18 ส.ค. 2021 เวลา 02:54 • สิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรืออะไรบางอย่างก็แล้วแต่ ที่บุคคลผู้นั้นได้กระทำอยู่จนเป็นนิสัยแต่ยังไม่ถึงกับเป็นสันดาน แน่นนอน เป็นสิ่งที่ยาก อย่าว่าแต่คนที่ไม่รู้จักกันเลย คนใกล้ตัวเราเองยังยากหรืออาจยากยิ่งกว่า และการบอกให้ใครทำหรือไม่ทำอะไรตามเรานั้น ก็เป็นสิ่งที่ยากเช่นกัน
โดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภคซึ่งตอบสนองต่อระบบทุนนิยม ไม่ว่าจะเป็นการเกษตรเชิงเดี่ยว (Mono Crop) การดำเนินนโยบายส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเพื่อเน้นการส่งออก มากกว่าการผลิตเพื่อใช้เองในประเทศ ระบบธุรกิจข้ามชาติที่มุ่งหวังผลกำไรโดยไม่คำนึงถึงความเท่าเทียมกันทาง สังคม สิ่งเหล่านี้เองที่ต้องเร่งจัดการเพื่อการพัฒนาที่มีทิศทาง อันจะนำไปสู่ความยังยืนของสังคม
แต่ก็นั้นแหละครับที่เป็นเหตุผล สำคัญว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อยย้ายกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift)ไปสู่แนวความคิดที่ถูกต้องในการใช้ชีวิต ลด ละ เลิก พฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของฐานทรัพยากร และพฤติกรรมที่บั่นทอนความสมดุลของสิ่งแวดล้อม
หลักการสำคัญในการเปลี่ยนแปลงนี้
โดยทั่วไปมีทั้งหมด 4 ข้อหลักๆนั้นคือ การสร้างความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Understanding) ความตระหนัก (Awareness) และการสร้างแรงจูงใจ (Motivation)
แต่ก็เป็นเพียงหลักการ ในความเป็นจริง การที่คนรู้และเข้าใจว่าพฤติกรรมที่ตนทำนั้นก่อให้เกิดผลอะไรตามมาไม่ได้ส่ง ผลให้เข้าเลิกทำพฤติกรรมนั้น ก็เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลโดยตรง เช่นประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมา การปล่อยน้ำหรืออากาศเสียในพื้นที่หนึ่ง การไหลของน้ำ และการพัดพาของลมทำให้อีกพื้นที่หนึ่งเกิดสภาพแวดล้อมเป็นพิษ โดยพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งปล่อยไม่ได้รับผลกระทบ
ปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเพิ่มความถี่และความรุนแรงในการเกิดพิบัติภัยทางธรรมชาติ (Extreme weather) แต่สภาวะดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ ผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบก็ยังรู้สึกเฉยๆ เข้าสุภาษิตที่ว่าไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา
ดังนั้นการให้ความรู้และความเข้าใจ ยังไม่แตะสิ่งที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลง เป็นแค่ผิวๆ แต่ก็ไม่สามารถขาดได้ เพราะเป็นขั้นตอนพื้นฐานหรือเป็นจุดเริ่มต้นของเปลี่ยนแปลง เหมือนผลไม้ต้องมีเปลือกเพื่อลดการคายน้ำ และการหายใจแต่เมื่อให้ความรู้และทำให้เกิดความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายแล้วสิ่ง ที่ต้องทำต่อมาคือ ทำให้เขาเหล่านั้นเกิดความตระหนัก แล้วอะไรละ คือความตระหนัก
จากการเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปี 2542ได้ความว่า ตระหนัก (กิริยา) คือ รู้ประจักษ์ชัด รู้ชัดเจน นั้นคือการรู้อย่างแจ่มแจ้งถึงแก่น ของสิ่งที่เกิดและลักษณะที่เป็น หรือรู้ในเชิงโครงสร้าง แต่เมื่อรู้ลึกรู้จริงถึงขนาดนี้ แล้วทำไมไม่ทำ ทำยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ตอบท่านผู้อ่านได้คำเดียวเลยว่า คนเหล่านั้นขาดแรงจูงใจ แล้วแรงจูงใจที่ต้องการนี้จะได้มายังไง หรือเกิดขึ้นจากอะไร โดยทั่วไปแรงจูงใจนั้นมี 2 ประเภทตามการแบ่งของผู้เขียน ที่พบได้ทั่วไปและมีอยู่มากมายคือคือ กฎหมายอย่าพึ่งแปลกใจ เพราะแรงจูงใจที่เกิดขึ้นนี้แสดงออกมาในรูปแบบของการบังคับใช้กฎหมาย (Laws Enforcement) เช่น กฎหมายที่พึ่งคลอดมาเมื่อ 1 สิงหา ปี 52 จับและปรับคนที่ฝ่าฝืนไม่ข้ามถนนตรงทางม้าลาย การลงโทษดังกล่าวนี้เองคือการสร้างแรงจูงใจไม่ให้ เกิดการกระทำผิดขึ้น แต่ก็อย่างที่รู้แรงจูงใจนี้จะได้ผลกับพวกที่เคยโดนจับ หรือได้ผลเฉพาะในพื้นที่ซึ่งมีการบังคับใช้กฎหมายคุมเข้ม เมื่อคนไม่เห็นตำรวจก็ยังคงข้ามถนนตามสะดวกอย่างเคย
ฉะนั้นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นไม่ทำให้เกิดความสมบูรณ์ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่แรงจูงใจแบบที่ 2 ที่จะพูดถึงนี้คือ ทางออกหรือเป็นจุดผ่อนแรง (leverage point) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสัมบูรณ์ นั้นคือแรงจูงใจที่เกิดขึ้นจากจิตใต้สำนึกของเรา (Unconscious Mind) สั่งหรือบอกให้ทำ ในรูปแบบของสัญชาตญาณ (Instinct)
หลายท่านที่กำลังอ่านอยู่คงคิดในใจว่า แล้วมันจะเป็นไปได้ไงยากแต่ท่านอย่าลืมนะครับว่าตัวท่านเองเคยมีแรงจูงใจชนิดนี้เกิดขึ้นแล้วกับ ชีวิตท่านเอง ลองนึกดูดีๆ อาจจะนานมาแล้ว หรือพึ่งจะเกิดขึ้น ถ้ายังนึกไม่ออกจะบอกใบ้ให้สักนิด การที่ท่านทำอะไรโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน อยากจะทำให้เขามีความสุข ทำทุกอย่างให้เขาประทับใจ ถูกต้องครับ แรงจูงใจที่เกิดขึ้นจากการพึงพอใจใครสักคนและต้องการทำความรู้จักเพื่อสาน ความสัมพันธ์ต่อไปให้เจริญงอกงามและผลิดอกออกผลเป็นความรัก
ความรู้สึก ในตอนนั้นเองคือลักษณะการเกิดแรงจูงใจที่ผมพูดถึง ลองนึกตามดู อาจจะเคยเกิดขึ้นในใจของใครหลายคน "ทำไมต้องทำขนาดนี้ด้วย " ก็เพราะผม...คุณ ไม่เฉพาะแรงจูงใจที่เกิดจากความรักในแบบชายหนุ่มหญิงสาว แต่ในลักษณะของ พ่อแม่ หรือเครือญาติ ที่รักลูกหลานอย่างหมดหัวใจและไม่เคยหวังสิ่งใดตอบแทน แรงจูงใจชนิดนี้เอง ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์
และสุดท้ายนี้ ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์จำเป็นต้องมีภาวะผู้นำ(leadership) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) มองสภาพปัญหาที่เกิดอย่างองค์รวม (Holistic) และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ลงมือปฏิบัติจริง หรือทำให้เห็นและทำให้ได้เหมือนอย่างที่พูดและการไปเปลี่ยนแปลงใครต้องทำโดย ใช้กุศโลบายและความแยบคาย พูดง่ายๆก็คือต้องไม่ทำให้น้ำกระเพื่อม
โฆษณา