18 ส.ค. 2021 เวลา 13:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ชะตากรรม ‘แร่หายาก’ ในอัฟกานิสถาน ภายใต้น้ำมือตาลีบัน
7
เมื่อการยึดอัฟกานิสถานของกลุ่มตาลีบัน ไม่ได้หมายถึงเพียงการครอบครองอำนาจทางการเมืองเท่านั้น เพราะถ้ามองในแง่มุมทางธุรกิจและเศรษฐกิจ ตาลีบันกำลังครอบครองแหล่งแร่ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก
1
แหล่งแร่ของอัฟกานิสถานใหญ่แค่ไหน?
2
ในปี 2010 กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาเคยประเมินว่า อัฟกานิสถานมีแร่ที่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้มหาศาล ประเมินเป็นมูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 33 ล้านล้านบาท (เทียบได้กับงบประมาณแผ่นดินไทย 10 ปีรวมกัน)
1
คำถามคือ ชะตากรรมของอุตสาหกรรมแร่ในอัฟกานิสถานต่อจากนี้ภายใต้น้ำมือของตาลีบันจะเป็นอย่างไร
TODAYBizview สรุปประเด็นมาให้อ่าน จบ ครบ ในโพสต์เดียว
4
1) อัฟกานิสถานคือหนึ่งในประเทศที่มีแร่มหาศาล สำนักงานธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา (The United States Geological Survey หรือ USGS) เคยทำการสำรวจแร่ในอัฟกานิสถาน พบว่า มีแร่เหล็กสูงถึง 2 พันล้านตัน มีแร่ทองแดงไม่น้อยกว่า 60 ล้านตัน และมีแร่หายากไม่น้อยกว่า 1.4 ล้านตัน
4
2) นอกจากแร่ทั่วไปแล้ว ประเด็นสำคัญคือ ‘แร่หายาก’ เพราะนี่คือวัตถุดิบสำคัญในการผลิตชิป ผลิตคอมพิวเตอร์ และผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีไฮเทคจำนวนมากที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
2
ยกตัวอย่างหนึ่งในแร่หายากที่เราได้ยินชื่อกันบ่อยครั้ง เช่น ‘ลิเธียม’ แร่ชนิดนี้เป็นส่วนสำคัญตั้งแต่การผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงการผลิตเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน (renewable energy) ซึ่งสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลกในอนาคต
 
3) “ซาอุดีอาระเบียแห่งลิเธียม” คือชื่อที่สหรัฐอเมริกาใช้เรียกอัฟกานิสถานมาตั้งแต่ 10 กว่าปีที่แล้ว
5
อัฟกานิสถานมีกระทรวงที่ดูแลเรื่องเหมืองแร่โดยเฉพาะชื่อว่า กระทรวงเหมืองแร่และปิโตรเลียม (Ministry of Mines & Petroleum)
1
มีการคาดการณ์ในปี 2020 ว่า อุตสาหกรรมแร่หายาก (Rare Earth Elements) ในอัฟกานิสถานปัจจุบันอาจมีมูลค่าสูงถึง 1-3 ล้านล้านดอลลาร์ (เทียบได้กับงบประมาณแผ่นดินไทย 10-30 ปีรวมกัน)
3
4) ประเด็นคือแม้ว่าอัฟกานิสถานจะมีแร่และแร่หายากจำนวนมาก แต่ความไม่มั่นคงทางการเมืองในช่วง 40 กว่าปีที่ผ่านมา ทำให้แร่จำนวนมากในประเทศยังไม่ได้ถูกนำมาใช้
2
นับตั้งแต่ยุคที่สหภาพโซเวียตเข้ามาสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอัฟกานิสถาน ที่สุดท้ายต้องถอยออกไป หรือช่วงหลังที่กินเวลารวมนานกว่า 20 ปี สหรัฐอเมริกามีอำนาจในอัฟกานิสถาน แต่ก็ไม่สามารถนำเอาแร่เหล่านี้มาปั้นเป็นเศรษฐกิจใหม่ได้โดยง่าย
5
เพราะอัฟกานิสถานมีปัญหาหลายชั้น ไม่ว่าจะรัฐบาลที่ไร้เสถียรภาพ การทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกระดับ และแถมยังมีกลุ่มตาลีบันอีก
1
5) แต่จุดที่นักวิเคราะห์เริ่มจับตามองอุตสาหกรรมแร่ในอัฟกานิสถานอีกครั้ง คือเมื่อกลุ่มตาลีบันยึดครองอัฟกานิสถานได้สำเร็จในกลางเดือนสิงหาคมปี 2021
1
รู้หรือไม่ว่า หลังการเข้ายึดของกลุ่มตาลีบัน ในไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนก็ออกมาแสดงท่าทีและจุดยืนว่า จะไม่เข้าแทรกแซงกิจการภายใน พร้อมบอกว่า “จีนพร้อมที่จะร่วมมือกับอัฟกานิสถานอย่างเป็นมิตร”
5
6) Shamaila Khan ผู้อำนวยการและนักวิเคราะห์จาก AllianceBernstein บริษัทด้านการจัดการและการลงทุนระดับโลก มองว่า ท่าทีของจีนที่แสดงจุดยืนเป็นมิตรกับตาลีบันเป็นเพราะความต้องการในผลประโยชน์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแร่ สิ่งนี้จะทำให้จีนเพิ่มอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจในโลกได้อีกมาก
 
ข้อสังเกตนี้มีเหตุผล เพราะในแง่สถิติ ปัจจุบันจีนคือผู้นำโลกในด้านอุตสาหกรรมแร่หายาก แค่จีนประเทศเดียวครอบครองไปแล้วกว่า 35% หรือ 1 ใน 3 ของโลก เพราะฉะนั้น ถ้าได้แร่หายากจากอัฟกานิสถานเพิ่มเข้าไปอีก ก็จะผูกขาดได้มากกว่าเดิม
8
และแน่นอนว่า เราได้เห็นกันแล้วว่าในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จีนได้ใช้แร่หายากเป็นแต้มต่อกับสหรัฐอเมริกาในศึกสงครามการค้า สร้างความปั่นป่วนให้กับซัพพลายเชนอยู่ไม่น้อย เพราะสหรัฐอเมริกาเองก็ต้องพึ่งพาแร่หายากจากจีนสูงถึง 80%
4
7) ข้อเสนอของนักวิเคราะห์สายกังวลอิทธิพลจีนในอัฟกานิสถาน จึงบอกว่า ต้องการให้ประชาคมโลกหันมากดดันจีนในกรณีนี้ เพราะการที่จีนจะเข้ามารวบผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมแร่หายากในอัฟกานิสถานจะส่งผลเสียกับเศรษฐกิจโลกอย่างมาก
6
8 ) และก็ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่โลกนี้ไม่ได้มีนักวิเคราะห์แค่สายเดียว นักวิเคราะห์อีกสายบอกว่า “อย่าเพิ่งตกใจ” เพราะนี่ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร และจีนก็ไม่ได้เพิ่งมาสานสัมพันธ์กับตาลีบันหลังยึดอำนาจได้ในครั้งนี้
2
ก่อนหน้านี้ จีนมีความสัมพันธ์อันดีกับทั้งรัฐบาลอัฟกานิสถานและกลุ่มตาลีบันเสมอมา และพูดให้ถึงที่สุด ทั้งสองกลุ่มก็รู้ดีกว่า หากใครชนะและขึ้นมามีอำนาจได้ จีนก็พร้อมจะยืนเคียงข้างอยู่แล้ว
 
9) นักวิเคราะห์สายอย่าเพิ่งตกใจ อธิบายว่า ถ้าย้อนไปดูในอดีต จะพบว่าทั้งทางการจีนและนักลงทุนจีนสนใจอัฟกานิสถานมาหลายสิบปีแล้ว
4
อย่างในปี 2007 บริษัทเหมืองแร่ที่มีรัฐบาลจีนเป็นเจ้าของอย่าง Metallurgical Corporation of China กับ Jiangxi Copper ได้สัมปทานลงทุนกว่า 3 พันล้านดอลลาร์ เพื่อสำรวจเหมืองในเมส ไอนัค (Mes Aynak) ซึ่งห่างจากเมืองหลวงประมาณ 30 กิโลเมตร แหล่งทองแดงที่ใหญ่อันดับ 2 ของโลก
4
นอกจากนั้นในปี 2011 บริษัท CNPC บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของจีนก็ได้สัมปทานขุดเจาะน้ำมันในแหล่งน้ำมันทางตอนเหนือของอัฟกานิสถาน
4
10) แต่ไม่นานหลังจากนั้น ความร่วมมือใน Big Project ทั้งสองนี้ก็ล่มสลาย ปัญหาหลักๆ มาจากโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่พร้อม ทำให้ความฝันที่จีนจะมาช่วยสร้างอุตสาหกรรมน้ำมัน โรงไฟฟ้า หรือกระทั่งทางรถไฟ ก็ต้องพับไป
2
สำหรับจีน คงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่จะสนใจอุตสาหกรรมแร่ในอัฟกานิสถาน เพราะมีมูลค่ามหาศาล แต่อย่าลืมว่า ประสบการณ์ความล้มเหลวจาก Big Project ในอดีตก็น่าจะทำให้จีนเข็ดขยาด เสียหายหลายพันล้านแถมผลิตอะไรไม่ได้เป็นชิ้นเป็นอัน และไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องลงทุนมหาศาลในอัฟกานิสถานขนาดนั้น
3
11) อย่างไรก็ตาม คงต้องจับตาดูความเคลื่อนไหวของจีนกันต่อไป แต่เอาเข้าจริง ไม่ว่าจีนจะเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นหรือไม่ เศรษฐกิจของอัฟกานิสถานภายใต้ตาลีบัน ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอยู่แล้ว
9
ลำพังเพียงแค่การจัดการเรื่องพื้นฐาน ทำให้ผู้คนมีชีวิตประจำวันที่ดี เข้าถึงสาธารณูปโภคยังคงท้าทาย เป็นผลมาจากโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ดีตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา
สุดท้ายแล้ว ทั้งหมดนี้คือคำถามถึง ‘อนาคต’ ทางเศรษฐกิจและชีวิตของผู้คนในอัฟกานิสถานภายใต้ยุคตาลีบัน
2
อ้างอิง
ทำความเข้าใจเรื่อง ‘แร่หายาก’ หรือ ‘แร่แรร์เอิร์ธ’ พร้อมด้วยมุมมองเศรษฐกิจโลกได้ใน Get it now by workpointTODAY https://youtu.be/fksxolMEtms

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา