14 ส.ค. 2021 เวลา 14:14 • การศึกษา
การใช้ "could’ve, would’ve และ should’ve (…‘ve = have)"
1. Could’ve หลังคำนี้ต้องตามด้วย v.3 ใช้ในสถานการณ์ที่ ทำได้/เป็นไปได้ แต่ไม่ได้ทำ/ไม่ได้เกิดขึ้นจริง
ตัวอย่างประโยค
1.1 สมมติว่าผมเป็นพี่เลี้ยงเด็กแล้วจับได้ว่า เด็กแอบไปวิ่งเล่นที่ดาดฟ้า เมื่อเด็กกลับมาสามารถพูดได้ว่า He could’ve killed yourself. แปลประมาณว่า คุณสามารถเสียชีวิตได้เลยนะเพราะที่ดาดฟ้าอันตรายมาก (แต่ไม่ได้เสียชีวิตจริง ๆ เด็กคนนั้นกลับมาได้)
1.2 สมมติว่าเราอยากจะเตือนเพื่อนในสิ่งที่เพื่อนทำผิดพลาดไปแล้ว และกลับไปแก้ไขไม่ได้ สามารถพูดได้ว่า You could’ve thought of that before you did. แปลว่า คุณน่าจะคิดถึงเรื่องนั้นด้วยสิก่อนที่จะทำอะไร
2. Should’ve หลังคำนี้ต้องตามด้วย v.3 เช่นกัน ใช้ในสถานการณ์ที่ ถ้าเป็นแบบนั้น ก็คงจะทำไปแล้ว (พูดถึงอดีตและสมมติเหตุการณ์ขึ้น) ซึ่งโยงเข้ากับเรื่อง If-clause ในโครงสร้าง If + part simple/perfect, S + would’ve + v.3
ตัวอย่างประโยค
2.1 If you had asked me, I would’ve told you. แปลว่า ถ้าคุณถามฉัน ฉันคงจะบอกคุณไปแล้ว (แต่ไม่ได้บอก เพราะคุณไม่ได้ถามฉัน เป็นการสมมติเหตุการณ์ขึ้นมา)
2.2 If she didn’t tell him, he would’ve done the same. แปลว่า ถ้าเธอไม่ได้บอกเขา เขาก็คงทำเหมือนเดิม (จริง ๆ แล้วเขาไม่ได้ทำเหมือนเดิม เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงในอดีต)
3. Should’ve ตามด้วย v.3 เช่นเดิม แปลว่า ควรจะทำ แต่ไม่ได้ทำ
ตัวอย่างประโยค
3.1 เราฝากให้เพื่อนเอาอะไรสักอย่างมาให้เรา แต่เพื่อนลืมเอามา สามารถพูดได้ว่า You should’ve brought it with you. แปลว่า คุณควรจะเอามันมาด้วยนะ (แต่เพื่อนไม่ได้เอามา)
3.2 I should've done all homework at noon. ฉันน่าจะเคลียร์การบ้านทั้งหมดตอนเที่ยง (แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้ทำตอนเที่ยง แต่ทำเวลาอื่นแทน)
2
สรุป 1. Could’ve + v.3 = ทำได้/เป็นไปได้ แต่ไม่ได้ทำ
2. Would’ve + v.3 = ถ้าเป็นแบบนั้น คงจะทำบางอย่างไปแล้ว เป็นเรื่องสมมติในอดีต คล้าย ๆ กับ could’ve แต่มีประโยคเหตุการณ์หนึ่งสมมติขึ้นมาก่อน
3. Should’ve + v.3 = ควรจะทำบางอย่าง แต่ไม่ได้ทำ
สรุปมาจากคลิปวีดีโอ https://youtu.be/mrE5cdBFHJE
โฆษณา