการตอบโต้ Kroc ปฏิเสธที่จะให้ค่า royalty ซึ่งเขาสัญญาเพียงปากเปล่าเท่านั้น
นอกจากนั้น เขายังเปิดร้าน McDonald's ใหม่เอี่ยม ซึ่งอยู่ห่างจากร้านดั้งเดิมของสองพี่น้องซึ่งเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "The Big M" เพียง 1 ช่วงตึก ซึ่งเป็นการบีบบังคับสองพี่น้องให้ออกจากธุรกิจไป
ด้วยอิสระในการดำเนินธุรกิจตามที่เห็นสมควร Kroc เริ่มขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว
โดยในปี 1965 chain ของ McDonald's มีร้านอาหารถึง 700 แห่ง ใน 44 รัฐ เลยทีเดียว
ในเดือนเมษายน 1965 McDonald's เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ โดยเปิดตัวในราคา 22 ดอลล่าร์ต่อหุ้น
ภายในไม่กี่สัปดาห์ ราคาหุ้นไต่ขึ้นสู่ระดับ 49 ดอลล่าร์ ซึ่งทำให้เขาได้กำไรมหาศาล
เมื่อถึงปลายทศวรรษ มีร้าน McDonald's อยู่ถึง 1,500 แห่งทั่วโลก ซึ่งนั่นเป็นการก้าวไกลเกินกว่าที่ Kroc เคยฝันไว้เสียด้วยซ้ำ
ในปี 1965 Kroc ได้ดำรงตำแหน่งประธานของ McDonald's และเริ่มโครงการฝึกอบรมบรรดาเจ้าของแฟรนไชส์ โดยเน้นที่การกำหนดมาตรฐานของการดำเนินงาน และระบบอัตโนมัติ
เขากำหนดกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเกี่ยวกับขั้นตอนการทำอาหาร ขนาดของแต่ละผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ เพื่อให้ McDonald's มีรสชาติเหมือนกันทั่วทั้งประเทศ
เขาดำรงตำแหน่งประธานของ McDonald's จนถึงปี 1968
ต่อมาเขาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร โดยทำหน้าที่จนถึงปี 1977
ในที่สุด ตั้งแต่ปี 1977 จนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี 1984 เขายังคงเป็นประธานอาวุโสของบริษัท
ในปี 1977 หลังจากก้าวลงจากตำแหน่งกรรมการบริหาร Kroc ก็ได้หันความสนใจของเขาไปยังกีฬาเบสบอล
เขาได้ซื้อ San Diego Padres และมุ่งมั่นในการพัฒนาทีม
แม้ว่าทีมเบสบอลของเขาจะได้ไปเล่นใน World Series ได้สำเร็จในปี 1984 แต่ Kroc ก็ไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อดูแลทีมของเขาอีกต่อไป...
Pursuit of Business
ความสำเร็จต้อง "ไล่ล่า"
หากนี่เป็นบทความที่ "ใช่" สำหรับคุณ
คุณสามารถติดตามเราได้ที่...
โฆษณา