4 ต.ค. 2021 เวลา 05:41 • ครอบครัว & เด็ก
โภชนาการวัยเรียน
เด็กวัยเรียนมีอายุ 6 – 10 ปีในเด็กผู้หญิง และ 6 – 12 ปี ในเด็กผู้ชาย อัตราการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียนจะช้ากว่าวัยทารกและวัยก่อนเรียนแต่การเจริญเติบโตจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอความต้องการสารอาหารในเด็กวัยเรียน
ภาพจาก mamaexpert.com
1. พลังงาน
เด็กอายุ 7 – 9 ปี ทั้งชายและหญิงควรได้รับพลังงานวันละ 1,600 กิโลแคลอรี่ เด็กอายุ10– 12 ปี หญิง ควรได้รับพลังงานวันละ 1,700 กิโลแคลอรี่
2. โปรตีน
เด็กอายุ 7 – 9 ปี ควรได้รับโปรตีนวันละ 20 กรัม เด็กอายุ 10 – 12 ปี ควรได้รับโปรตีนวันละ 34 กรัม และหญิงควรได้รับวันละ 37 กรัม
3. เกลือแร่และวิตามิน
การไม่ได้รับสารอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเป็นผลให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก และทำให้เกิดโรคหลายชนิด
4. แคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส
เด็กอายุ 10 – 12 ปี ควรได้รับแคลเซี่ยมวันละ 1,200 มิลลิกรัม
5. วิตามินดี
ถ้าร่างกายขาดวิตามินดี การสร้างกระดูกจะเสียไป เป็นผลทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็ก6. ไอโอดีน เด็กอายุ 7 – 9 ปี ควรได้รับ
วันละ 120 ไมโครกรัม และวัย 10 – 12 ปี ควรได้รับวันละ 150 ไมโครกรัม
6. สังกะสี
ร่างกายต้องการประมาณวันละ 10 มิลลิกรัม
ปัจจัยมีผลต่อการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน
1. สิ่งแวดล้อมในครอบครัว การสร้างบรรยากาศที่ดีในเวลารับประทานอาหารนับเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการบริโภคอาหารของเด็ก
2. ข่าวสารต่าง ๆ สำหรับเด็กวัยเรียน การโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์ จะเป็นช่องทางที่ประสบความสำเร็จมาก
3. สังคมเพื่อน ที่ดี คือ สังคมเพื่อนอาจจะช่วยพัฒนาทัศนะคติที่ดีต่ออาหาร และการเลือกอาหาร ข้อเสีย คือ การปฏิเสธไม่บริโภคอาหารหรือการเลือกรับประทานอาหารที่อยู่ในความนิยม
4. การจัดการบริการอาหารในโรงเรียน ผู้ที่รับผิดชอบต่อการเลี้ยงดูเด็กตามสถานประกอบการควรคำนึงถึงการจัดอาหารในด้านความสะอาดและให้มีคุณภาพ
5. ความเจ็บป่วย มักจะมีความอยากอาหารลดน้อยลง และมีความจำกัดในเรื่องปริมาณอาหารที่บริโภค
ปัญหาโภชนาการของเด็กวัยเรียน
1. การขาดโปรตีนและพลังงานการขาดโปรตีนและ
พลังงาน ทั้งในเด็กที่อยู่ในชนบท และเด็กที่อยู่ในเมืองแต่ลักษณะความรุนแรงของปัญหาจะแตกต่างกันไป
2. ภาวะโลหิตจาง ภาวะโลหิตจาง อาจเกิดจาธาตุ
เหล็กวิตามินบางชนิด หรือผลจากการเป็นโรคบาง
ชนิดเด็กในชนบทจะมีภาวะโลหิตจางมากกว่าเด็กในเมือง และพบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. การขาดสารไอโอดีน การขาดสารไอโอดีน
จะเป็นลักษณะของโรคคอพอก อัตราของโรคคอพอกจะเพิ่มขึ้นเมื่อายุเพิ่มขึ้นเด็กนักเรียนที่เป็นโรคนี้จะมีผลการเรียนและสติปัญญาต่ำกว่าเด็กที่ไม่เป็นคอพอกอาหารสำหรับเด็กวัยเรียน
การจัดอาหารสำหรับเด็กวัยนี้ ควรให้กินอาหารเหมือนผู้ใหญ่ทุกอย่าง
นอกจากอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต และไขมันสูง และอาหารที่มีรสจัด
เด็กวัยนี้ความอยากอาหารดีมากแต่ไม่ชอบกินผัก ควรให้กินผลไม้ให้มากขึ้น
เด็กวัยนี้ชอบกินอาหารกับเพื่อนเป็นหมู่หรือกลุ่ม ชอบเลียนแบบผู้ใหญ่
จึงเป็นการเหมาะสมที่จะหัดนิสัยในการกินของเด็กให้รู้จักเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ผู้ใหญ่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีเรื่องการกิน และคอยอบรมให้เด็กคำนึงถึงความสะอาด และมารยาทในการกินให้มาก
ตัวอย่างอาหารสำหรับเด็กวัยเรียนใน 1 วัน
อาหารเช้า - ข้าวต้มหมู - ไข่ 1 – 1 ½ ถ้วยตวง
- กล้วยหอม 1 ลูก
อาหารว่าง - นมสด 1 แก้ว
- เค้ก 1 ชิ้น
อาหารกลางวัน - บะหมี่-เกี๊ยวหมูแดง 1 ถ้วย
- ฟักทองแกงบวด 1 ถ้วยเล็ก
อาหารว่าง - นำส้มคั้น 1 แก้ว
- ตะโก้ 1 ชิ้น
อาหารเย็น - ข้าวสุก 1 – 1 ½ ถ้วย
- ไก่ผัดขิง 1 ถ้วย
- แกงจืดเต้าหู้อ่อนหมูสับ 1 ถ้วย
- แอปเปิ้ล 1 ผล
โฆษณา