23 ส.ค. 2021 เวลา 00:30 • ประวัติศาสตร์
14 ตุลา วันมหาวิปโยค
จากการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ สู่เหตุการณ์รุ่นเเรง
ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บมากมาย
วันนี้เราจะมาเล่าเรื่องและสรุปไปในตัวกัน
ภาพมุมสูงจากถนนราชดำเนิน
การเมืองขณะนั้น
ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการมาเป็นสิบปี
และในปี พ.ศ.2512 ได้มีการเลือกตั้งขึ้น โดยจอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับการเลือกตั้ง
แต่ในการเลือกตั้งครั้งนั้นก็มีข้อกังขามากมาย
เเต่ในปี พ.ศ.2514 จอมพลถนอม ก็ได้รัฐประหารตัวเองเพื่อขึ้นสู่อำนาจเบ็ดเสร็จ
ทำให้การมีประชาธิปไตยอย่างเเท้จริง ยิ่งน้อยลงไปทุกที
บางคนจึงสงสัยว่ารัฐประหารตัวเองเพื่อะไร ?
สาเหตุเพราะว่าไม่สามารถควบคุมเสียงในสภาผู้เเทนราษฎรได้ ก็เลยหยุดระบบรัฐสภา ฉีกรัฐธรรมนูญ
การรัฐประหารจึงกลายเป็นเครื่องมือในการกลับคืนอำนาจของจอมพลถนอมได้หลายครั้งถึง 4สมัย
ทำให้มีกระเเสต่อต้าน จอมพลถนอม มากมายจากประชาชนเเละข้าราชการ
กระเเสต่อต้านนี้ยังถูกโยงไปถึง เหตุเฮลิคอปเตอร์ตก หลังกลับจากการไปทุ่งใหญ่นเรศวร
ที่เกิดเหตุมีผู้เสียชีวิต 6คน และซากสัตว์จำนวนมาก ที่บรรจุอยู่ในกล่อง และพบปืนล่าสัตว์หลายกระบอก
อุบัตเหตุครั้งนั้น เกิดจากการคณะนายทหาร และนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ มากกว่า 50คน ที่ได้ไปตั้งค่ายพักแรมภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่ทุ่งใหญ่นเรศวร จ.กาญจนบุรี
ทั้งที่พยายามขัดขวางเจ้าหน้าที่อุทยาน
และได้พบว่า พันเอกณรงค์ กิตติขจร ซึ่งเป็นบุตรชายของจอมพลถนอม ได้เข้าร่วมการล่าสัตว์ครั้งนั้นด้วย
หลังจากเกิดเหตุ จอมพลถนอม ได้ปฏิเสธการล่าสัตว์ โดยบอกว่าเป็นการปฏิบัติภารกิจลับ และความมั่นคง
วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2516
กลุ่มนักศึกษา ได้แถลงข่าวเรียกร้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
วันต่อมานักศึกษาได้เดินแจกใบปริวอัญเชิญพระราชหัตถเลขา ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยมีใจความตามภาพ
http://www.14tula.com/images/gallery/05_09_tula2516.htm
ใบปริวนี้ถูกแจกไปตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร
ก่อนที่ผู้เเจกใบปริวถูกจับที่ประตูนำ้ และมีการตรวจสอบเพื่อขยายผล
มีผู้ถูกจับกุมทั้งหมด 12คน และภายหลังได้จับ ส.ส.นครพนม ที่เชื่อว่าอยู่เบื้องหลัง รวมเป็น 13คน
ทั้งหมดถูกตั้งข้อหากบฏต่อราชอาณาจักร
การจับกุมครั้งนี้ทำให้นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัย ได้เรียกร้องให้ปล่อยตัวทั้ง 13คน
ช่วงนั้นคือช่วงสอบ แต่ประตูห้องสอบกลับถูกปิดตายด้วยปูน
จึงเป็นจุดเริ่มต้นการชุมนุม ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นก็งดสอบเพื่อมาเข้าร่วมการชุมนุมด้วยเช่นกัน
มีการเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ และให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่
แต่รัฐบาลไม่ยอม
เเละยังประกาศใช้ มาตรา17 ซึ่งให้อำนาจผู้นำคณะรัฐประหาร แทรกแซงอำนาจตุลาการได้
จอมพลถนอมยังให้สัมภาษณ์อีกว่า พบข้อมูลการการฝักใฝ่ลิทธิคอมมิวนิสต์ จึงตั้งข้อหาคอมมิวนิสต์อีกข้อหา
วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2516
นักศึกษาเรียกร้องต่อรัฐบาลให้มีการปล่อยตัวทั้ง 13คน ไม่งั้นจะใช้มาตรการเด็ดขาด
รัฐบาลจึงได้ให้มีการให้ประกันตัว 13คน แต่13คนปฎิเสธเพราะไม่รู้จักนายประกัน
13 ตุลาคม
ผู้ประชุมออกเดินขบวน
การชุมนุมมีกาารร้องเพลงชาติ และสาบาน ว่าจะเทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ
ภาพการชุมนุมครั้งนั้นกลายเป็นตำนาน เพราะมีผู้คนเข้าร่วมจำนวนมาก โดยภายหลังได้มีการคำนวณ พบกว่าผู้ชุมนุมมีประมาณ 168,000คน ทั้งหมดเคลื่อนขบวนไปที่พระบรมรูปทรงม้า
วิทยุประกาศในเวลา 20:00น. ว่ารัฐบาลยอมปล่อยตัวทั้ง13คน แต่การติดต่อสื่อสารในสมัยนั้นลำบากมาก ทำให้ผู้นำการชุมนุมไม่สามารทติดต่อผู้แทนได้ จึงไม่ไว้วางใจ
ผู้นำการชุมนุมจึงได้นำขบวนไปที่หน้าสวนจิตรลดา หวังพึ่งร่มบารมีของในหลวง ร.9
https://board.postjung.com/1171503
วันที่ 14 ตุลาคม
ช่วงเช้ามืด แกนนำสามารถติดต่อกันได้ จึงได้มีการยุติการชุมนุมลง
หลังยุติการชุมนุมไม่นาน ก็มีเสียงระเบิดดังขึ้นลูกแรก
การระเบิดครั้งนี้ยังถกเถียงกันอยู่ว่า ใครทำให้เกิดระเบิดครั้งนี้กันเเน่ บ้างก็ว่านักเรียนอาชีวะคนหนึ่งได้พกลูกระเบิดติดกระเป๋ามาแต่เเล้วก็ดันทำลั่น แต่บ้างก็ว่าเป็นกาารสื่อสารผิดพลาดกันของตำรวจ ทำให้ตำรวจยังสกักผู้ชุมนุมไม่ให้ออกจากพื้นที่ได้ แต่บ้างก็ว่าเป็นการสั่งการ เพราะการเมืองชนชั้นนำเกิดการขัดแย้งกัน
เสียงระเบิดครั้งนี้ทำให้การปะทะกันเกิดขึ้น เหตุการณ์ปะทะนั้นบานปลายรวดเร็วมาก มีการใช้อาวุธสงคราม แก๊สนำ้ตา จนทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก
https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_3350
ช่วงเย็นวันนั้น พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำรัสทางวิทยุและโทรทัศน์ ให้ทุกฝ่ายระงับเหตุ เเละเเต่งตั้งให้ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งเป็นอธิบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในขณะนั้น ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ทว่า มันยังไม่จบ
จอมพลถนอม ถึงไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว เเต่ก็ยังเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดอยู่ในตอนนั้น จึงได้สั่งให้ทหารปฏิบัติหน้าที่สุดความสามารถ
ทำให้เหตุรุนเเรงจึงดำเนินต่อไป จนถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2516
พลเอกกฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบก จึงได้ถอนตัวออกจากการสนับสนุนรัฐบาล จึงทำให้จอมพลถนอม และพักพวกต้องเดินทางออกนอกประเทศไป
ณ เวลา 18:40น. สถานีวิทยุประกาศว่าจอมพลถนอมได้ลาออก และเดินทางออกนอกประเทศเเล้ว เหตุการณ์ครั้งนี้จึงได้จบลง
ปล. จากเหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตถึง 77ราย บาดเจ็บ 800ราย และสูญหายนับไม่ถ้วน และในข้อมูลบางส่วนก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันในวงวิชาการจนถึงทุกวันนี้
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันครับ มีผิดพลาดตรงไหนขออภัยด้วยครับ
และในครั้งหน้าผมจะเล่าเรื่อง 6ตุลา2519 ฝากติดตามด้วยครับ😊😊
โฆษณา