17 ส.ค. 2021 เวลา 12:32 • สุขภาพ
รายงานการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีน ในบุคลากรทางการแพทย์ของไทยพบว่า Sinovac สองเข็มป้องกันการติดเชื้อได้ 72% ส่วน AstraZeneca สองเข็มป้องกันการติดเชื้อได้ 96%
3
ประสิทธิผลของการป้องกันโรค จะมีการศึกษาและรายงานในสองลักษณะด้วยกันได้แก่
1) ประสิทธิผลในอาสาสมัคร (Efficacy) ระหว่างการทดลองเฟส2/3
1
2) ประสิทธิผลของวัคซีนในโลกแห่งความเป็นจริง (Effectiveness)
2
ที่ผ่านมา ในช่วงเริ่มต้น จะมีแต่รายงานประสิทธิผล (Efficacy) ของวัคซีนแต่ละตัวในกลุ่มอาสาสมัคร
ต่อมาจึงค่อยเริ่มมีรายงานประสิทธิผลในโลกแห่งความเป็นจริง( Effectiveness) ของวัคซีนหลากหลายชนิด แต่มักจะเป็นรายงานในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่
วันนี้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เก็บรวบรวมข้อมูลมาตั้งแต่ การระบาดเมื่อ 1 เมษายน 2564 ต่อเนื่องกันมาจนถึงเดือนสิงหาคม 2564 ได้รายงานตัวเลขประสิทธิผลของวัคซีนในโลกแห่งความเป็นจริง กล่าวคือ
1
เมื่อฉีดวัคซีน Sinovac ครบสองเข็มมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อ 72% และป้องกันการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ 98%
5
โดยดูที่ ได้รับวัคซีนครบสองเข็มแล้วเป็นเวลา 14 วัน
ในช่วงพฤษภาคมและมิถุนายนซึ่งเชื้อไวรัสหลักเป็นสายพันธุ์อัลฟ่า (พบ 89%) ประสิทธิผลอยู่ที่ 71% ละ 74%
ในช่วงกรกฎาคม ซึ่งไวรัสสายพันธุ์หลักเป็นเดลต้า (พบ 78%) ประสิทธิผลอยู่ที่ 71%
3
พอจะสรุปได้ในเบื้องต้นว่า
วัคซีน Sinovac 2 เข็ม สามารถรับมือต่อไวรัสสายพันธุ์อัลฟ่า และสายพันธุ์เดลต้าได้ดีใกล้เคียงกัน
2
ส่วนวัคซีน AstraZeneca มีการฉีดที่เว้นระยะห่างมากกว่า และเพิ่งฉีดในระยะหลัง จึงเป็นการเก็บข้อมูลเฉพาะในเรื่องประสิทธิผลของการป้องกันการติดเชื้อ พบว่า
4
วัคซีนหนึ่งเข็ม มีประสิทธิผล 88% และสองเข็มมี ประสิทธิผล 96%
นับเป็นข้อมูลที่ทำให้เกิดความอุ่นใจขึ้นในระดับหนึ่ง ว่าวัคซีน Sinovac และวัคซีน AstraZeneca ซึ่งเป็นสองวัคซีนหลักที่ฉีดในช่วงที่ผ่านมารวมแล้วประมาณ 20 ล้านเข็มนั้น มีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อทั้งสายพันธุ์อัลฟ่าและเดลต้าได้ค่อนข้างดี
4
คงจะได้ติดตามวัคซีนอื่น ที่จะทยอยเข้ามาฉีดเพิ่มเติมได้แก่ Sinopharm และ Pfizer กันต่อไป
ว่าจะมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อในคนไทย แตกต่างหรือเหมือนกับรายงานการศึกษาในต่างประเทศต่อไป
1
Reference
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
โฆษณา