Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายแรงงาน
•
ติดตาม
21 ส.ค. 2021 เวลา 22:48 • ธุรกิจ
กฎหมายให้กำหนดเวลาทำงานเกินวันละ ๘ ชั่วโมง โดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้
บ่อยครั้งที่มีคนถามว่านายจ้างให้ทำงานเกินวันละ ๘ ชั่วโมง จะได้รับค่าล่วงเวลาหรือไม่
หากนายจ้างกำหนดเวลาทำงานปกติตามมาตรา ๒๓ กำหนด คือทำงานวันละ ๘ ชั่วโมง การทำงานเกิน ๘ ชั่วโมง ก็จะได้ค่าล่วงเวลา แต่ถ้านายจ้างประกาศเวลาทำงานโดยอาศัยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ ประกอบฉบับที่ ๑๓ เป็นเวลาทำงานก็อาจไม่ได้ค่าล่วงเวลา กล่าวคือ
๑) กฎกระทรวงกำหนดให้นายจ้างและลูกจ้าง “ตกลงกัน” กำหนดเวลาทำงานปกติ โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของการทำงาน แต่วันหนึ่งต้องไม่เกิน ๑๒ ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน ๔๘ ชั่วโมง
๒) การกำหนดเวลาตามข้อ ๑) กฎหมายให้ทำได้เฉพาะงานดังต่อไปนี้
ก) งานที่ใช้วิชาชีพ
ข)วิชาการ
ค) งานด้านบริหารและจัดการ
ง)งานเสมียน
จ)พนักงาน
ช)งานอาชีพเกี่ยวกับการค้า
ซ) งานอาชีพด้านบริการ
ฌ) งานเกี่ยวกับการผลิต
ณ) งานที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าว
ปัญหาว่านายจ้างเป็นบริษัทผลิตเหล็ก เปลี่ยนเวลาทำงานจากเดิมวันละ ๘ ชั่วโมง เป็นให้ลูกจ้างทำงานตั้งแต่ ๐๘.๐๐ น.- ๑๗.๔๐ น. พัก ๑ ชั่วโมง เวลา ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. วันหยุดประจำสัปดาห์คือวันเสาร์ และวันอาทิตย์ เช่นนี้ นายจ้างจะทำได้หรือไม่ แยกพิจารณาดังนี้
๑) กรณีนี้กิจการผลิตเหล็ก จึงเป็นกิจการที่เกี่ยวกับการผลิต นายจ้างสามารถเปลี่ยนเวลาทำงานเกินวันละ ๘ ชั่วโมงได้ เพราะกฎกระทรวงให้สามารถประกาศให้ทำงานเกินวันละ ๘ ชม. แต่ไม่เกินวันละ ๑๒ ชม. และรวมแล้วสัปดาห์หนึ่งไม่เกิน ๔๘ ชม. ได้ (กรณีนี้คำนวณแล้วทำงาน ๕ วัน ๆ ละ ๘.๔๐ ชม. ไม่เกิน ๔๘ ชม.
๒) แต่การเปลี่ยนเวลาทำงานจากวันละ ๘ ชม. (อ้างอิงมาตรา ๒๓) ไปใช้กฎกระทรวงจะต้องทำ “ข้อตกลง” กับลูกจ้าง จะเปลี่ยนโดยพลการไม่ได้
๓) การทำงานส่วนที่เกินจาก ๘ ชม. คือ ๔๐ นาที ลูกจ้างจะไม่มีสิทธิได้ค่าล่วงเวลา เพราะเป็นการประกาศ “เวลาทำงานปกติ” โดยอ้างอิงกฎกระทรวง
๔) กรณีนี้นายจ้างต้องทำการแก้ไขข้อบังคับในการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับวัน เวลาทำงานที่ประกาศใหม่ด้วย
ดังนั้น คำถามที่ว่าหากทำงานล่วงเวลาจะได้ค่าล่วงเวลาเสมอไปหรือไม่ ก็ต้องย้อนกลับไปดูว่านายจ้างได้ประกาศ หรือข้อบังคับในการทำงานว่าเวลาทำงานวันละ ๘ ชั่วโมงตามมาตรา ๒๓ หรือไม่ หรือว่าประกาศโดยอ้างอิงกฎกระทรวง หากอิงกฎกระทรวงเวลาทำงานปกติก็อาจไม่ใช่ ๘ ชั่วโมง การทำงานเกิน ๘ ชั่วโมงก็อาจไม่ใช่การทำงานล่วงเวลา
ที่มา: กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๓ และข้อหารือกองนิติการที่ รง ๐๕๐๕/๒๐๕๙ ลงวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๒
-ขอขอบพระคุณ "มายโฮมส์โฮสเทล" ที่ช่วยสนับสนุน ไปอุบลหาที่พักราคาถูกติดต่อได้เลย
https://www.facebook.com/My-Home-Hostel-マイホーム-ホステル-มายโฮม-โฮสเทล-103334165016208/
#กฎหมายแรงงาน #กฎหมายกับการบริหารงานบุคคล #เพจกฎหมายแรงงาน #เพจกฎหมายเพื่อผู้ประกอบการ #กฎหมายแรงงาน
1 บันทึก
2
3
1
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย