21 ส.ค. 2021 เวลา 01:24 • ไลฟ์สไตล์
คนเราจะเริ่มนึกถึง ธรรมะ เมื่อไร
เคยได้ยิน คนพูดว่า "คนนี้เป็นคนธรรมะ ธัมโม ดีนะ" มั้ยครับ
ถ้าเป็นสมัยก่อนนั้น การได้รับคำชมแบบนี้ น่าจะไปที่ชื่นชอบสำหรับ คนทั่วไปกันมากเลย ถ้าเห็นคนที่ ธรรมะ ธัมโม
แต่สมัยนี้อาจจะไม่แน่นัก เด็กๆ คนหนุ่มสาวอาจจะมองว่า จะรีบไปไหน ยังไม่แก่เลย
ถ้าเป็นผู้หญิง อาจถูกแซว ไปบ้างว่า แม่ชี บ้างอะไรบ้าง
ผมเชื่อว่าหลายคน มองว่า ธรรมะ เป็นเรื่องไกลตัว เรายังหนุ่มสาว เรายังไม่ถึงเวลา มองว่า ธรรมะ หมายถึงการเข้าวัด ทำสมาธิ สวดมนต์ พูดจาภาษาธรรม อะไรแบบนั้น...
จริงอยู่สิ่งที่ผมกล่าว ก็เป็นส่วนหนึ่งแหละ การปฏิบัติธรรม คือแนวทางในการศึกษาธรรม
การเป็นนักปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งที่ดีแน่นอน แต่เราในฐานะคาราวาส มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ไม่สามารถที่จะทุ่มเวลาไปปลีกวิเวก ค้นหาธรรม
การปฎิบัติธรรม จึงเป็นไปตามโอกาสและเวลาของเราเอง ไม่ได้ต้องมากอะไร แต่ขอให้เกิดประโยชน์ และนำไปใช้ได้กับชีวิตประจำวัน
เราเคยเห็นมั้ย คนเข้าวัด ทำบุญ นั่งสมาธิฟังเทศน์ฟังธรรม ใช้เวลามากมายในการปฏิบัติ หลังออกจากวัด ขับรถ โดนรถแซงปาดหน้า ก็โมโห หงุดหงิดหรือถึงขั้นท้าตีท้าต่อย...
เมื่อมีคนทำไม่ดีกับเรา นินทาว่าร้าย ต่อว่าเสียดสี หรืออะไรก็ตามที่กระทบจิตใจเรา เราคิดอย่างไร รับมืออย่างไร
หรือพบปัญหา อุปสรรคเข้ามาในชีวิต เรามองมันอย่างไร
เมื่อได้ยินสิ่งที่เราไม่พอใจ ไม่เห็นด้วย กระทบตัวตน เราทำอย่างไร
นั่นแหละ สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่ บอกว่าเรา มีธรรมะ แค่ไหน ไม่ใช่แค่เวลาที่อยู่ในวัด เท่านั้น
เราปฏิบัติมากเท่าไร แต่ออกมาแล้วก็ยังเหมือนเดิม ก็เรียกได้ว่า ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย
เราเคยเห็นมั้ยละครับ คนที่มีเรื่องทุกข์ใจ ชอบที่จะไปสงบจิตสงบใจ ไปปฏิบัติ เข้าคอร์สมาธิ 3 วัน 7 วันปลีกตัวออกไปหาที่สงบ
ไม่ใช่ไม่ดีครับ ดีกว่าไม่ได้ทำ แน่
แต่จะดีกว่าถ้าเราออกมาแล้ว เราเปลี่ยนแปลงตัวเองได้จริงๆ
้ย้อนมาคำถามที่ว่า เราจะเริ่มนึกถึง ธรรมะ เมื่อไร ก็คือ
💡 1. เมื่อเราสูงอายุ อาจจะ 50 หรือ 60 ขึ้นไป เราเริ่มเห็นความเจ็บป่วยของพ่อเรา แม่เรา หรือคนอื่นๆ รอบตัว ตลอดจนการสูญเสียต่างๆ
💡 2. เมื่อเราเจอปัญหาชีวิตอย่างรุนแรงกับตัวเอง หนักมากพอให้เราต้องควบคุมจิตใจตนเองให้เข้มแข็ง
แต่จริงๆแล้ว หากเรายังไม่ได้มีเงื่อนไข ข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งสองข้อนี้ เราสามารถให้ธรรมะ กลมกลืนไปกับการใช้ชีวิตเราได้ตั้งแต่เป็นหนุ่มสาว
คือ จิตใจเรามีธรรมะได้โดยไม่จำเป็นพูดธรรมะเป็น การรู้ธรรมะกับจิตใจที่มีธรรมะ มันคนละเรื่องกัน
1
เพราะในชีวิตเรา มีบททดสอบธรรมะของเราทุกวัน ไม่ต้องรอให้แก่
คงไม่ต้องบอกนะครับว่า เราเจออะไรบ้างในแต่ละวัน
ธรรมะมีอยู่ตลอดเวลา ธรรมะคือการสำรวจตรวจสอบตนเอง จิตใจตนเอง ในระหว่างวัน
หลายคน เมื่อนึกถึงการเข้าใจธรรมะ อาจจะนึกว่า เป็นเรื่องต้องฟังอะไรที่ยากๆ น่าเบื่อ ต้องตีความ ต้องไม่สะดวกสบาย อาจจะสบายเพราะฟังแล้วจะหลับ
แนวคิดเรื่องเหล่านี้ เราก็รู้กันอยู่แล้ว แต่เราก็มีอย่างอื่นที่ต้องทำก่อน ภาระการงาน ความรับผิดชอบต่างๆ มาบดบังตลอด
ในช่วงเวลาว่างระหว่างวันก็ถูกใช้ไปกับการทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้าที่สร้างความสุขความผ่อนคลายได้ทันที วันแล้ววันเล่า ผ่านไป
วันนี้ผมมาชวนให้ ฉุกคิด ซักแวบนึง
ในสถาณการณ์ที่เป็นกันอยู่ในปัจจุบัน ในชีวิตที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยเจอ นอกจากจะต้องระวังรักษาร่างกายเราให้แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันให้มากที่สุด
จิตใจเราก็เช่นกัน เราต้องมีภูมิคุ้มกันไม่ต่างกันเลย ยิ่งสถาณการณ์ยืดออกไปเท่าไร ยิ่งบีบคั้นเราในการหาเลี้ยงชีพเรามากขึ้นเรื่อยๆ
ภูมิคุ้มกันด้านจิตใจนี้เราต้องสร้างเอง ไม่มีวัคซีนเข็ม 1 เข็ม 2 เข็ม 3
มีแต่ ธรรมะ เท่านั้น
ในช่วงที่เราต้องอยู่บ้านยาวๆ ผมอยากให้ลองเข้าไปดูการพูดธรรมะ ในยุคปัจจุบัน จากคุณพศิน อินทรวงค์
จะพบว่า น่าฟังมาก เป็นเรื่องที่ฟังง่าย ไม่มีเรื่องราวที่ซับซ้อน
ผมได้ฟังคุณพศินมาระยะนึงแล้วจากยูทูป ในครั้งแรกที่เห็น ดูเวลาที่ใช้พูดในคลิปนััน 1 ชั่วโมงบ้าง 2 ชั่วโมงกว่าบ้าง
คิดว่าลองเข้าไปฟังดูซักพักนึงแล้วก็คงออกมา เพราะเห็นว่ายาวพอควร แต่เชื่อมั้ยว่า ว่าจะกดออกแล้วกดไม่ได้เลย
การพูดที่เรียบง่าย ทุกประโยคที่ท่านพูดโดนใจทุกคำ จนอยากฟังต่อให้จบ
เป็นการพูดธรรมมะที่ดูไม่เหมือนธรรมะเลย เป็นเหมือนศิลปะแห่งการใช้ชีวิต
เป็นเรื่องที่มีเข้าใจง่าย มีเหตุมีผล
ผมแปะลิงค์ไว้คลิปนึงนะครับ หรืออาจจะเข้าไป search ชื่อ พศิน อินทรวงค์ ได้ใน google ก็จะมีไว้มากมายให้ฟังกันครับ
ขอบคุณภาพ Pixabay
โฆษณา