24 ส.ค. 2021 เวลา 02:02 • สุขภาพ
เตรียมตัวยังไง ถ้าต้องโทรเล่าอาการ ?
เล่าอาการแบบไหน ให้เข้าใจง่าย ได้รักษาเร็ว !
3
🤦‍♀️ ปัญหาที่หลายคนพบบ่อย เมื่อต้องไป รพ.
คือ คุยกับหมอ, พยาบาล, เจ้าหน้าที่คัดกรอง
แล้วใช้เวลาซักประวัติ ถามอาการนาน
จนบางครั้งก็หงุดหงิด บางทีก็เบื่อ
1
📱 ยิ่งตอนนี้ มีการโทรเช็คอาการผู้ป่วยโควิด
โทรแจ้งเคสโควิด โทรเรียกรถฉุกเฉิน
ยิ่งทำให้เห็นปัญหาชัดเจน !
🗣 “ การสื่อสาร ” คือ ปัญหาใหญ่ 💥
บางครั้งการซักประวัติ ระหว่างคนไข้, ญาติ กับเจ้าหน้าที่ ใช้เวลานานเกินไป อาจทำให้ได้รักษาช้า จนอาจส่งผลลดโอกาสรอดชีวิต ของผู้ป่วยได้
🚨 ทำไมเจ้าหน้าที่ซักประวัตินาน ?
ญาติและคนไข้ส่วนใหญ่ เมื่อเล่าอาการเบื้องต้นแล้ว มักต้องการ ได้รับการรักษาทันที
บางคนบ่นว่า 🤷
“เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว หมอเลิกถามได้ไหม”
“คนปวดท้องจะตายอยู่แล้ว ซักอะไรนักหนา”
“เวียนหัวจะอ้วก ไม่อยากตอบ เอายามาฉีดเลย !”
1
แต่ทราบไหมคะว่า..
การที่จะวินิจฉัยโรค ได้แม่นยำนั้น
👩‍⚕️ 70% เกิดจาก การซักประวัติ
👩‍⚕️ 20% ได้จากการตรวจร่างกาย
🔬 10% ได้จากผลแล็บ และการตรวจพิเศษ
3
🔥 เพราะฉะนั้น ถ้าแพทย์ได้ประวัติครบ ญาติและคนไข้ เล่าอาการได้ชัดเจน ตรงประเด็น กระชับ มีข้อมูลพร้อม จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รักษาเร็วขึ้น ย่นเวลาที่ไม่จำเป็นออกไปได้มาก เป็นผลดีกับผู้ป่วย อย่างแน่นอน
2
🚨 ต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง ให้ได้รักษาเร็ว ?
ข้อมูลชุดนี้ เหมาะสำหรับใช้ในช่วงโควิดอย่างมาก แต่ก็สามารถใช้ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือเจ็บป่วยทั่วไปจากภาวะอื่นได้ เพียงแค่ปรับข้อมูลเล็กน้อย 👇
📜 ข้อมูลเบื้องต้น
ชื่อ, อายุ, เลขบัตร ปชช., อาชีพ, ที่อยู่
📜 ข้อมูลที่อาจเตรียมเผื่อไว้
น้ำหนัก, ส่วนสูง, BMI, เลขบัตร รพ.,
หมายเลขบัตรทอง
📜 อาการสำคัญ
✍️ อาการผิดปกติ ที่ทำให้โทรมา รพ.
เริ่มเล่าจาก อาการที่เด่นชัดที่สุด
หรืออาการที่คิดว่า ไม่ปลอดภัยที่สุดก่อน
✍️ คีย์เวิร์ดอาการสำคัญ ที่ควรแจ้ง จนท. เช่น
🔥 ไม่มีชีพจร, หัวใจไม่เต้น, ไม่หายใจ
🔥 หมดสติ, เรียกไม่รู้สึกตัว
🔥 ความดันโลหิต < 90/60, > 180/120 มม.ปรอท
🔥 หัวใจเต้น > 150 หรือ < 50 ครั้ง/นาที
🔥 หายใจ > 24 หรือ < 12 ครั้ง/นาที
🔥 ออกซิเจนในเลือด ต่ำกว่า 90%
🔥 หายใจเฮือก, หายใจลำบาก, หายใจหอบ
🔥 หายใจมีเสียงวี้ด ๆ
🔥 เหนื่อยจนพูดไม่ได้
🔥 เหนื่อยจนนอนราบไม่ได้
🔥 แน่นหน้าอก เหงื่อแตก ตัวเย็น
🔥 ตัวเขียว, ปากม่วง
🔥 ชาหรืออ่อนแรงครึ่งซีก
🔥 ชักเกร็ง
🔥 ซึม, สับสน
3
📜 สัญญาณชีพ (Vital signs)
✍️ อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส)
✍️ ความดันโลหิต มม.ปรอท)
✍️ ชีพจร (ครั้ง/นาที)
✍️ อัตราการหายใจ (ครั้ง/นาที)
✍️ % ออกซิเจนในเลือด (Oxygen Saturation)
ถ้ามีจะดีมาก ซึ่งวัดได้จาก เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
ลองดูข้อมูลเพิ่มเติมค่า 👇
📜 โรคประจำตัว
เป็นโรคอะไร, เป็นมากี่ปี, รักษาอย่างไร,
รักษาที่ไหน หรือเคยผ่าตัดอะไรมาบ้าง
📜 ยาที่ใช้ประจำ
ถ้าจดไว้เลยจะดีมาก หรือเตรียมไว้ใกล้ตัว
เผื่อเจ้าหน้าที่ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงการรักษาประจำ เช่น ล้างไต, รับยาเคมีบำบัด
📜 ประวัติการได้รับวัคซีน
ยี่ห้อ, วันที่ฉีด, สถานที่ฉีด
📜 ประวัติเจ็บป่วยโควิด ของคนในบ้าน
มีใครป่วยบ้าง, ป่วยวันที่เท่าไหร่,
รักษาหรือกักตัวอย่างไร
📜 ประวัติการเดินทาง
เพิ่งไปพื้นที่เสี่ยงติดโควิดมาหรือไม่
🚑 ถ้าเตรียมข้อมูล ได้ใกล้เคียงแบบนี้ จะช่วยย่นเวลาการสนทนา ทั้งทางโทรศัพท์ หรือการพูดคุยต่อหน้าได้มาก ไม่ต้องคุยไป ค้นไป ตะโกนถามประวัติกันไป
1
ช่วยให้ญาติกับ จนท. เข้าใจกันง่ายขึ้น
ทำให้เข้าถึงการรักษา ได้เร็วกว่าเดิมแน่นอน
🏆🥇เตรียมประวัติดี มีชัยเกินครึ่งแน่นอนค่ะ 😉
1
ขอบคุณค่า
อ่างสมอง 🧠🙏
อ้างอิงจาก
📘 Harrison’s Manual of Medicine (2020)
1
📘 Symptom to Diagnosis:
An Evidence-Based Guide (2010)
โฆษณา