13 ส.ค. 2021 เวลา 03:57 • ปรัชญา
EP:119
ห นี ต า ย ไ ด้ ไ ห ม ?
1
นอกจากพระพุทธเจ้าแล้วยังไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้ จากอดีตกาลจนปัจจุบันมีนักค้นพบสิ่งที่เป็นจริงพิสูจน์ได้มากมาย แต่มีเฉพาะสิ่งที่พระศาสดาตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เองเท่านั้นตอบคำถามที่มนุษย์เราควรค้นหาคำตอบมากที่สุดคือ…
ทํ า อ ย่ า ง ไ ร จึ ง ไ ม่ ต า ย ?
วันนี้บทความอาจจะยาวนิดหนึ่ง แต่ผมได้พยายามกระชับเนื้อหาสัทธรรมของพระองค์ สรุปโยงใยของระบบธรรมชาติที่สอดคล้องต่อเนื่องกัน ให้เราได้มองเห็นธรรมที่เราท่านพิสูจน์ได้ด้วยตนเองนะครับ
1
รู้จักความตายกันก่อน…ค ว า ม ต า ย คื อ เ รื่ อ ง น่ า ก ลั ว ?
- ไม่ว่าเราจะได้เกิดมาเป็น พรหม เทวดา มนุษย์ เปรต เดรัจฉาน สัตว์นรก ต่างล้วนต้องตายทั้งสิ้น ไม่มีใครรอดพ้นการตายได้ อายุขัยในอัตภาพบางอย่างอาจอยู่ได้เป็นหมื่นๆปี หรืออาจร้อยปี สุดท้ายก็ต้องพบความตายกันทุกคนทุกอัตภาพ
- ธรรมชาติของการตายการแตกสลายนั้นย่อมตามมาด้วย ความเศร้าโศกเสียใจ ร่ำไห้รำพึงรำพัน มีทุกข์เวทนาลำบากในกายและใจ ตลอดจนความแค้นรันทดใจของหมู่ญาติมิตร รวมเรียกว่า “กองทุกข์”
- เดิมๆเราเป็นธรรมธาตุหนึ่งที่เรียกว่า “สัตตานัง” สัตตานังไม่เคยเกิดจึงไม่เคยตาย
แต่เพราะ “อวิชชา” (ความไม่รู้) ทำให้เราหลง”จิต”มันล่อลวงคดโกงว่าเป็นตนมานานมากหาจุดเริ่มจุดปลายไม่มี
เราเข้ามาเวียนตายเวียนเกิดในสังสารวัฏเพราะไปยึดติดอยู่กับนามรูป หรือขันธ์ห้าคือ กาย ความรู้สึกสุขทุกข์เฉยๆ ความคิดอดีต ความคิดปรุงอนาคต และจิตมโนวิญญาณ
2
- พระตถาคตเป็นผู้ตรัสรู้ได้โดยพระองค์เอง ท่านเกิดมาเพื่อแก้ปัญหา ชาติ ชรา มรณะ
เมื่อเราอยากศึกษาในเรื่องความตาย การเกิดขึ้นของตัวตนเรา ของเรา เป็นเรา อะไรต่างๆเหล่านี้
แม้ล่วงเลยมากว่าสองพันปี สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ยังคงเป็นสัทธรรมไม่เปลี่ยนแปลง คำสอนของพระศาสดาเป็นธรรมที่ถูกปิดปังสำหรับ “สัตตานัง” ทั้งหลาย
และเมื่อเราศึกษาใคร่ครวญน้อมนำมาปฎิบัติ สิ่งที่ได้คือทางหลุดพ้นจากการเกิด การตายในสังสารวัฏนี้
ตายแล้วไปไหน…ล ง น ร ก ห รื อ ขึ้ น ส ว ร ร ค์ ?
- หลังจากตายหรือกายแตกทำลายไปแล้ว จิตไปตั้งอยู่ที่ภพไหน
ไปได้สามภพคือ ผืนนาเลว(กามภพ) ผืนนาปานกลาง(รูปภพ) ผืนนาดี (อรูปภพ)
- “กามภพ”คือภพที่ มนุษย์อย่างเราๆได้มาเวียนตายเกิดเป็นส่วนหนึ่งอยู่ปัจจุบันนี้ ซึ่งที่มาคือ“สัตตานัง” เขาและเธอเหล่านั้นต่างหลงนามรูปเป็นตน หลงเพลินอยากยึดในกามคุณ หรือความสุขที่ได้การจากความเพลินความอยากใน ระบบรับรู้ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติว่า “สฬายตนะ” ได้แก่ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ และรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสและอารมณ์
1
- ในกามภพ “สัตตานัง” เกิดได้ในอัตภาพต่างๆคือ เป็นเทวดากามภพ, มนุษย์, เปรตวิสัย, สัตว์เดรัจฉาน, สัตว์นรก ตามวิบากหรือผลแห่งกรรมที่กระทำไว้
2
- มนุษย์ธรรมดาเป็นปุถุชนผู้ไม่สดับ ยังไม่เคยเรียนรู้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาก่อน เมื่อตายไปจะเกิดไปเป็นเปรต, เดรัจฉาน, นรก มากกว่า99.999…%
1
ก่อนตาย… ต้ อ ง ทํ า อ ะ ไ ร ?
- เราหนีความตายไม่พ้น และเราก็ไม่สามารถเลือกรูปแบบการตายได้
นอนป่วยตาย ตายกระทันหัน ไม่ว่าเด็กผู้ใหญ่ผู้ชราภาพ ล้วนเป็นไปได้ทั้งหมด
เมื่อปุถุชนเกรงกลัวต่อความตาย เขาไม่มีที่พึ่งเป็นสรณะ เขาคงจะเร่งวิงวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เขาจะวิ่งหาโรงพยาบาลที่ดีที่สุดเพื่อยื้อชีวิตให้นานที่สุด เขาจะทบทวนชีวิตนึกถึงความดีที่ได้กระทำมาเพื่อให้ได้ไปเกิดในที่ดีๆ …อย่างนี้ไม่ไช่หนทางพ้นจากทุกข์ที่ถาวร
4
- พระตถาคตไม่ได้สอนบอกแบบนั้น ท่านบอกสิ่งที่ต้องทำแก่เราเมื่อจะต้องตายคือ ขอให้เธอจงมี “สติสัมปชัญญะ” เพื่อรอคอยการทำกาละ คือความตายที่กำลังมาถึง
- ก่อนที่จะตายเราจำเป็นต้องรู้อริยสัจสี่ก่อน การตายไปโดยไม่รู้อริยสัจสี่ย่อมทำให้มีแต่ อวิชชา เพื่อไปเวียนตายเวียนเกิดอย่างไม่รู้จบ ความจำเป็นเร่งด่วนของมนุษย์คือการรู้ “อริยสัจสี่”
- ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพานโอวาสสุดท้ายของพระองค์คือ ธรรมทั้งหลายจะเป็นศาสดาแก่พวกเธอต่อไป ขอให้เธอจงตั้งอยู่ความไม่ประมาทเถิด การเข้าถึงสัทธรรมจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าแม้เพียงตอนใดตอนหนึ่งจะนำพาเราสู่การพ้นทุกข์ได้
4
- การมีสติสัมปชัญญะ การเข้าใจอริยสัจสี่อย่างถ่องแท้นั้น หากเป็นปุถุชนคนธรรมดา ไม่เคยได้ยินคำสอนของพระตถาคต มีการสั่งสมความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีไว้อาจเป็นเรื่องยากมาก จึงควรหาฟังในคำตถาคตบ้าง ยิ่งหากเป็นเด็กได้ฝึกท่องพระสูตรที่เป็นพุทธวจน จะมีลักษณะอินทรีย์แก่กล้าตั้งแต่ปฐมวัย มีสมาธิดีเลิศ เป็นผู้ว่าง่าย
2
เ รี ย น รู้ อ ริ ย สั จ สี่ ก่ อ น …
พระตถาคตอธิบายสังสารวัฏนี้อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา และปฏิจจสมุปบาท ใช้อธิบายการทำงานของขันธ์ห้าที่เป็นเหตุปัจจัยเกิดขึ้นของทุกข์ และการดับลงของทุกข์
1
- สี่บรรทัดจำให้แม่น แทงตลอดอย่างดีด้วยความคิด หลักธรรมพระพุทธเจ้า สามารถเข้าใจได้ด้วยตนเอง
สิ่งนี้มี สิ่งนี้มี
สิ่งนี้เกิด สิ่งนี้เกิด
สิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ไม่มี
สิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ดับ
- ๑ ทุกข์ ทุกอย่างในสังสารวัฏคือทุกข์ ไม่เที่ยงแท้ เกิด เสื่อม ดับ เป็นทุกข์ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ เป็นทุกข์
- ๒ สมุทัย เหตุเกิดทุกข์ เริ่มจาก “อวิชชา”ความไม่รู้ทำให้ธรรมชาติต่างๆเกิดขึ้นตามมาคือ
- “สังขารา”การปรุงแต่ง มี
- “วิญญาณ”อาการรู้แจ้ง มี
- “นามรูป”ระบบขันธ์ห้า มี
- “สฬายตนะ” ระบบกระทบสัมผัสภายในภายนอก เช่น ตา/รูป หู/เสียง… มี
- “ผัสสะ” การกระทบ มี
- “เวทนา” ความรู้สึกสุขทุกข์เฉยๆ มี
- “ตัณหา” ความอยาก มี
- “อุปาทาน” ความยึดติด มี
- “ภพ” แดนเกิด มี
- “ชาติ” ชีวิต มี
- “แก่ ตาย โศกเศร้า ร่ำไห้ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ แค้นใจ” เกิดขึ้นมา
2
- ๓ นิโรธ การดับลงของทุกข์ เริ่มจาก “อวิชชา”ดับลง “สังขาร”ดับลง “วิญญาณ”ดับลง …
- … “แก่ ตาย โศกเศร้า ร่ำไห้ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ แค้นใจ” จึงดับสิ้น
- การดับลงของกองทุกข์นี้ ย่อมมีด้วยการอย่างนี้ ดังนี้
1
- ๔ มรรคแปด ทางพ้นจากทุกข์ได้แก่ “สัมมา” ความเป็นสายกลาง ความถูกต้องแปดประการในศีล สมาธิ ปัญญา หรือ สมถะวิปัสสนา หรือ อานาปานสติ กายคตาสติ สติปัฏฐานสี่
1
ก่อนตาย… เ ค ย ทํ า อ ะ ไ ร ไ ว้ บ้ า ง ?
- การกระทำต่างๆเกิดจาก”ผัสสะ” กรรมเริ่มที่เจตนาของเรา เราได้ทำการกระทำกรรมได้สามทาง คือทางกาย วาจา ใจ
แบ่งเป็น”กรรมดำ” หรือ ”กรรมขาว”
กรรมดำมากกว่ากรรมขาวเรามีโอกาสที่จะลงสู่สามคติข้างล่าง
กรรมขาวมากกว่ากรรมดำมีโอกาสไปสวรรค์
กรรมดำและกรรมขาวมีปริมาณพอกันมีโอกาสเป็นมนุษย์
และมีแต่กรรมไม่ดำไม่ขาว กล่าวว่าเป็นผู้หลุดพ้น
1
- ทำกรรมอะไรต้องได้ลัพธ์ผลของกรรมอย่างนั้น เช่นการฆ่า ผลกรรมอย่างเบาคืออายุสั้น อย่างหนักเกิดในนรกเป็นต้น
บางครั้งเห็นใครทำไม่ดี อย่าไปมีเจตนาจะให้เขาไปลงนรก ด้วยเรามีใจที่พยาบาทเบียดเบียนเขา กรรมนั้นเป็นของเรา เขาจะลงนรกตามเราคิดให้ไปไม่มี แต่เขาอาจไปได้ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตที่เขาเจตนากระทำไป
1
วิถีของ…ก ร ร ม ดํ า…?
การดำเนินชีวิตไปสู่ทางเสื่อมคือการทำแต่ “กรรมดำ”
- กรรมดำที่ควรตระหนักคือ ทุจริต๓ ทำแบบนี้ไปสะสมนิสัยไม่ดีเรียกว่า “อนุสัย” ทุจริต๓ หรืออกุศลกรรมทางกาย วาจา ใจ
 
- ได้แก่การกระทำทางกาย๓ที่ไม่ดีคือ ฆ่า ลัก ผิดกาม
- ทางวาจา๔ที่ไม่ดีคือ พูดโกหก ยุยงส่อเสียดให้แตกแยก หยาบ เพ้อเจ้อ
- ทางใจ๓ที่ไม่ดีคือ โลภ พยาบาทเบียดเบียน ผิดทำนองคลองธรรม
รวมเป็น “อกุศลกรรมบถ ๑๐”
อยากตกนรก ต้องทำอย่างไร… ?
- ไม่เสวนากับสัปบุรุษ เลือกคบพูดคุยกับคนพาลคนไม่ดี ทำอย่างนี้จนเกิดอนุสัย จิตใจก็จะค่อยๆเสื่อมทราม
- ไม่สดับสัทธรรม ไม่พยายามคิดรายละเอียดลงไปในความจริงต่างๆ หรือไม่สนใจจดจำคำสัทธรรมนั้นไว้ เช่นเข้าวัดไปทำบุญก็หวังผลตอบแทน แต่ไม่ได้ไปตั้งใจละความตระหนี่ ไม่ฟังธรรมพระพุทธเจ้า ฟังแล้วพอลุกขึ้นธรรมก็ร่วงกราวเหมือนถั่วงาไม่มีอะไรติดตัวไปเลย
- ไม่มีความเชื่อมั่น ศรัทธาต่อตถาคต พระธรรม ภิกษุอริยสาวก
- ไม่มีโยนิโสมนสิการ ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาถ่องแท้ ไม่ใช้วิจารณญาณในการฟังการเชื่อต่างๆ
- ไม่มีสติสัมปชัญญะ ไม่มีการระลึกคุณความดี ไม่มีการตั้งใจระลึกอย่างต่อเนื่อง ออกล่องลอย
- ไม่มีอินทรีย์สังวร ไม่มีการระวังหรือสำรวมในระบบ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ เมื่ออะไรมากระทบ ก็หลงมัวเมาไปในกามคุณนั้นๆอย่างไม่ละวาง
- ทำทุจริต๓ ไม่ใส่ใจ เกรงกลัวที่จะกระทำไม่ดีทางกาย วาจา ใจ
- สะสมนิวรณ์๕ เชยชินกับอารมณ์ที่จิตตั้งอยู่ใน หลงกามคุณ, การคิดพยาบาทเบียดเบียน, ง่วงหดหู่เซื่องซึม, ฟุ้งซ่านร้อนใจ, สงสัยลังเล
- มีอวิชชา มีแต่ความไม่รู้ในความจริงที่แท้ของสังสารวัฏ
อยากไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ทำอย่างไรดี…?
- หมั่นเสวนากับสัปบุรุษ คบเพื่อนดี เป็นคนว่าง่าย ขยันไม่เกียจคร้านการงาน พูดจาไพเราะ พอใจในธรรม
- หมั่นสดับในสัทธรรม หมั่นฟังคำสอนของพระตถาคต จดจำคำ ท่องได้ขึ้นใจ แทงตลอดอย่างดีด้วยความเห็น
- เกิดศรัทธา เมื่อเห็นธรรม เห็นความเป็นกัลยานิมิตร เห็นพระตถาคต เชื่อมั่น ใจหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว
- เกิดโยนิโสมนสิการ มีความละเอียดอ่อน ถี่ถ้วน ลึกซึ้งในสัทธรรม
- หมั่นเพียรใช้ สติสัมปชัญญะ ดำรงด้วยสติสัมปชัญญะ แม้กระทำการใดๆ เช่น เดินยืนนั่งนอน หรือทำการงานใด
1
- หมั่นสำรวมอินทรีย์ ยิ้มเมื่อมีอุปสรรค ตระหนักเมื่อมีความสุข มีสุขทุกข์รีบวาง ย่าปล่อยให้จิตเพลินอยู่กับอารมณ์ หมั่นละความเพลินด้วยการมีสติ
- หมั่นทำสุจริต๓ ทำกายวาจาใจให้ดี รักษาศีล อยู่ในศีลในธรรม
1
- หมั่นทำ สติปัฏฐานสี่ อยู่กับปัจจุบัน มองเห็นที่ตั้งสติตั้งอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม การเกิดดับ มีสติสัมปชัญญะ นำความทุกข์กายใจในโลกออกเสียได้
2
- เพียรได้บรรลุโพชฌงค์๗ การเจริญ สติ ความเห็นช่องธรรม วิริยะ อิ่มใจ สงบกายใจ สมาธิ อุเบกขา โดยอาศัย ที่สงบเงียบ ความจางคลายอยาก ความดับลง และความสละปล่อยวาง
- ได้วิชชาวิมุตติ
ที่มา/ภาคผนวก: รวมพระสูตรจากพุทธวจน ธรรมที่ถูกปิดจากพระโอษฐ์ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
"เหตุให้ วิชชาและวิมุตติ บริบูรณ์"
อานาปานสติ และสติปัฏฐานสี่
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเอกนั้นมีอยู่ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์;
ครั้นธรรมทั้ง ๔ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์;
ครั้นธรรมทั้ง ๗ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๒ ให้บริบูรณ์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธินี้แล เป็นธรรมอันเอก ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์;
สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์;
โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้.
อานาปานสติบริบูรณ์ ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับหายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
1
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ” หายใจออก”;
1
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้ง หลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”;
1
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้.
โพชฌงค์๗
สติปัฏฐานบริบูรณ์ ย่อมทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ ก็ดี;
เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ก็ดี;
เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ ก็ดี;
เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ก็ดี;
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้;
สมัยนั้นสติที่ภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง,
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์;
สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ;
ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา.
1
ภิกษุทั้งหลาย !
สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ทำการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญา,
สมัยนั้นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,
สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์,
สมัยนั้นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย !
สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อน อันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญในธรรมนั้นด้วยปัญญา,
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,
สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์,
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันเป็นนิรามิสก็เกิดขึ้น.
ภิกษุทั้งหลาย !
สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว,
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์,
สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ.
ภิกษุทั้งหลาย !
สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ,
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,
สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์,
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น.
ภิกษุทั้งหลาย !
สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมตั้งมั่น,
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,
สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์,
สมัยนั้นสมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย !
สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี,
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,
สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์,
สมัยนั้นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุทั้งหลาย ! สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้.
วิชชาวิมุตติ
โพชฌงค์บริบูรณ์ ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย !
โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ?
ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ (ความจางคลาย) อันอาศัยนิโรธ (ความดับ) อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละ,ความปล่อย);
ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้ บริบูรณ์ได้, ดังนี้.
(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๓๕/๑๓๘๐-๑๔๐๓.
โฆษณา