21 ส.ค. 2021 เวลา 10:27 • ข่าว
#แอบมองอิสราเอล
#เหตุใดประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูงสุดในโลกต้องมาเจอวิกฤติการระบาดCovidระลอกใหม่??
10
The only thing certain is uncertainty. - ความแน่นอนคือความไม่แน่นอนจริงๆ สำหรับโลกเรานี้ ที่ทำให้ 1+1 อาจไม่เท่ากับ 2 เสมอไป
2
เช่นเดียวกับอิสราเอล ประเทศเริ่มโปรแกรมฉีดวัคซีน Covid-19 เร็วที่สุด และเคยมีอัตราการฉีดวัคซีนต่อประชากรสูงที่สุดในโลก แถมยังเปิดตัวฉีดวัคซีนบูสเตอร์เข็ม 3 ก่อนใครโลก แซงแม้กระทั่งประเทศเจ้าของวัคซีนอย่างสหรัฐอเมริกา
แต่วันนี้ อิสราเอลกลับต้องมาประสบปัญหาการกลับมาระบาดระลอกใหม่ของ Covid-19 สายพันธุ์เดลต้า ที่สามารถเจาะทะลุภูมิคุ้มกันหมู่ของชาวอิสราเอลได้ แม้แต่ผู้ที่ฉีดครบ 2 เข็มแล้วยังติดเชื้อ บางเคสเชื้อยังลงปอดต้องเข้าโรงพยาบาลแล้วหลายราย จนรัฐบาลอิสราเอลอาจต้องกลับมาใช้มาตรการสวมหน้ากาก และล็อคดาวน์เมืองอีกครั้ง
2
อะไรเป็นสาเหตุที่แม้แต่อิสราเอลที่มีวัคซีนเต็มแขน สั่ง Pfizer เมื่อไหร่ก็ได้ ต้องกลับเจอการระบาดหนักระลอกใหม่ได้? และอิสราเอลกำลังจะกลายเป็น case study ที่หลายประเทศกำลังจับตามองถึงผลลัพธ์ของวัคซีนว่า อาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของวิกฤติ Covid-19 ก็เป็นได้
จากข้อมูลล่าสุดพบว่า อิสราเอลได้ฉีดวัคซีนไปแล้วถึง 68% ของประชากรเป้าหมาย ส่วนใหญ่ก็เป็น Pfizer ในจำนวนนั้น ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มไปแล้วถึง 63% คิดเป็นจำนวนมากกว่า 5 ล้านคน นับว่าสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก
6
และจากที่เคยคาดว่า หากต้องการให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ควรฉีดวัคซีนให้ได้ถึง 75% ของประชากร ซึ่งอัตราการฉีดวัคซีนของอิสราเอลถือว่าใกล้เคียงเป้าหมายมากๆแล้ว
2
แต่กลับพบว่า Covid-19 กลับมาระบาดใหม่อย่างน่าเป็นห่วง จากยอดผู้ติดเชื้อในช่วงเดือนกรกฎาคม ที่อิสราเอลมีรายงานผู้ติดเชื้อใหม่เพียงวันละไม่เกิน 20 คน แต่พอข้ามมาแค่เดือนสิงหาคม ยอดผู้ติดเชื้อรายวันในอิสราเอลพุ่งไปเกือบ 6,000 รายต่อวัน จนตอนนี้หลายประเทศในยุโรปเริ่มประกาศเตือนผู้ที่ต้องการจะเดินทางเข้าอิสราเอลว่ามีความเสี่ยง
1
อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาดครั้งใหม่??
ข้อสันนิษฐานแรกคือ อัตราการฉีดวัคซีนเกือบ 70% นั้นไม่ได้หมายถึง 70% ของชาวอิสราเอลทั้งหมด แต่หมายถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งรัฐบาลอิสราเอลเพิ่งประกาศให้กลุ่มวัยรุ่น อายุ 12-20 ปีขึ้นไปเข้ารับการฉีดวัคซีนเมื่อไม่นานมานี้เอง
4
และก็เป็นกลุ่มที่หลีกเลี่ยงการมาฉีดวัคซีนมากที่สุด ด้วย ซึ่งหากตัดประชากรกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 12 ปีที่ยังไม่ได้รับวัคซีน และกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่ยอมมาฉีด ก็จะพบว่า จริงๆแล้วมีชาวอิสราเอลเพียง 58% เท่านั้นที่มารับวัคซีนครบโดส ซึ่งยังไม่เพียงพอในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และจากข้อมูลผู้ติดเชื้อในอิสราเอลเกือบครึ่งก็เป็นกลุ่มคนที่ยังไม่มารับวัคซีน
2
สาเหตุที่สอง ที่เหมือนตลกร้ายของอิสราเอลก็คือ ฉีดวัคซีนเร็วเกินไป!!
3
หากมองย้อนไป อิสราเอลเป็นประเทศแรกๆที่ประกาศโครงการวัคซีน ตัดริบบิ้นเปิดโครงการก่อนใครตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2020 จนยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตด้วย Covid-19 ลดลงจนแทบเหลือศูนย์ ชาวอิสราเอลจึงถอดหน้ากากเปิดประเทศก่อนใคร ตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา แต่นั่นคือก่อนการมาของ Covid-19 สายพันธุ์ใหม่ เดลต้า จากอินเดีย
10
เพราะฉีดก่อน มีภูมิก่อน จึงเปิดประเทศเดินทางท่องเที่ยวก่อน แต่ก็เริ่มมีรายงานการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าเข้ามา และกระจายอย่างรวดเร็วภายในประเทศ
1
อิสราเอลจึงพบความจริงว่าภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลงเหลือแค่ 39% หลังจากฉีดวัคซีนมานานกว่า 6 เดือน ซึ่งผู้ติดเชื้อในอิสราเอลตอนนี้เกือบทั้งหมดเป็นสายพันธุ์เดลต้า และกว่า 60% ของผู้ป่วยที่เข้ามารักษาในโรงพยาบาลก็ฉีดวัคซีนมาครบ 2 เข็ม แต่เมื่อนานมาแล้วอีกด้วย
7
ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุที่รัฐบาลอิสราเอลจำเป็นต้องใช้นโยบายฉีดเข็ม 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน Covid-19 สายพันธุ์ดุ ที่เพิ่งมาในวันที่อิสราเอลการ์ดตก
4
ความไม่เท่าเทียมก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ Covid-19 ระบาดซ้ำได้เรื่อยๆ???
2
หากดูตัวเลขการฉีดวัคซีนของอิสราเอล ก็ถือว่าเยอะมาก และเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบความสำเร็จในโครงการวัคซีน แต่พอเราหันมามองมุมอีกด้านของกำแพงเยรูซาเล็ม กลับพบว่ามีชาวปาเลสไตน์เพียง 8% เท่านั้นที่ได้รับวัคซีนครบโดส วัคซีนที่ได้ส่วนใหญ่เป็น AstraZenca และ Pfizer ผ่านโครงการช่วยเหลือของ WHO แต่ตอนนี้ทางปาเลสไตน์ก็เริ่มเจอปัญหาการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้าเช่นกัน
1
ถึงอิสราเอลจะกำหนดว่า ชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสเท่านั้น ถึงจะสามารถเดินทางข้ามฝั่งมาอิสราเอลได้ แต่หากเป็นสายพันธุ์เดลต้า ที่ตอนนี้มันไม่สนแล้วว่าใครจะฉีด หรือไม่ฉีด ฉีดอะไรมา ถ้าภูมิตก ก็เสี่ยงติดทั้งนั้น ดังนั้นการฉีดครบไม่ได้การันตีแล้วว่าจะไม่เสี่ยง
6
การฉีดเข็ม 3 แก้ปัญหาได้จริงหรือ??
2
เมื่อถูกท้วงติงจาก WHO ที่อิสราเอลเดินหน้าโครงการฉีดวัคซีนเข็ม 3 เพื่อกระจายวัคซีนให้ประเทศยากจน แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของอิสราเอลออกมาตอบโต้ว่า
"อิสราเอลก็เคารพความเห็นของ WHO นะครับ แต่ยังไงเราก็ต้องคำนึงถึงคนอิสราเอลก่อน และเราก็ช่วยโลกมาเยอะมากนะครับ ถ้า UN หาวัคซีนฉีดให้ประเทศอย่าง แชด มาลี พม่า หรือ กัวเตมาลาไม่ได้ อิสราเอลก็ไม่มีสิทธิ์ฉีดเพื่อป้องกันการระบาดในประเทศเราหรือไง!
5
ซึ่งประเด็นนี้ ทาง WHO ได้เคยอธิบายว่า ไวรัสโคโรน่ามีศักยภาพในการกลายพันธุ์ เพื่อเอาชนะภูมิคุ้มกันในร่างกายเรา ถ้าเราไม่รีบหยุดมันในวงกว้าง เชื้อไวรัสก็จะกลายเป็นพันธุ์ใหม่ไปเรื่อยๆ และสุดท้ายมันก็จะเอาชนะวัคซีนที่มนุษย์อุตส่าห์คิดค้นมาได้ ไม่ว่าวัคซีนจะเทพแค่ไหนก็ตาม เพราะฉะนั้น ต้องกระจายวัคซีนสกัดการระบาดให้มากที่สุด ไม่ใช่มีภูมิกระจุก แต่ระบาดกระจายอย่างทุกวันนี้
8
หรือว่าเข็ม 3 ก็ยังไม่พอ??
1
เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ช่วงหลังๆมีการพูดคุยกันหนาหูมาก ถ้าถึงขนาดฉีดวัคซีนที่ดีที่สุดแล้ว ยังไงภูมิคุ้มกันก็จะลดลงหลังจากผ่านไป 6 เดือนอยู่ดี
หรือว่าเราอาจต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นเรื่อยๆทุกปี หรืออาจต้องฉีดกันปีละ 2 ครั้ง??
5
และแน่นอนว่าชาวอิสราเอลบางคนคิดอย่างนั้น ว่าหากจำเป็น ก็อาจต้องฉีดกัน 6 เดือนครั้งทุกปีเหมือนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และชาวอิสราเอลก็รู้ว่าประเทศชั้นนำอย่างสหรัฐ และยุโรป ก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน และแอบมองผลลัพธ์จากการฉีดวัคซีน บูสเตอร์ของอิสราเอลอย่างใกล้ชิด
5
ชาวอิสราเอลคนหนึ่งให้ความเห็นกันสื่อสหรัฐว่า เขารู้ว่าอิสราเอลกำลังเป็น case study (หนูทดลอง) ให้กับชาติตะวันตกว่า ฉีดเข็ม 3 แล้วเป็นอย่างไร และต้องฉีดบูสเตอร์กันทุกปีหรือไม่ แต่ถ้าฉีดแล้วป้องกันได้ ไม่แพ้ และตราบใดที่รัฐบาลอิสราเอลยังหาวัคซีนมาได้ พวกเขาก็ยินดีจะไปฉีดเรื่อยๆเช่นกัน
2
ซึ่งกระแสความคิดนี้ ก็จะทำให้ WHO ปวดใจหนักกว่าเดิม ถ้ากลุ่มประเทศร่ำรวยต่างโกยวัคซีนไว้ สำหรับเข็มที่ 3 เข็ม 4 และ เข็มต่อๆไป และต้องยอมรับว่าไม่ใช่ทุกประเทศที่จะโชคดี เข้าถึงวัคซีนได้ง่ายๆเหมือนอิสราเอลเสียด้วย
ดังนั้นการแอบมองอิสราเอลในวิกฤติ Covid-19 จึงสะท้อนให้เห็นถึง ปัญหา ความจริง และความเจ็บปวดหลายๆอย่างที่โลกเรากำลังเผชิญอยู่ในมรสุมลูกใหญ่ ที่ถูกเปิดเผยโดยสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่เรียกว่า "ไวรัสโคโรน่า" นี่เอง
3
แหล่งข้อมูล
โฆษณา