22 ส.ค. 2021 เวลา 13:00 • ไลฟ์สไตล์
วันนี้เราควรใช้เวลาไปกับอะไรบ้าง? จัดลำดับความสำคัญงานด้วย Pickle Jar Theory
.
.
ในวันวันหนึ่ง เผลอแป๊บเดียวรู้สึกตัวอีกทีก็จะหมดวันไปซะแล้ว ทั้งที่กำลังจะหมดวันหมดเวลางานอยู่แล้วเชียว แต่ทำไมเรายังมีงานกองอยู่ท่วมหัว ทำไม่เสร็จสักอย่างเลยอยู่แบบนี้ ตกลงวันนี้ทั้งวันเราใช้เวลาหมดไปกับอะไรบ้างเนี่ย?
.
บางคนอาจตอบว่า “ที่ทำงานไม่ทัน เพราะงานเยอะ เวลาไม่พอ” ทั้งๆ ที่ทุกคนมีเวลาวันละ 24 ชั่วโมงเท่ากัน การที่คุณทำงานเดียวกันกับคนอื่น แต่กลับรู้สึกเวลาไม่พอคนเดียวอยู่แบบนี้ อาจมีสาเหตุมาจาก “คุณจัดการแบ่งเวลาไม่ดีพอเองหรือเปล่า?”
.
1
แต่ก็ต้องเข้าใจว่า ในช่วงนี้ที่ต้องทำงานที่บ้าน ยิ่งทำให้โฟกัสงานไม่ได้ ว่อกแว่กได้ง่าย แบ่งเวลาทำงานยากขึ้น เวลาทำงานและเวลาส่วนตัวปนกันไปหมด ทั้งที่หลายคนอาจลองหาเทคนิคการจัดการเวลามาตั้งหลายวิธีแล้ว แต่ก็ยังทำไม่ได้สักทาง ถ้าอย่างนั้นก่อนอื่นเราอาจต้องมาทำความเข้าใจเรื่องความสำคัญของเวลาและการจัดการเวลาให้ดีกันก่อนผ่าน Pickle Jar Theory กันดีกว่า
.
.
Pickle Jar Theory เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่อง การจัดการเวลากับขวดโหลแก้วสีใสอันหนึ่ง
โจทย์คือ สมมติว่ามีโหลแก้วอยู่อันหนึ่งวางอยู่ตรงหน้าคุณตอนนี้ หน้าที่ของคุณคือใส่ของลงไปในขวดโหลให้ได้มากที่สุด โดยของที่คุณต้องนำไปใส่มีอยู่ 3 อย่างคือ ทราย ก้อนกรวด และก้อนหิน
.
คุณคิดว่าคุณจะจัดการใส่ของทั้งสามอย่างนี้ลงไปในขวดก่อนหลังอย่างไรดี? ให้เวลา 24 วินาที เริ่ม!
.
.
.
3
หมดเวลา!
.
มีใครเลือกใส่ทรายลงไปก่อนเป็นชั้นแรก แล้วค่อยตามด้วยก้อนกรวด และก้อนหินบ้าง?
หรือมีใครคิดว่าควรเลือกที่จะใส่ของที่ใหญ่สุดอย่างก้อนหินลงไปก่อนดีกว่า?
หรือว่ามีใครไม่วางแผนอะไรทั้งนั้น คิดไว้ว่าถ้าอะไรอยู่ใกล้มือสุดตอนนั้นก็เททั้งหมดผสมๆ ลงไปก่อน เดี๋ยวมันก็เต็มเอง?
.
ทั้งที่ทุกคนมีเวลาเท่ากัน แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาย่อมได้ไม่เหมือนกันอย่างแน่นอน ซึ่งความจริง โจทย์นี้ก็ไม่มีคำตอบถูกผิดตายตัวอยู่แล้วว่า คุณจำเป็นต้องเลือกทำอะไรก่อนหลัง ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนจัดการตามความเหมาะสมของคุณเองทั้งนั้น
.
.
เพราะขวดโหลก็เปรียบเป็นดั่ง ‘เวลา’ ของคุณใน 1 วัน
ส่วนก้อนหิน ก้อนกรวด และทราย ก็เปรียบกับ ‘งาน’ ที่คุณต้องทำในแต่ละวัน
.
ก้อนหิน แทน ‘งานสำคัญและงานเร่งด่วน’ ที่จะส่งผลกระทบกับตัวคุณมากที่สุด
.
ก้อนกรวด แทน ‘งานทั่วไป’ เช่น งานที่ต้องทำในแต่ละวันเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ก็เป็นงานที่สามารถแบ่งไปทำวันอื่นๆ ต่อไปได้
.
ทราย แทน ‘งานเล็กๆ น้อยๆ’ ที่มีแทรกอยู่ทั้งวัน เช่น รับโทรศัพท์ ตอบอีเมล รวมไปถึงการเล่นมือถือ ท่องโลกโซเชียล หรือแม้แต่การคุยเล่นกับคนอื่นในที่ทำงาน
.
.
คุณจะวางแผนจัดลำดับอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับความสำคัญที่คุณต้องการ
.
ถ้าคุณต้องการทำงานทั้งหมดให้เสร็จภายในวันนั้นเลย คุณก็ต้องพยายามยัดทุกอย่างลงไปในขวดโหลให้ได้มากที่สุด ถ้าคุณใส่แต่ทรายลงไปก่อนจนเกือบเต็ม เหลือพื้นที่เหลือให้ก้อนกรวดอยู่แค่เล็กน้อย ส่วนก้อนหินก็ใส่เข้าไปได้ไม่กี่ก้อนด้วยซ้ำ แบบนี้ก็ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมตกเย็นมาคุณต้องกลับมานั่งคิดว่า “เวลาไม่พอ (อีกแล้ว)” สุดท้ายก็ทำงานไม่เสร็จสักอย่างอยู่แบบนี้
.
แต่ถ้าลองปรับแผนใหม่ เป็นการเริ่มจากใส่ก้อนหินลงไปก่อน แล้วค่อยแทรกด้วยก้อนกรวดที่มีขนาดเล็กกว่าลงไปตามมา จากนั้นค่อยเททรายลงไปให้แทรกตามช่องว่างที่เหลือ แค่นี้คุณก็จะมีเวลาทำทั้งงานใหญ่ งานเล็ก และมีเวลาเที่ยวเล่นพักผ่อนต่อไปได้แล้ว
.
.
2
เพราะการให้ความสำคัญของงานแต่ละอย่างของแต่ละคนต่างกัน
.
ลองลิสต์งานแต่ละวันของคุณดูว่ามีอะไรที่เป็นก้อนหิน ก้อนกรวด และทรายบ้าง แล้วคิดภาพในหัวตามมาว่า จะจัดการลำดับก่อนหลังอย่างไรดี อาจลองจดบันทึก To-do List ที่ต้องทำแต่ละวันดูก็ได้ และถ้าเข้าใจความสำคัญของเวลาดีแล้ว ต่อไปก็เหลือแค่ว่าจะจัดการทำงานแต่ละอย่างตามแผนต่อไปให้ดีได้อย่างไร แค่นี้ก็สามารถทำงานได้เป็นอันเสร็จเรียบร้อย!
.
.
แล้วคุณล่ะ วันนี้คุณใช้เวลาไปกับการทำอะไรมาบ้าง?
.
.
อย่าบอกนะว่าวันนี้ก็เททรายเกือบเต็มขวด จนไม่มีพื้นที่พอใส่ก้อนหินเลยอีกแล้วน่ะ
.
แต่ไม่เป็นไร พรุ่งนี้ค่อยจัดการวางแผนใส่ก้อนหิน ก้อนกรวด และทรายลงในโหลแก้วของคุณเสียใหม่ หลังจากนี้จะได้ไม่ต้องรู้สึกว่า “มีเวลาเท่าไหร่ก็ไม่พอ” กันอีกแล้วนะ
.
.
3
เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
- ‘Eisenhower Matrix’ อยากบริหารเวลาให้ได้ ต้องจัดลำดับความสำคัญให้เป็น https://bit.ly/3B2E7WC
- นั่งทั้งวัน แต่งานไม่เสร็จ? ลองกลับมาใช้ Pomodoro Technique เทคนิคการบริหารเวลามาโฟกัสงาน 25 นาที https://bit.ly/3z9QTC6
.
.
อ้างอิง:
.
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#softskill
โฆษณา