16 ส.ค. 2021 เวลา 03:08 • การศึกษา
Outward Mindset เครื่องมือที่จะทำให้เรา เลิกหลอกตัวเอง เวลาทำงานผิดพลาด
เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน หลายคนอาจจะคิดว่า “เราไม่ได้มีส่วนผิด”
เพราะสิ่งที่เราคิดและตัดสินใจทำลงไป ก็เป็นไปเพื่อทีมงาน เพื่อองค์กร
หรืออาจจะเผลอโทษคนอื่น ว่าที่การทำงานผิดพลาด เป็นเพราะคนอื่น ๆ สื่อสารกันไม่ดีพอ
5
เมื่อเกิดสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งที่เราต้องระวังก็คือ เราอาจจะมีภาวะการหลอกตัวเอง หรือ Self-Deception เพราะเมื่อเราหลอกตัวเอง เราก็จะตกลงไปในกล่องความคิดของตัวเอง และกลายเป็นคนที่มี Inward Mindset
Self-Deception และ Inward Mindset คืออะไร ?
Self-Deception คือ การไม่รู้หรือปฏิเสธว่าตัวเองกำลังมีปัญหา
ทำให้มองโลกบิดเบือน และมักจะหาเหตุผลมาแก้ต่างหรือสนับสนุนความคิดของตัวเอง
ซึ่งก็จะส่งผลให้การสื่อสารแย่ลง ความไว้ใจภายในทีมก็ไม่มี และความรับผิดชอบร่วมกัน ก็จะไม่เกิดขึ้น
6
ส่วน Inward Mindset คือ การมองอยู่เพียงแค่ในกรอบคิดของตัวเอง
ไม่เปิดใจเรียนรู้ หรือมองเป้าหมายและความต้องการของคนอื่น
ซึ่งกระบวนคิดแบบ Inward Mindset
จะทำให้การทำงานร่วมกัน และการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม เป็นเรื่องที่ยาก
สรุปง่าย ๆ ก็คือ เมื่อเราหลอกตัวเอง มองโลกบิดเบือนจากความเป็นจริง (Self-Deception)
ก็จะทำให้เรากลายเป็นคนที่ติดอยู่แต่ในกล่องความคิดของตัวเอง (Inward Mindset) จนมองไม่เห็นปัญหาที่แท้จริงนั่นเอง
1
ยกตัวอย่างเช่น ทีมงานทุกคนต้องช่วยกันทำโปรเจกต์หนึ่งให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้
ซึ่งอาจจะต้องมีการช่วยงานกันข้ามตำแหน่ง เพราะงานบางส่วนต้องการคนหลายคนมาช่วยทำ
3
แต่ถ้าเรามีความคิดแบบ Inward Mindset เราก็จะโฟกัสแค่งานในขอบเขตของตำแหน่งตัวเอง
ใครที่เข้ามาขอความช่วยเหลือ เราก็จะมองว่าขอโฟกัสที่งานตัวเองก่อน
1
และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น งานไม่เสร็จตามกำหนด หากเรามี Self-Decaption เราก็จะหลอกตัวเองว่า
ฉันได้ทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างดีที่สุดแล้ว โดยที่ไม่ได้มองเป้าหมายของคนอื่นและทีมงาน
ซึ่งสุดท้ายแล้ว แม้ตัวเราจะทำงานของตัวเองได้เสร็จสิ้น แต่โปรเจกต์นี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จอยู่ดี
ดังนั้นสิ่งที่เราตั้งใจทำมา ก็อาจจะไม่มีความหมายเลยก็ได้..
2
แล้วเราจะแก้ปัญหาการหลอกตัวเองนี้ได้อย่างไร ?
7
ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการสื่อสารกันภายในทีม ว่าแต่ละคนมีความต้องการและเป้าหมายอะไร
เริ่มจากการถามคนในทีมด้วยคำถามง่าย ๆ ว่า
“เป้าหมายของคุณในตอนนี้คืออะไร”
“ต้องการความช่วยเหลืออะไร”
และ “ตัวเราสามารถช่วยเหลืออะไร เพื่อให้คุณไปถึงเป้าหมายได้บ้าง”
13
จากนั้นก็จดบันทึกคำตอบต่าง ๆ เอาไว้ เพื่อให้เราได้ทบทวนตัวเองและกระบวนการทำงานที่ผ่านมา
แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ดูเล็กน้อย แต่นี่จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้เราเปิดใจ และได้ออกจากความคิดและพฤติกรรมเดิม ๆ ที่เราคุ้นชินมาตลอด
1
เมื่อเรารู้ว่าทุกคนก็อยากทำงานให้ได้เป็นไปตามเป้าหมาย เราก็จะลดการโทษคนอื่นเป็นอันดับแรก
แต่จะมองว่าเรามีส่วนผิดอะไรหรือเราสามารถช่วยแก้ไขปัญหาอะไรได้บ้าง
ซึ่งการมองไปที่เป้าหมายของคนอื่น เป็นกรอบความคิดของคนที่มี “Outward Mindset”
4
เมื่อเราลดการหลอกตัวเองลงได้ เราก็จะสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมา
เราจะมีความไว้เนื้อเชื่อใจคนในทีม และทุกคนก็จะช่วยกันรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเองได้อย่างดีขึ้น
แล้วปัญหาที่แท้จริงก็จะถูกแก้ไข
สถาบัน Arbinger ซึ่งเป็นเจ้าของแนวคิด Outward Mindset ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า กรอบความคิดและค่านิยมร่วมกันของคนในองค์กร จะทำให้เกิดการสร้างพฤติกรรมร่วมกัน และได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นสิ่งที่เรียกว่า “วัฒนธรรมองค์กร” ดังนั้น ถ้าต้องการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมให้เกิดขึ้นภายในองค์กร จึงควรเริ่มต้นที่การสร้างกรอบความคิดที่เป็น “Outward Mindset” เสียก่อน
4
คนที่มี Outward Mindset จะมีความรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของทีม และพร้อมปรับเปลี่ยนตนเอง เพื่อช่วยให้ทีมบรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน
5
และในคอร์สของ SEAC ยังมีเครื่องมืออีกมากมายที่จะช่วยให้ทุกคนมี Outward Mindset ที่แข็งแกร่งมากขึ้น และนำไปใช้งานได้อย่างแท้จริง
2
ลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับ Outward Mindset เพิ่มเติม: https://bit.ly/3unh7io
หรือดูรายละเอียดได้ที่: https://www.seasiacenter.com/th/signature-program
#SEAC #lifelonglearning #YourNextU #essentialskills #upskill #reskill #OutwardMindset #OrganizationalAgility #ทักษะแห่งอนาคต
#SEAC THE RIGHT MINDSETS, SKILLSETS, AND TOOLSETS FOR YOUR TRANSFORMATION
โฆษณา