14 ส.ค. 2021 เวลา 13:02 • สุขภาพ
😷💊อัพเดทหน้าที่การทำงานของเภสัชโรงพยาบาลเอกชนในช่วงโควิด-19 ระบาดอีกระลอก😷🤩 ในพื้นที่สีแดงมาตลอด
จ่ายยาคลินิก ARI ช่วงนี้คนไข้เยอะมากๆค่า
ในช่วงที่โควิดระบาดคนไข้โควิดแต่ละวัน 20,000++,ตายวันละ 100-200++ ทำไมเศร้าใจ อนาถใจขนาดนี้
💊💊💊หน้าที่ที่เภสัชโรงพยาบาลที่มีเพิ่มเติมขึ้นมาจากสถานการณ์ปกติมีดังต่อไปนี้
1. จ่ายยาคนไข้คลินิก ARI หรือผู้ป่วยที่มาด้วยโรคทางเดินหายใจที่เข้ามาตรวจ รักษายังโรงพยาบาล เนื่องจากที่รพ.ของเรารับตรวจ swab โควิด RT-PCR ด้วยรับคงตรวจคนไข้ 400 ราย/วัน โดยรับคนไข้สิทธิ์ชำระเงิน 300 ราย/วัน และรับคนไข้สิทธิ์ประกันสังคมที่มีสิทธิ์ที่รพ.เท่านั้น 100 รายต่อวัน เนื่องจากสถานการณ์เตียงไม่พอ คนไข้ที่เภสัชต้องออกไปจ่ายยาคือมาตรวจโควิดและมาหาหมอด้วยโรคทางเดินหายใจ หรือเสี่ยงที่จะติดโควิด-19 คือเราไม่ทราบเลยว่าคนไข้ที่เราไปจ่ายยาให้นั้นติดโควิด-19 หรือไม่เพราะหมอจ่ายยากลับบ้านไปก่อน ต้องรอผลตรวจโควิด-19 ก่อน ซึ่งระยะเวลารอผลก็ประมาณ 1-3 วันหลังตรวจ ชุดที่เภสัชใส่ป้องกันตัวเองก็ตามในรูปที่อัพเลยค่ะ มี ใส่หน้ากากอนามัย N-95+faceshield+ชุดกันสารคัดหลั่ง+ถุงมือ ประมาณนี้ค่ะ คนไข้ในช่วงนี้จะมีจำนวนกว่าปกติ เคยนับวันๆนึงที่ต้องออกไปจ่ายในเวรของเรานับได้ 80 รายในช่วงเวลา 8.00-17.00 น. คนไข้ต่อวันน่าจะประมาณ 60-100++ รายต่อวันที่มาตรวจที่คลินิก ARI
2. ทางรพ.ที่เราทำมีการเปิด hospitel คือใช้โรงแรมที่มีสภาวะที่เหมาะสมในการให้คนไข้โควิด-19 นอนรักษาตัวได้ จึงมีการจัดยา hospitel คือยาที่ใช้ใน hospitel คือจัดเตรียมแพคยาที่ใช้เกี่ยวกับการรักษาคนไข้โควิด-19 ในโรงแรม เช่นยาพาราเซตามอล ยาแก้ไอ ยาที่รักษาตามอาการอื่นๆ เช่น ยานอนหลับคลายกังวล เป็นต้น โดยจะมีหมอไปตรวจที่ hospitel มีพยาบาลไปดูแล ส่วนเภสัชเราจะทำหน้าที่ตรวตรวจสอบยา จัดเตรียมยาให้คนไข้ตามคำสั่งแพทย์แล้วจะมีรถมารับยาจากห้องยาไปส่งที่โรงแรม
3. นอกจากนี้เนื่องจากสถานการณ์เตียงไม่พอทางรพ.ได้มีการจ่ายยาต้านไวรัสที่รักษาโรคโควิด-19 คือยา Avigan หรือ ยา favipiravir ให้คนไข้ที่แพทย์ประเมินว่าควรได้ยานี้กลับไปกินที่บ้านระหว่างรอเตียง ซึ่งเป็นคนไข้ที่มาตรวจโควิด-19 RT-PCR ผลเป็นบวก (detect) จะมีการจ่ายยาให้คนไข้ไปก่อน 3-5 วัน แล้วแต่ว่ามียาพอไหม มากน้อยตามสต็อคยาที่รพ.ได้มา ยาที่จ่ายให้คนไข้คือยาฟรี เบิกกับสปสช. รวมทั้งค่ารักษาต่างๆไม่ว่าจะ admit นอนรพ. หรือ hospitel สามารถเบิกได้กับสปสช. ซึ่งยานี้อาจจะให้ญาติคนไข้มารับแทน หรือบางรายอาจจะจ้าง Grab,lineman messenger มารับแทนก็ได้ โดยคนไข้จะโทรมาแจ้งที่ห้องยาก่อน เพื่อเป็นการนัดหมายรับยา หรือยื่นหลักฐานในการรับยาแทนคนไข้ เมื่อมีเตียงว่างแล้วทางรพ.จะติดต่อคนไข้กลับไป เพื่อให้คนไข้มานอนรักษาที่รพ.หรือ hospitel จากการสอบถามน้องที่แผนกที่เคยติดโควิด-19 แล้วได้นอนรักษาที่ hospitel ในกรณีที่รักษาฟรีคือจะเป็นห้องของโรงแรมที่พัก 2 คนต่อห้อง ขณะที่อยู่ในห้องต้องใส่ mask ตลอดเวลา มีอาหาร น้ำดื่มให้ครบ 3 มื้อ ส่วนคนไข้ท่านใดประสงค์อยากจะพักห้องเดี่ยวของ hospitel ต้องชำระค่าห้องเพิ่มค่ะ โดยคนไข้ที่ได้รับการรักษาที่ hospitel คือคนไข้ที่มีอาการไม่หนักมาก ไม่มีโรคประจำตัว เป็นต้น ส่วนคนไข้ที่ต้องรักษาที่รพ.คือ อาการหนัก มีโรคประจำตัว คนไข้ตั้งครรภ์ เป็นต้น
4. ส่วนเภสัชที่อยู่เวรห้องยาผู้ป่วยในจะทำหน้าที่รับออเดอร์ยาจากแพทย์ ตรวจสอบยา จ่ายยาให้คนไข้ทั้งที่รักษาที่รพ.และ ส่งไป hospitel ถ้ายามีปัญหาอะไร เราก็โทร consult แพทย์โดยตรงค่ะ
5. ทางห้องยาของเราได้มีการจัดส่งยาโรคเรื้อรังให้คนไข้ที่มีสิทธิ์ประกันสังคมที่รพ.ของเราเท่านั้น โดยจะจัดส่งให้ตามประวัติการรักษาเดิมและต้องมีอาการคงที่ มีประวัติมารักษาติดตามอาการมาพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง 3 เดือนย้อนหลัง โดยจะให้คนไข้กรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนเข้ามาในระบบ จากนั้นเภสัชกรก็จะทำการตรวจสอบข้อมูล ประวัติการรักษา ยาโรคเรื้อรัง โรคประจำตัวเดิมที่คนไข้เคยได้รับ แล้วจัด ตรวจสอบยา ส่งยาให้คนไข้ทางไปรษณีย์ เพื่อเป็นการลดความแออัดของคนไข้ที่มารับการรักษาที่รพ. ลดความเสี่ยง ลดการเดินทาง เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19
จากสถานการณ์โควิด-19 ระลอกนี้เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์ต่างก็ทำงานกันหนักขึ้นและเหนื่อยมากขึ้น รุ้งภูมิใจและยินดีที่จะดูแลคนไข้ให้เต็มที่และดีที่สุดแก่คนไข้ และหวังว่าสถานการณ์โควิด-19 จะดีขึ้นและหายไปจากโลกเราในเร็ววัน อยากกลับไปใช้ชีวิตแบบปกติ ไปเที่ยว พักผ่อนอย่างสถานการณ์ปกติ และขอให้ทุกคนมีชีวิตรอด ปลอดภัยไปด้วยกันนะคะ รักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ
👏👏👏ขอบคุณที่ติดตาม และฝากกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์เพื่อเป็นกำลังใจให้เภรุ้งด้วยนะคะ 😷😷😷💊💊💊💊

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา