21 ส.ค. 2021 เวลา 08:41 • สุขภาพ
❝ หากจะเลือกเครื่องผลิตออกซิเจนสักเครื่อง❞
เดิมทีเครื่องผลิตออกเจนมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่กลับมาพักรักษาตัวที่บ้าน เพื่อใช้แทนถังออกซิเจนที่ต้องคอยตรวจเช็ค และเติมออกซิเจนเมื่อใกล้หมดถัง ราคาการเติมออกซิเจนถูกกว่าราคาเครื่องผลิตออกซิเจนมาก จึงอาจทำให้นิยมใช้ถังออกซิเจนมากกว่า
ตอนนี้ถังออกซิเจนมีความต้องการสูง และขาดตลาดไปช่วงหนึ่งเลย เครื่องผลิตออกซิเจนจึงกลับมามีความต้องการสูงมากๆ
❝ หลักการทำงานแบบง่ายๆ ❞
เครื่องผลิตออกซิเจนทำหน้าที่นำอากาศภายในห้อง
(21% O2) มาผลิตออกซิเจนให้ได้ความเข้มข้น
อย่างน้อยประมาณ 93% โดยอากาศจะผ่านตัวกรองออกซิเจน Molecular Sieve ที่จะกักโมเลกุลของออกซิเจนไว้
เปอร์เซ็นต์ออกซิเจนในอากาศ
การทำงานของเครื่องผลิตออกซิเจน
❝ เลือกอย่างไร ❞
1) อัตราการไหล โดยปกติจะมีให้เลือก 3L 5L 8L 10L หรืออาจจะมากกว่านี้ ซึ่ง L หมายถึง เครื่องนั้นๆ สามารถปรับอัตราการไหลได้สูงสุด เช่น 5 ลิตร คือ ปรับอัตราการไหลสูงสุดได้ 5 ลิตรต่อนาที
ราคาจะสูงขึ้นตามอัตราการไหลที่มากขึ้นด้วย ทำให้หลายๆ คนที่ตัดสินใจซื้อตามงบประมาณอาจจะต้องเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์
เรื่องการเลือกใช้ว่าจะกี่ลิตรดี แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอเจ้าของเคสจะดีที่สุด เพราะหากซื้อมาแล้วน้อยเกินไป ก็ต้องทิ้ง และซื้อเครื่องใหม่อีก
2) เปอร์เซ็นต์ออกซิเจน
ต้องสามารถรักษาความเข้มข้นของออกซิเจนให้คงที่ อย่างน้อย 93% ให้ได้ ไม่ว่าจะปรับอัตราการไหลเท่าไรก็ตาม
ความเข้มข้นของออกซิเจนลดตามอัตราการไหลที่ปรับเพิ่มขึ้น
ออกซิเจนมีความเข้มข้นเท่าๆ เดิมไม่ว่าจะปรับอัตราการไหลเพิ่มขึ้นหรือลดลง
และต้องหมั่นทดสอบค่าความเข้มข้นของออกซิเจนอยู่เสมอ
ให้เครื่องพร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
ค่าออกซิเจนควรจะมีค่า > 93%
และไม่ควรลดต่ำลงมากอย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อเปลี่ยน
อัตราการไหล
หากใช้เครื่องไประยะหนึ่ง อัตราการไหลไม่สามารถปรับได้ หรือได้ค่าความเข้มข้นของออกซิเจนน้อยเกินไป ให้ตรวจสอบตัวกรองอากาศที่อยู่บริเวณด้านข้าง ด้านหลังหรือภายในเครื่อง อาจมีการอุดตัน
ควรหมั่นดูแลตัวกรองฝุ่นต่างๆ อย่างสม่ำเสมอเพื่อยืดอายุการใช้งาน
กรณีไม่ได้ใช้งานนานๆ ให้นำเครื่องมาเปิดทิ้งไว้ 20-30 นาที 1-2 ครั้งต่ออาทิตย์เพื่อกระตุ้นการทำงานของ Molecular Sieve ให้ยังคงทำงานได้ต่อไป ไม่เช่นนั้นอาจเสื่อมสภาพได้เร็ว
อัตราการไหลที่ 3 ลิตรต่อนาที ออกซิเจน 95.4%
อัตราการไหลที่ 5 ลิตรต่อนาที ออกซิเจน 95.6%
3) แรงดัน (PSI)
เครื่องผลิตออกซิเจนทั่วไปอาจจะมีแรงดันน้อยๆ แต่หากผู้ป่วยเจาะคอ อาจจำเป็นต้องใช้เครื่องที่สามารถให้แรงดันที่สูง เพื่อสามารถทำให้ออกซิเจนเข้าสู่ผู้ป่วยได้เพียงพอ
4) ผู้ขายมีความชำนาญ การรับประกัน และบริการหลังการขาย
เราคงไม่อยากซื้อมาราคาถูก แล้วเครื่องเสีย หาคนมาดูแล หรือบริการไม่ได้ใช่มั้ยละครับ การที่ราคาอีกที่หนึ่งสูงกว่า นั่นอาจไม่ได้หมายความว่าแพงกว่าเสมอไป เค้าแค่กำลังจะบอกเราว่า เค้าจะดูแลเครื่องคุณต่อไป ไม่ทิ้งกัน
เรื่องเหล่าเป็นเรื่องสำคัญที่ควรรู้เมื่อต้องพิจารณาเลือกใช้เครื่องผลิตออกซิเจนนะครับ ^^
ด้วยความปรารถนาดี
นายพัฒนพงค์ ฉิมหาด
คณะอุปกรณ์ชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โฆษณา