16 ส.ค. 2021 เวลา 17:49 • หนังสือ
ความทรงจำของวันพรุ่งนี้
ผู้เขียน  โอกิฮาวาระ  ฮิโรชิ
ผู้เเปล หนึ่งฤทัย  ปราดเปรียว
เเพรวสำนักพิมพ์
มาซายูกิ  ชายวัย 50 ปี  พนง.บริษัทโฆษณา  ตรวจพบว่าตัวเองเป็นโรคอัลไซเมอร์ชนิดเป็นเร็ว  ซึ่งอาการของโรคเขารู้ดีอยู่เเก่ใจว่า  ตัวเองจะค่อยๆ สูญเสียความทรงจำ เเละตายในที่สุด    เเต่สิ่งที่เขากลัวกว่านั้นคือ  เมื่อความทรงจำค่อยๆ  หายไป  เขาจะกลายเป็นคนอื่นไหม  กลายเป็นชายคนอื่นที่ไร้ซึ่งความทรงจำใดๆ  นั่นไม่ใช่ตัวเขา
1
มาซายูกิ  มีตำเเน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายขาย  หลังจากรับรู้อาการป่วย  เเละได้รับการรักษา  เขาคิดว่าตัวเองยังสามารถทำงานต่อไปได้  เนื่องจากอาการยังไม่หนัก  เขาพยายามอย่างหนักเพื่อทำตัวให้เป็นปกติ  เละไม่กระทบต่องาน  เเต่ในที่สุดเขาก็ต้องยอมรับว่าโรคส่งผลต่อการงานของเขา เขาไปประชุมกับลูกค้าสายเพราะลืมเส้นทาง  ไม่สามารถจดจำเนื้องานบางอย่างได้  เเม้ว่าจะจดเเค่ไหนก็ตาม  หากกระดาษหล่นหายไปก็เหมือนความทรงจำหล่นหายไปด้วย   ไม่สามารถจดใบหน้าผู้คน  รวมกระทั่งชื่อได้เลย  เหมือนเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาหายวับ  ถูกตัดออกไป  เขาถูกเชิญให้ทำเรื่องเกษียณก่อนกำหนด  เนื่องจากมีผู้ร่วมงานไปเเจ้งกับ ผ.อ.  เเต่เขายังไม่อยากออกตอนนี้  เพราะลูกสาวเขาจะเเต่งงานในอีกนาน  เขายังอยากเป็นพ่อที่สมบูรณ์พร้อมของลูกสาว
มาซายูกิ  มีงานอดิเรก คือปั้นเซรามิก  โดยเขาวางเเผนที่จะทำถ้วยชาคู่ให้เป็นของขวัญวันเเต่งงาน  โดยเขาวางเเผนที่จะเผาในเตาเเบบขั้นบันไดที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก  สำหรับลูกสาวเเละลูกเขย  เขาทำงานปั้นอยู่ที่สตูดิโอเเถวบ้าน  เนื่องจากสตูดิโอเเห่งนี้เป็นพื้นที่พักใจของเขา  เขาจึงบอกอาการป่วยตามความเป็นจริงกับอาจารย์เจ้าของสตูดิโอว่าตัวเองกำลังเป็นโรคอัลไซเมอร์ชนิดเป็นเร็ว  หากลืมจ่ายค่าเผา ให้บอกเขาได้ทันที  เเละวันหนึ่งเขาก็รับรู้ได้ว่าอาจารย์เจ้าของสตูดิโอหลอกเอาเงินทั้งที่มีการจ่ายไปเเล้ว   ทั้งๆที่สตูดิโอเป็นพื้นที่พักใจเเต่เขาจะไม่กลับไปอีก  เขาได้ฉีกวิธีการเดินทางเพื่อมาสตูดิโอทิ้ง  เพราะสุดท้ายเเล้วเขาก็จะลืมไปว่าเกิดอะไรขึ้นที่นี่  เขาได้ถือถ้วยชาคู่ที่ยังไม่ได้เผาเเบบขั้นบันไดกลับบ้านมา
หลังจากผ่านงานเเต่งของลูกสาวไป  เขาได้ลาออกจากบริษัท  มาซายูกิเป็นห่วง เอมิโกะ  ภรรยาวัย 47 ปีของเขา  หากเขาค่อยๆ สูญเสียความทรงจำไป  เเละสูญเสียการควบคุมตัวเอง  ไม่สามารถดูเเลตัวเองได้  เเละจากไปในที่สุด  เอมิโกะจะอยู่อย่างไรต่อไป  ดูเเลตัวเองได้ไหม   เงินจะเพียงพอไหม   เขาวางเเผนก่อนที่อาการจะเป็นหนักมากกว่านี้  ว่าจะไปดูเนิร์สซิ่งโฮมสำหรับตัวเอง  เเต่ก็ถูกเอมิโกะคัดค้าน  จนวันหนึ่งที่ลูกสาวป่วย  เเละเอมิโกะต้องไปดูเเล  เขาจึงตัดสินใจไปดูเนิร์สซิ่งโฮม  เเละตั้งใจจะไปเตาเผาใกล้เคียงเพื่อทำการเผาถ้วยชาให้เสร็จ
เมื่อดูเนิร์สซิ่งโฮมเสร็จ  เขาก็เดินทางไปเตาเผาที่สมัยหนุ่มได้ไปฝึกวิชา   ระหว่างเดินทาง  เอมิโกะก็โทรเข้ามา  เขาคุยไม่จบ  เเละสายก็ขาดไป
เมื่อไปถึงเตาเผาที่คุ้นเคยได้พบกับชายชราซึ่งเป็นอาจารย์สมัยหนุ่ม  ชายชราเป็นโรคความจำเสื่อม เเต่สามารถทำเซรามิกได้อย่างคล่องเเคล่ว  หลังจากเผาถ้วยชาคู่เสร็จ  ซึ่งเป็นวันใหม่เเล้ว  เขาได้ลาชายชรากลับบ้าน  ระหว่างทางกลับบ้าน  ได้หยุดพักที่เดิมที่เขาเคยสูบบุหรี่กับเพื่อน   เขาเห็นภาพเพื่อน เเละเริ่มต้นสนทนา   เเละกลับมารู้สึกตัว   ว่านี่คือภาพหลอนจากความทรงจำ  เพื่อนของเขาได้ตายไปแล้ว  เขาเดินต่อพบผู้หญิงคนหนึ่งยืนรอใครบางคนอยู่ตรงสะพาน  เธอคงรู้สึกเหงามากเเน่ๆ  จึงชวนเธอเดินมาด้วยกัน  เขาถามชื่อเธอ  เธอตอบว่า เธอชื่อ  เอมิโกะ   เขาเดินนำเเละเธอเดินตาม  เขาไม่ได้คุยอะไรกับเธอ  เพราะเห็นเธอปาดน้ำตาอยู่
1
สำหรับเล่มนี้เป็นอีกเล่มที่เล่าถึงผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดี  ถึงเเม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะไม่อยากป่วย ถึงเเม้ว่าจะฝืนสักเพียงใด   ไม่อยากให้ความทรงจำของตัวเองเหล่านั้นหายไปมากเเค่ไหน   เเต่ในที่สุดก็สูญเสียความทรงจำไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  และกลายเป็นคนอื่นในที่สุด
ไม่รู้ว่าคนอื่นจะร้องไห้กับเล่มนี้หรือเปล่า  เเต่เล่มนี้เรียกน้ำตาได้ ช่วงกลางเล่มไปถึงท้ายเล่ม  ต้องหยุดอ่าน  เพราะมันอึดอัด  รวมถึงให้ความรู้สึกเศร้าไปด้วย
จริงๆเเล้วสิ่งที่เราหวงเเหน คือความทรงจำที่เราได้ใช้ร่วมกับคนรอบข้าง
สุดท้ายเเล้วจริงๆ  ส่วนตัวชอบประโยคนี้ในหนังสือค่ะ "ความจำไม่ใช่ของเราคนเดียว  เเต่สามารถแบ่งปันและยืนยันมันได้ด้วยกันกับใครสักคน"
สำหรับเล่มนี้มีการนำมาเป็นภาพยนตร์ ชื่อเรื่องว่า
"Ashita no kioku"
โฆษณา