24 ส.ค. 2021 เวลา 14:14 • สุขภาพ
โรคกระดูกพรุน
🔸สถิติชี้ให้เห็นว่า 1 ใน 3 ของผู้หญิง และ 1 ใน 5 ของผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปีมีอาการของกระดูกพรุนและแตกหัก
🔸โรคกระดูกพรุนเรียกว่า "ภัยเงียบ" เนื่องจากคุณไม่สามารถรู้สึกได้ว่ากระดูกของคุณอ่อนแอลง
🔸ความเครียดจากออกซิเดชั่นถือได้ว่ามีบทบาทในการเริ่มมีอาการของโรคกระดูกพรุน
🔸ความเครียดจากออกซิเดชั่นลดลงการสร้างกระดูกจะลดลง
🔸ปัจจัยสองประการที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากออกซิเดชั่นที่สูงในร่างกายคือ ความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
🔸การเพิ่มเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระช่วยลดความเครียดจากออกซิเดชั่นและช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกเสื่อมสภาพ
🔸ฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยป้องกันความเครียดออกซิเดชั่น พบว่าผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือน
มีฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
🔸การลดลงของความเครียดออกซิเดชั่นในร่างกายจะลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน
1
▶️ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน....‼️
👉อันตรายของโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน หมายถึง โรคที่ความแข็งแรงของกระดูกลดลง จนทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก โดยเหตุที่อุบัติเหตุเล็กน้อยก็อาจจะทำให้กระดูกหักได้ ความสำคัญกับอันตรายของโรคนี้ ถ้าเป็นปกติโดยทั่วไปเดินหกล้มบนพื้นราบธรรมดา เราไม่เป็นอะไร อย่างมากเราอาจจะข้อเท้าพลิก เจ็บมือนิดหน่อย เอามือยันพื้นได้  แต่กลุ่มคนที่เป็นโรคกระดูกพรุน เราลื่นล้มบนพื้นราบ ก็อาจจะทำให้เกิดกระดูกหักได้ มือยันพื้น ข้อมือหัก สะโพกกระแทกพื้น สะโพกหัก นี่คือความอันตรายของโรคกระดูกพรุน
▶️สาเหตุ
ปกติกระดูกของเราจะมีการสร้างและการทำลายกระดูกอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงอายุก่อน 30-35 ปี เราจะมีการสร้างและการทำลายกระดูก ที่มีการสร้างมากกว่าการทำลาย เพราะฉะนั้นกระดูกจะค่อย ๆ แข็งขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากอายุ 30-35 ปี ช่วงประมาณ 5-10 ปี มวลกระดูกจะคงที่ คือมีการสร้างและการทำลายที่สมดุลกัน หลังจากผ่านระยะนั้นไปคือประมาณอายุ 40 ปีเป็นต้นไป การทำลายกระดูกจะเริ่มมากกว่าการสร้าง เพราะฉะนั้น โดยธรรมชาติของเรา กระดูกจะค่อย ๆ บางลงเรื่อย ๆ จากการทำลายกระดูกที่เยอะกว่าการสร้างกระดูก เพราะฉะนั้น ยิ่งเราแก่ตัวไป กระดูกเราจะค่อย ๆ บางไปตามธรรมชาติ
ระดับของกระดูกพรุนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าเราสะสมมวลกระดูกตั้งแต่ช่วงอายุแรกเกิดจนถึง 30 ปีไว้มากน้อยแค่ไหน
👉อีกประเด็นหนึ่งเรื่องปัจจัยที่ทำให้เราเป็นกระดูกพรุนก่อนวัยอันควร คือ โรคประจำตัวต่างๆ
อาการ
โรคนี้จะไม่มีอาการอะไรให้เราเห็นเลย เขาจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อกระดูกเราหักไปแล้ว เพราะฉะนั้นแล้ว การตระหนักถึงโรคนี้ การรู้ถึงความเสี่ยง การย้อนกลับไปมองตัวเองว่าเรามีความเสี่ยงหรือเปล่า จากนั้นเราถึงจะไปพิจารณาพบแพทย์ เพื่อที่จะตรวจมวลกระดูก หรือคำนวณความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหัก
▶️การรักษา และการดูแลตัวเอง
โรคกระดูกพรุนเป็นโรค เราต้องรักษา การรักษาก็จะเป็นการรักษาด้วยยา เพราะฉะนั้น การกินยา หรือบางท่านจะเลือกใช้วิธีฉีดยารักษาโรคกระดูกพรุน เราก็ควรจะไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอและกินยาอย่างสม่ำเสมอ
ส่วนเรื่องการดูแลตัวเอง
ระวังเรื่องพลัดตกหกล้ม เนื่องจากเราเป็นโรคกระดูกพรุน เราล้มนิดเดียวเราอาจจะกระดูกหักได้ กระดูกหักแล้วชีวิตเปลี่ยนเลย เพราะฉะนั้นเรื่องการระวังพลัดตกหกล้มนี่สำคัญ  การจัดของที่บ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เรื่องของขั้นบันไดต่าง ๆ เราอาจจะต้องไปจัดระเบียบบ้าน
👉👉เราอาจจะต้องหมั่นไปเจอแสงแดด  เนื่องจากแสงแดดจะช่วยให้ร่างกายเราสังเคราะห์วิตามินD ได้จากธรรมชาติ วิตามิน D จะช่วยให้แคลเซียมจากอาหารที่เรากินเข้าไปหรือจากอาหารเสริมที่เรากินเข้าไปดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีขึ้น ข้อแนะนำคือ เราอาจจะต้องไปเจอแสงแดดวันหนึ่งประมาณสัก 15 นาที เป็นแดดอ่อน ๆ อาจจะเลือกเป็นตอนเช้าหรือตอนเย็นก็ได้ อย่างน้อยวันละ 15 นาทีก็เพียงพอ
การออกกำลังกาย ให้เหมาะสมกับวัย การออกกำลังกายที่จะช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้ ก็ต้องเป็นการออกกำลังกายที่มีน้ำหนักลงบริเวณข้อต่อต่าง ๆ เช่น การเดินเร็ว ๆ การวิ่งเหยาะ ๆ หรือการเต้นแอโรบิกสำหรับผู้สูงอายุจะช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้ ทำให้มวลกระดูกแข็งแรงขึ้น นอกจากการออกกำลังกายจะช่วยเรื่องของมวลกระดูกแล้ว ยังจะช่วยให้กำลังกล้ามเนื้อมีสมรรถภาพที่ดี สมรรถภาพของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อต่าง ๆ จะดี และช่วยป้องกันการพลัดตกหกล้มได้อีกทางหนึ่ง
กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น อายุเยอะ บางคนมีปัญหาเรื่องข้อ ข้อเข่าเสื่อมบ้าง ข้อสะโพกมีปัญหา หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท บางคนมีเรื่องโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไตต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นข้อจำกัดในการออกกำลังกายทั้งสิ้น แนะนำว่า อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลในเรื่องของข้อจำกัดในการออกกำลังกายของเราว่าเราสามารถทำการออกกำลังกายที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้
 
Cr.ข้อมูลโดย
อ. นพ.กุลพัชร จุลสำลี
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ
สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
storyคนอยากเล่า
24/08/64:
โฆษณา