14 ส.ค. 2021 เวลา 13:00 • ไลฟ์สไตล์
The Art of Being Alone มารู้จักและฝึกฝน "ศิลปะแห่งการอยู่คนเดียว”
6
‘การเรียนรู้ที่จะอยู่คนเดียวไม่ใช่เรื่องง่าย.. แต่ถ้าหากทำได้จะเป็นรางวัลก้อนใหญ่ให้แก่ชีวิต’
.
เพจของเราเคยพูดถึงความจริงข้อนี้ไว้ในบทความหนึ่งที่เกี่ยวกับการสร้างความสุข แต่เรารู้ดีว่าสิ่งที่เราแนะนำไปนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย! โดยเฉพาะสำหรับคนที่ ‘ไม่ชอบอยู่คนเดียว’
.
แม้จะไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย แต่หลายคนก็ไม่ชอบการอยู่คนเดียวเอามากๆ การศึกษาหนึ่งพบว่าหากให้คนเราเลือกระหว่าง ‘การถูกไฟดูด’ หรือ ‘การอยู่คนเดียว 15 นาที’ บางคนยอมถูกไฟดูดเสียดีกว่า
.
สาเหตุที่คนเราไม่ชอบอยู่คนเดียวขนาดนี้อาจเป็นเพราะ ‘ความเหงา’ ที่มักมาคู่กัน แน่นอนว่าไม่มีใครชอบความเหงาอยู่แล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็นชาว Extrovert หรือ Introvert เพราะความเหงาทำให้เรารู้สึกแย่ แถมส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตอีกด้วย
.
8
อย่างไรก็ตาม เราลืมไปหรือเปล่าว่า ‘อยู่คนเดียว’ กับ ‘เหงา’ ไม่เหมือนกัน
.
.
อยู่คนเดียว ≠ โดดเดี่ยว
.
ความรู้สึก ‘โดดเดี่ยว’ หรือ ‘เหงา’ มักเกิดขึ้นในตอนที่เราอยู่คนเดียว หลายๆ คนจึงเข้าใจว่า การอยู่คนเดียวเป็นต้นเหตุของความเหงา ทั้งๆ ที่จริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้น ความรู้สึกเหงาเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แม้กระทั่งตอนที่เราอยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย และการอยู่คนเดียวก็ไม่ได้หมายความว่าเราเหงาเสียทุกครั้ง
.
สาเหตุที่หลายๆ คนไม่ชอบการอยู่คนเดียวอาจเป็นเพราะความไม่คุ้นชิน ในโลกที่ห้อมล้อมไปด้วยเทคโนโลยี เรามีสมาร์ตโฟนเป็นเพื่อนอยู่ตลอดเวลา เราอยู่เฉยๆ ไม่ค่อยได้นานเสียเท่าไร รู้ตัวอีกทีมือก็จับโทรศัพท์เสียแล้ว
.
4
อีกสาเหตุอาจเป็นเพราะว่า การอยู่คนเดียวมีความหมายแฝงลบๆ อย่าง ‘การทำโทษ’ เรายังคงจำกันได้ดีใช่ไหมกับการถูกครูลงโทษให้ไปยืนคนเดียวหน้าห้องตอนเด็กๆ หรือการถูกเพื่อนรังแกจนต้องนั่งกินข้าวคนเดียว ชื่อเสียงในทางลบของการอยู่คนเดียวทำให้เราหลงลืมไปว่า บางครั้งการอยู่คนเดียวไม่ใช่การถูกบังคับแต่เป็น ‘ตัวเลือก’ และเราเลือกได้ว่าจะอยู่คนเดียวนานแค่ไหน
.
เข้าใจนิยามของการอยู่คนเดียวเสียใหม่ และมาเปิดใจเรียนรู้กันว่าการอยู่คนเดียวก็มีข้อดีมากมายนะ
.
ข้อดีของการอยู่คนเดียว
.
1) ได้ชาร์จพลังให้เต็มที่
ในผลการสำรวจเรื่องการพักผ่อน ผลพบว่ากิจกรรมที่ทำแล้วให้ความรู้สึกว่าได้ ‘พักผ่อนเต็มที่’ มักจะเป็นกิจกรรมที่ทำคนเดียว อย่างการอ่านหนังสือ การฟังเพลง หรือการไม่ทำอะไรเลย
.
8
ในการอยู่กันเป็นกลุ่มอย่างสันติ เราต้องยอมปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่างเพื่อให้เข้ากับคนอื่นได้
แต่การอยู่คนเดียวใช้พลังงานน้อยกว่ามาก เพราะเราไม่ต้องฝืนตามใจใคร และไม่ต้องโน้มน้าวให้ใครทำตามใจเรา
.
2) รู้จักตัวเองมากขึ้น
การอยู่คนเดียวช่วยให้เราหาคำตอบของคำถามที่ว่า ‘เราเป็นใคร’ และจริงๆ แล้วเราชอบอะไรกันแน่ เพราะเรามีอิสระเต็มที่ในการตัดสินใจ แบบไม่ต้องกลัวว่าคนอื่นจะมองเราอย่างไร
.
3) เข้าสังคมได้ดีขึ้น
งานวิจัยหนึ่งพบว่าการอยู่คนเดียวช่วยให้เราควบคุมอารมณ์ได้ดี รู้สึกสงบ และเตรียมพร้อมสำหรับการพบเจอผู้คน จะว่าไปแล้วก็ไม่ต่างจากการที่เราทำสมาธิ ก่อนการออกไปพรีเซนต์งานเลย
.
4) สร้างสรรค์มากขึ้น
มีการศึกษาพบว่าในการ Brainstorm ไอเดียนั้น หากเรามีเวลาทำด้วยตัวเองเงียบๆ คนเดียวบ้าง สลับกับการโยนไอเดียกันแบบกลุ่ม ผลพบว่าการ Brainstorm มีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์กว่าเดิม
.
9
5) ได้ประเมินตนเอง
บางครั้งเราก็ปล่อยให้โลกวิ่งผ่านไปเรื่อยๆ ใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ ไม่ค่อยได้ทบทวนเท่าไรว่า ‘ที่เป็นอยู่นี้ดีหรือยัง’ ‘เรากำลังทำตามความฝันของตัวเองอยู่ไหม’ และ ‘สิ่งนี้ดีต่อเราจริงๆ หรือเปล่า’
.
ยกตัวอย่างเช่น การพยายามรักษา ‘Filler Friendship’ ซึ่งก็คือเพื่อนที่เราคบไว้เพื่อหนีความเหงา แต่ไม่ได้รู้จักกันลึกซึ้ง และแน่นอนว่าไม่ได้คอยอยู่ข้างๆ ยามทุกข์ใจ
.
หากเราได้มีเวลาทบทวน เราอาจคิดได้ว่าเราหาอย่างอื่นทำแก้เหงาได้ ไม่จำเป็นต้องเสียเงินและสุขภาพออกไปเที่ยวทุกศุกร์ เพื่อรักษาความสัมพันธ์เช่นนี้ เพราะท้ายที่สุดเขาก็ไม่ใช่คนสำคัญในชีวิตเราจริงๆ
.
2
6) ฝึกดูแลตัวเองในวันที่ไม่มีใคร
คนที่ไม่ค่อยมีเวลาให้ตัวเองมักจะไม่รู้ว่า ‘ในวันแย่ๆ ฉันต้องจัดการกับตัวเองอย่างไร’ เพราะที่ผ่านมาพึ่งพาคนอื่นตลอด เหนื่อยก็โทรบ่นกับเพื่อน เศร้าก็ชวนเพื่อนออกไปดื่ม พอวันที่คนเหล่านี้ไม่ว่างที่จะมาอยู่ข้างๆ เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะทำอย่างไรให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น
.
แปลกดี ทั้งๆ ที่เราสำคัญต่อตัวเองที่สุดแท้ๆ เรากลับไม่รู้วิธีดูแลตัวเองเลย
.
ต้องนอนมาส์กหน้าและดูซีรีส์เรื่องโปรด? ต้องออกกำลังกายให้เลิกคิดมาก? หรือต้องจุดเทียนหอมเพื่อผ่อนคลาย? หากเราไม่มีเวลาให้ตัวเองมากพอ เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าจะอยู่เป็นเพื่อนตัวเองอย่างไรในวันที่ไม่มีใคร
.
.
2
มาฝึกฝนศิลปะแห่งการอยู่คนเดียวให้เชี่ยวชาญกันดีกว่า
.
สิ่งแรกที่อยากบอกคนที่อยากฝึกทำอะไรคนเดียวคือ “ไม่มีใครจับตามองเราอยู่”
.
เวลาเราไปไหนมาไหนคนเดียว เรามักจะไม่กล้าสนุกกับมันเต็มที่ เพราะเราคิดว่าคนอื่นมองเราอยู่ ความจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลย แต่ละคนก็ต่างอยู่ในโลกของตัวเองทั้งนั้น อย่างเราเองที่อาจมีการเหลือบตาไปมองคนอื่นบ้าง แต่พอผ่านไปสักพัก เราก็จำเรื่องของคนคนนั้นไม่ได้แล้ว
.
ทุกคนเป็นตัวเอกในโลกของตัวเอง ไม่มีใครสนใจเราขนาดนั้นหรอก
.
สิ่งต่อมาคือควร “เริ่มเล็กๆ”
อย่าเริ่มด้วยการหนีเข้าป่าตามหาความสันโดษสัก 2-3 วันอะไรเช่นนี้ เพราะความไม่เคยชิน อาจทำให้เราเหงาขึ้นมาจนประสบการณ์การอยู่คนเดียวกลายเป็นเรื่อง ‘ไม่น่าประทับใจ’ ไปเลยก็ได้
.
เริ่มเล็กๆ โดยการทำกิจกรรมที่ชอบคนเดียว อย่างการเดินชมพิพิธภัณฑ์ การอ่านหนังสือที่ร้านกาแฟสัก 30 นาที หรือการกินบุฟเฟ่ต์คนเดียวก็ได้! อยู่คนเดียวก็ทำให้เราประหม่าพอแล้ว ลองเริ่มจากกิจกรรมที่ไม่ต้องออกจาก Comfort Zone มากจะดีกว่าไหม
.
ท้ายที่สุดนี้ ต้องฝึก No Phone Policy! คือพยายาม “อย่าเล่นโทรศัพท์” นั่นเอง
.
การผจญภัยยังจะเป็นการผจญภัยอยู่ไหม หากเราไม่ได้อัปโหลดรูปลง Instagram?
หรือหากเราเจอเรื่องน่าประทับใจ เหตุการณ์นั้นจะยัง ‘เกิดขึ้นจริง’ อยู่ไหม ถ้าเราไม่ได้เล่าให้ใครบน Facebook ฟัง?
.
ทุกวันนี้ชีวิตเราผูกพันกับเทคโนโลยีจนแยกไม่ออก ทั้งๆ ที่จริงแล้ว เราไม่ต้องรับรู้เรื่องคนอื่นอยู่ตลอดเวลา และคนอื่นก็ไม่ต้องรับรู้เรื่องของเราตลอดเวลาเช่นกัน
.
10
ลอง Log off จากความเคลื่อนไหวเหล่านี้บ้าง ปล่อยให้สมองได้ทำงานอย่างอิสระ และลองให้ชีวิตเป็นไปในแบบของมันดู เราอาจได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ มากกว่าที่คิด
.
.
ผู้คนในชีวิตเราล้วนมีสถานะ ‘ชั่วคราว’ กันทั้งนั้น ไม่มีใครอยู่เคียงข้างเราได้ตลอดเวลา ดังนั้นให้เวลากับตัวเองเหมือนที่เราให้คนอื่นบ้าง จะได้รู้จักตัวเองมากขึ้น
.
อย่างน้อยในวันที่ไม่มีใคร ก็ยังมีตัวเองเป็นเพื่อนนะ
.
.
เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- แด่คนที่ฉันควรรักมากที่สุด: ตัวฉันเอง >> https://bit.ly/3CKU19R
- ‘ห่างกันสักพัก’ ดีต่อความรักและความสัมพันธ์กว่าที่คิดนะ >> https://bit.ly/3g2hzx8
.
อ้างอิง
.
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#inspiration
9
โฆษณา