Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อาจวรงค์ จันทมาศ
•
ติดตาม
23 ส.ค. 2021 เวลา 02:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แม่เหล็กคืออะไร ? และมีกี่ประเภท ?
(เรียบเรียงโดย ชนกานต์ พันสา)
แม่เหล็กคือวัตถุที่สร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมาได้ มีตั้งแต่ระดับอ่อนๆ แบบที่เราใช้ติดตู้เย็นจนไปถึงแม่เหล็กที่มีพลังมากจนแรงมนุษย์ฉุดไว้ไม่อยู่
แม่เหล็กอาจแบ่งเป็นตามสภาพแม่เหล็กได้ดังนี้
- แม่เหล็กถาวร (Permanent or hard magnets) ที่สามารถสร้างสนามแม่เหล็กได้ตลอดเวลาด้วยตัวของมันเอง
-แม่เหล็กชั่วคราว(Temporary or soft magnets)ที่ต้องมีแม่เหล็กอื่นๆ มาเหนี่ยวนำให้เกิดสภาพแม่เหล็กขึ้นมาเสียก่อนและความเป็นแม่เหล็กจะค่อยๆ หายไปเมื่อไม่มีการเหนี่ยวนำแล้ว
-แม่เหล็กไฟฟ้า( Electromagnets) ที่สามารถสร้างสนามแม่เหล็กได้เมื่อได้รับกระแสไฟฟ้าเท่านั้น
1
ในที่นี้จะสนใจแม่เหล็กถาวรก่อน ซึ่งแม่เหล็กฐาวรที่ผลิตและใช้งานกันในปัจจุบันทำมาจากโลหะผสมหลายชนิด ซึ่งให้ความแรงแตกต่างกันออกไป แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่
1.แม่เหล็กเซรามิก ประกอบไปด้วยสารประเภทเซรามิกและสารประกอบเหล็กออกไซด์ แม่เหล็กประเภทนี้ไม่ได้แรงมากนักและเป็นชนิดเดียวกับแม่เหล็กติดตู้เย็นที่เราคุ้นเคย
แม่เหล็กเฟอไรต์ เป็นชนิดหนึ่งของแม่เหล็กเซรามิก ที่มา : Wikipedia
2. แม่เหล็กอัลนิโค(Alnico) ทำมาจาก อลูมิเนียม นิกเกิล และโคบอลต์ แม่เหล็กแบบนี้จะแรงกว่าเซรามิกแต่ยังไม่แรงที่สุด
แม่เหล็กเกือกม้า ทำจาก อัลนิโค ที่มา : Wikipedia
3. แม่เหล็กที่ทำมาจากแร่ธาตุหายาก (rare-earth metals) เช่น แม่เหล็กที่มีธาตุนีโอดิเมียมรวมอยู่กับเหล็กและโบรอน , แม่เหล็กที่มีธาตุซาแมเรียม (samarium) รวมอยู่กับโคบอลต์ เป็นต้น
1
แม่เหล็กที่มีธาตุนีโอดิเมียมรวมอยู่กับเหล็กและโบรอน (Nd2Fe14B) ที่มา : Wikipedia
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถคิดค้นแม่เหล็กแบบอื่นๆได้ อีก เช่น แม่เหล็กที่ทำมาจากพลาสติก ที่อาจมีความเบาและยืดหยุ่นมากกว่าแม่เหล็กปกติ แต่ส่วนมากยังใช้งานได้แค่ในอุณภูมิต่ำเท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีแม่เหล็กตามธรรมชาติอย่างหินโหลดสโตน (Lodestone) ซึ่งประกอบด้วยแร่แม่เหล็กหรือแมกนีไทต์(Magnetite)และมีองค์ประกอบของเหล็กออกไซด์
หินโหลดสโตน (Lodestone) ที่มา : Wikipedia
หินชนิดนี้นับว่าเป็นแม่เหล็กตามธรรมชาติที่มีความแรงที่สุดแต่ก็แรงแค่พอดึงดูดวัตถุเล็กๆ เช่น คลิปหนีบกระดาษเท่านั้นในศตวรรษที่ 12 เราได้ใช้หินโหลดสโตนนี้มาถูกับเข็มโลหะเล็กๆ ทำจากเหล็ก เพื่อทำให้มันมีสภาพเป็นแม่เหล็กขึ้นมา และเราก็ใช้เข็มนี้เป็นเข็มทิศ โดยมันจะตอบสนองต่อสนามแม่เหล็กโลกด้วยการหมุนตัวชี้นำทางไปในทิศเหนือ
ครั้งหน้าจะเล่าให้ฟังว่า
สภาพแม่เหล็กเกิดจากอะไรกันแน่
(โปรดติดตาม)
2
อ้างอิง
“Magnetic Domains,” 2019. [Online]. Available:
https://nationalmaglab.org/education/magnet-academy/watch-play/interactive/magnetic-domains?fbclid=IwAR2gr2Lpeqcx7P68eNL9UPV_hXvgFZEYk5EszTOxK95a-4G9qXn1BoN2U60
“Hysteresis.” [Online]. Available:
http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/Solids/hyst.html
.
T. V. WILSON, “How Liquid Body Armor Works.” [Online]. Available:
https://science.howstuffworks.com/liquid-body-armor2.htm
.
20 บันทึก
24
5
20
24
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย