18 ส.ค. 2021 เวลา 15:46 • ข่าว
‘กลุ่มตาลีบัน’ ร่ำรวยขนาดไหน
ระบบเศรษฐกิจ และรายได้ของกลุ่มนี้มาจากอะไร
9
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาเรื่องราวของ ‘ตาลีบัน’ ดูจะครองพื้นที่ของสื่อทั่วโลกที่ให้ความสนใจนับจากวันที่สามารถยึดกรุงคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสถานได้สำเร็จ ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนเคยได้ยินชื่อของกลุ่มติดอาวุธ ที่เคยเป็นอดีตรัฐบาลของอัฟกานิสถานในช่วงก่อนปี 2001 และถูกโค่นล้มลงโดนกองทัพสหรัฐฯ เนื่องจากเชื่อว่าตาลีบันมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้ายเลื่องชื่ออย่าง ‘อัลกออิดะฮ์’ ที่เป็นผู้ก่อวินาศเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544
15
จากการเป็นรัฐบาลกลายสภาพสู่การเป็นกองกำลังติดอาวุธยาวนานถึง 20 ปี และมีความพยายามที่จะต่อสู้กับทองทัพสหรัฐและชาติพันธมิตรมาอย่างต่อเนื่อง และไม่เคยพ่ายแพ้อย่างราบคาบสักครั้งแม้จะสูญเสียกองกำลังและอาวุธยุทโธปกรณ์ไปมากมายมหาศาลก็ตาม
8
หลายยคนคิดว่าการเป็นกองกำลังนอกกฎหมายที่อยู่ในพื้นที่แสนทุรกันดาร อาจจะไม่ได้มีความมั่งคั่งร่ำรวยอะไร แต่ไม่ใช่กับตาลีบัน ซึ่งเป็นหนึ่งในกองกำลังติดอาวุธที่เรียกได้ว่าร่ำรวยที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลก โดยสำนักข่าวต่างประเทศได้มีการรวบรวมข้อมูลของรายได้ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของตาลีบันเอาไว้อย่างน่าสนใจ
13
🔵 ตาลีบันร่ำรวยขนาดไหน
กลุ่มตาลีบัน ซึ่งเป็นอดีตรัฐบาลของอัฟกานิสถานในช่วงปี พ.ศ. 2539 - 2544 โดยมีนโยบายการปกครองที่บังคับใช้กฎหมายชารีอะฮ์ ซึ่งเป็นกฎหมายตามหลักศาสนาอิสลามอย่างเข้มงวด แต่พอหลังจากถูกโค่นล้มอำนาจ ตาลีบันไม่ได้สิ้นไร้ไม้ตอก หรือมีความลำบากข้นแค้นใดๆ แต่ยังมีกระแสเงินสดต่างๆ เข้ามามายหลากหลายช่องทาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินจากธุรกิจสีเทาและดำ
16
ข้อมูลจากสำนักข่าว BBC ที่ได้มีการสัมภาษณ์กลุ่มตาลีบันระบุว่า กลุ่มนี้ใช้เครือข่ายการเงินและระบบภาษี ซึ่งเทียบได้กับค่าคุ้มครอง ไม่ก็ค่าไถ่ ซึ่งมีซับซ้อนอย่างมากเพื่อนำมาใช้จ่ายค่าปฏิบัติการของกลุ่ม
14
รายได้ประจำปีของกลุ่มตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไปอยู่ที่ประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ (13,320 ล้านบาท) แต่เชื่อว่ารายได้รวมจริงๆ อาจสูงกว่านี้อย่างมีนัยสำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาและอาจสูงถึง 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (49,950 ล้านบาท)
12
รัฐบาลอัฟกานิสถานและสหรัฐอเมริกาพยายามจำกัดเครือข่ายเหล่านี้ เมื่อประมาณหนึ่งปีที่แล้ว กองทัพสหรัฐฯ ได้เริ่มใช้กลยุทธ์ใหม่ในการทิ้งระเบิดทำลายโรงงานผลิตยาเสพติดซึ่งนับเป็นรายหลักที่มีสัดส่วนถึง 26% จากรายได้ทั้งหมดของกลุ่ม
15
อย่างไรก็ตาม รายได้ของตอลิบานไม่ได้มาจากการค้ายาเสพติดสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว องค์การสหประชาชาติรายงานว่า ในปี 2555 การปลูกและผลิตฝิ่นในอัฟกานิสถานก็เป็นแหล่งรายได้หลักของตาลีบันเช่นกัน
12
🔵 อัฟกานิสถาน แหล่งปลูกฝิ่นรายใหญ่ที่สุดของโลก
8
ด้วยมูลค่าทางเศรษฐกิจในแต่ละปีโดยประมาณ 1,500 – 3,000 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (49,950 – 99,900 ล้านบาท) ส่วนใหญ่แล้วรายได้หลักมาจากการค้าฝิ่น ซึ่งถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่และสร้างมูลค่าอย่างมหาศาล โดยเฮโรอีนที่ถูกผลิตขึ้นโดยตาลีบัน นับเป็นสัดส่วนที่ครองมูลค่าการค้าส่วนใหญ่ของโลก
21
กลุ่มตาลีบันยังมีรายได้มาจากการเก็บภาษี ในพื้นที่ที่กลุ่มนี้ปกครอง โดยเฉพาะการเก็บภาษีการเพาะปลูก 10% จากเกษตรกรผู้ปลูกฝิ่น คิดเป็นมูลค่าราย 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (5,328 ล้านบาท)
11
นอกจากนี้ยังมีการเก็บภาษีจากห้องปฏิบัติแปรรูปฝิ่นเป็นเฮโรอีน รวมทั้งการเก็บรายได้ภาษีการค้าจากพ่อค้ายาเสพติดอีกด้วย
9
ซึ่งจากการประเมินส่วนแบ่งประจำปีของตาลีบันที่มาจากเศรษฐกิจยาเสพติดผิดกฎหมาย สร้างรายได้ให้กับกลุ่มนี้ราว 100-400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3,300 – 13,320 ล้านบาท) เลยทีเดียว
6
แน่นอนว่ากองทัพสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรรู้ดีว่ารายได้ของกลุ่มนี้มีสัดส่วนมาจากยาเสพติด ทำให้เป็นเป้าหมายของการโจมตีเพื่อทำลายท่อน้ำเลี้ยงดังกล่าว
6
กองทัพสหรัฐระบุว่า เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 ได้มีการโจมตีเพื่อทำลายห้องปฏิบัติการยาเสพติดประมาณ 200 แห่ง จากทั้งหมดประมาณ 400 - 500 แห่งของตาลีบันในอัฟกานิสถาน ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งอยู่ในจังหวัดเฮลมันด์ทางตอนใต้ของประเทศ
5
แต่ถึงอย่างไรแม้ว่าห้องปฏิบัติการจะถูกทำลาย แต่ก็มีก็ถูกสร้างขึ้นมาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว
2
สมัยที่ตาลีบันเป็นรัฐบาลมักแสดงตนชัดเจนว่าปฏิเสธการมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมยาเสพติด และภาคภูมิใจในการห้ามปลูกฝิ่นในช่วงที่ปกครองประเทศในปี 2543 แต่เมื่อหลังจากกลายสภาพเป็นกองกำลังติดอาวุธ ตาลีบันได้ทิ้งความภาคภูมิใจนั้น แล้วหากินกับยาเสพติดอย่างเต็มรูปแบบ
16
🔵 รายได้จากการเก็บค่าคุ้มครอง ค่าบริการสาธารณูปโภค
3
เศรษฐกิจของตาลีบันมีสัดส่วนรายได้ที่ขยายไปไกลกว่าการเก็บภาษีธุรกิจฝิ่น ซึ่งมีการเก็บภาษีอื่นๆ ในพื้นที่ที่ตัวเองปกครอง โดยในจดหมายเปิดผนึกที่ถูกเปิดเผยเมื่อต้นปีนี้ระบุว่า ตาลีบันมีคณะกรรมาธิการด้านการเงิน ได้เตือนพ่อค้าชาวอัฟกันที่ขนส่งสินค้าผ่านเขตที่กลุ่มนี้ปกครอง จะต้องจ่ายภาษีเมื่อเดินทางผ่านพื้นที่ควบคุม
9
นอกจากนี้ยังดึงรายได้จากธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น ไฟฟ้า การให้บริการโทรคมนาคม และเครือข่ายโทรศัพท์มือถืออีกด้วย
5
มีรายงานว่ากลุ่มตอลิบานมีรายได้มากกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (66 ล้านบาท) ต่อปี จากการเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้ไฟฟ้าในส่วนต่างๆ ของประเทศ
5
นอกจากนี้ยังมีรายได้ที่เกิดจากการบุกยึดสถานที่ต่างๆ เช่น การยึดฐานทัพทหารหรือศูนย์กลางด้านความมั่นคงของเมืองต่าง ก็จะมีการยึดอาวุธจำนวนมาก รวมทั้งรถยนต์และยานเกราะ เพื่อใช้ในกิจการของกองกำลัง และส่วนหนึ่งก็จะถูกขายออกไปให้กับกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่าย
8
🔵 เหมืองแร่ แหล่งรายได้ที่สำคัญไม่แพ้ยาเสพติด
ตาลีบันไม่ได้มีรายได้มาจากธุรกิจสีดำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีอีกหนึ่งรายได้หลักที่สร้างเม็ดเงินให้กับกลุ่มนี้อย่างมาศาลเช่นกันซึ่งก็คือการทำเหมืองแร่
5
อัฟกานิสถาน นับเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องขอแร่ธาตุสำคัญรวมทั้งอัญมณีล้ำค่า ซึ่งฝังอยู่ใต้ผืนทะเลทรายและเทือกเขาอันสลับซับซ้อน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อันเป็นผลจากสงครามที่ดำเนินมายาวนานหลายปี
8
อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในอัฟกานิสถานมีมูลค่าอย่างน้อย 1,00 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (33,300 ล้านบาท) โดยกลุ่มตอลิบานได้เข้าควบคุมสถานที่ทำเหมืองและรีดไถเงินจากการทำเหมืองที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง
15
ในรายงานประจำปี 2014 ทีมสนับสนุนและติดตามการคว่ำบาตรของ UN กล่าวว่า กลุ่มตอลิบานมีรายได้มากกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (330 ล้านบาท) ต่อปีจากการทำเหมืองที่ผิดกฎหมาย 25 - 30 แห่งในจังหวัดเฮลมันด์ทางใต้
3
ผู้ว่าราชการจังหวัดนันการ์ฮาร์ ทางตะวันออกของประเทศ ได้ให้ข้อมูลว่า ว่าประมาณครึ่งหนึ่งของรายได้จากการทำเหมืองของกลุ่มตาลีบันเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินมากถึง 500 ดอลลาร์สหรัฐ (16,650 บาท) เพื่อให้รถบรรทุกขนส่งแร่หลายร้อยคันที่ออกจากจังหวัดทุกวัน
7
🔵 ทุนต่างชาติหนุนหลัง
1
เจ้าหน้าที่อัฟกานิสถานและสหรัฐฯ หลายคนกล่าวหามานานแล้วว่า รัฐบาลประเทศต่างๆ หลายแห่ง ที่ใกล้ชิดกับอัฟกานิสถาน ทั้งปากีสถาน อิหร่าน และรัสเซีย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กลุ่มตาลีบัน ซึ่งส่วนใหญ่ให้การปฏิบัติปฏิเสธ
นอกจากนี้ประเทศในอ่าวเปอร์เซียอื่นๆ ทั้งซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ ก็ถือเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนเงินรายใหญ่ที่สุดเช่นกัน
10
แม้ว่าจะไม่สามารถประเมินได้ว่าแหล่งเงินทุนเหล่านี้ให้สัดส่วนรายได้ของตาลีบันมากน้อยขนาดไหน แต่จากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ตาลีบันอาจได้รับเงินสนับสนุนจากต่างชาติสูงถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (16,650 ล้านบาท) ต่อปี
27
นอกจากนี้รายงานลับของ CIA ที่ประเมินไว้เมื่อปี 2008 ระบุว่า ตาลีบันได้รับเงินสนับสนุนจากต่างประเทศราว 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐ(3,529 ล้านบาท) โดยเฉพาะจากประเทศรอบอ่าวเปอร์เซีย
7
ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลยว่าทำไมกลุ่มตาลีบันถึงสามารถที่จะยืนหยัดและต่อกรกับกองทัพของสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรนาโต้ได้อย่างยาวนาน และไม่เคยอ่อนแอลงเลย เพราะตาลีบันมีระบบเศรษฐกิจและการหารายได้ที่แข็งแกร่ง ซึ่งนับเป็นกลุ่มติดอาวุธที่ร่ำรวยที่สุดของโลก
11
แหล่งอ้างอิง
8
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
โฆษณา