24 ส.ค. 2021 เวลา 11:07 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เฟดลดวงเงิน QE แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับตลาดหุ้น?
1
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เฟดมีการเปิดเผยรายงานการประชุม สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นไฮไลท์ ก็คือ ความเห็นของคณะกรรมการแต่ละท่าน ที่ให้ความเห็นต่อการลดขนาดวงเงิน QE (QE Tapering) ซึ่งโดยสรุปเลยนะครับ 4 ใน 15 ท่านของกรรมการเฟดที่มีสิทธิโหวต มองว่า เฟดควรลด QE ทันทีเลยในการประชุมครั้งถัดไป ขณะที่ อีก 6 ใน 15 ท่าน มองว่า เฟดควรเริ่มสื่อสารกับตลาดว่า จะเริ่มทยอยลดวงเงิน QE และอีก 5 ท่าน รวมคุณเจอโรม พาวเวลด้วย มองว่า ตอนนี้อาจจะเร็วเกินไปที่จะทำอะไร ขอรอดูสถานการณ์ก่อน
3
แต่โดยสรุปคือ คณะกรรมการ FOMC ที่มีสิทธิโหวตในปีนี้ 10 ใน 15 ท่าน มองว่า เฟดยังไงก็ต้องลดวงเงิน QE ไม่ช้าก็เร็ว
2
แล้วในอดีต ตอนเฟดประกาศลด QE เกิดอะไรขึ้นกับตลาดหุ้น?
1
ผมลองหาข้อมูลการตอบรับของตลาดหุ้นเมื่อตอนที่เฟดทำ QE Tapering ตอนปี 2013 โดยมี Timeline คร่าวๆตามนี้
29-30 ม.ค. เฟดเริ่มมีการอภิปรายถึงต้นทุนและผลประโยชน์ของ QE3 ที่เริ่มในเดือนก.ย. 2012 โดยเข้าซื้อพันธบัตรที่วงเงิน $85 Billion ต่อเดือน ตอนนั้น Unemployment Rate อยู่ที่ 7.9% ขณะที่ PCE Inflation อยู่ที่ 1.7%
2
22 พ.ค. นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดในตอนนั้น แถลงต่อสภาคองเกรส ว่า “If we see continued improvement and we have confidence that that’s going to be sustained then we could in the next few meetings ... take a step down in our pace of purchases,”
3
30-31 ก.ค. เฟดหารือกันถึงวิธีที่ดีที่สุดในการสื่อสารกับตลาดว่าจะลดการซื้อสินทรัพย์ Unemployment 7.5% และ PCE Inflation อยู่ที่ 1.5%
17-18 ธ.ค. หลังจากการถกเถียงกันมานานกว่า 1 ปี เฟดได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการกระตุ้น จากเดิมเข้าซื้อเดือนละ $85 Billion จะลดวงเงินเข้าซื้อเดือนละ $10 Billion
3
พอย้อนกลับไปดูตลาดหุ้นช่วงปี 2013-2014 ที่มี Taper Tantrum (ส่งสัญญาณลดวงเงินกระตุ้น) และ QE Tapering (ลดวงเงินกระตุ้นจริงๆ) จะพบว่า ดัชนี S&P500 มีการปรับฐานเป็นช่วงๆ แต่ไม่ได้รุนแรงอะไร โดยความแรงของการปรับฐานอยู่ที่ -4% ถึง -6% เพียงแค่นั้น
1
แต่กลับกัน พอลองไปดูตลาดหุ้น Emerging Markets ในช่วงเวลาเดียวกัน มีการปรับฐานแรงถึง 2 ครั้งด้วยกัน คือช่วงเดือนพ.ค. 2013 ลบไปถึง -18% และช่วงเดือนพ.ย. 2013 - ม.ค. 2014 ร่วงไปถึง -15%
ขณะที่ SET Index ปีนั้น กลายเป็นขาลงตั้งแต่เดือนพ.ค. ไปทำจุดต่ำสุดตอนเดือนธ.ค. ลบจากระดับสูงสุดของปีไปถึง -26%
1
จากข้อมูลในอดีตคร่าวๆที่เห็น จะพบว่า การลดขนาดวงเงิน QE ดูจะมีผลกับตลาดหุ้นเกิดใหม่มากกว่า โดยเฉพาะกับหุ้นไทยเรา ที่กลายเป็นขาลงระยะกลางเกิน 7 เดือน ซึ่งแน่นอนว่า จริงๆ มันคงมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
3
QE Tapering รอบนี้ ต่างจากรอบที่แล้วปี 2013 อย่างไร?
อย่างแรก ขนาด Balance Sheet หรือ งบดุลของเฟด ต่างจากวันนั้นราวฟ้ากับเหว วันนี้ขนาดงบดุลของเฟดอยู่ที่ $8.1 Trillion หรือ 8.1 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่างจากปี 2013 ที่เริ่มส่งสัญญาณคุยกับเรื่องลดขนาดงบดุล ตอนนั้นขนาดงบดุลอยู่ที่ $2.75 Trillion หรือ 2.75 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯเพียงเท่านั้น
3
อย่างที่สอง คือ รอบ QE3 ที่ประกาศมาตั้งแต่เดือนก.ย. เฟดประกาศว่า จะทยอยซื้อพันธบัตรและ MBS รวมกันในวงเงินเดือนละ $85 Billion หรือ เดือนละ 85,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ขณะที่ QE Infinity ที่ประกาศมาตั้งแต่เดือนมี.ค. 2013 เฟดประกาศว่า จะทยอยซื้อพันธบัตรและ MBS รวมกันในวงเงินเดือนละ $120 Billion หรือ เดือนละ 120,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ มากกว่าตอนนั้นราวๆ 35,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯต่อเดือน ทำให้การเร่งตัวของขนาดงบดุลอยู่ในระดับที่เร็วกว่าในอดีต
2
อย่างที่สาม คือ จากข้อสอง แปลว่า ถ้าเฟดเลือกลดวงเงินในอัตราเท่ากับตอน QE Tapering ปี 2013 คือ ลดการเข้าซื้อเดือนละ $10 Billion เฟดจะยุติ QE รอบนี้ช้ากว่ารอบที่แล้ว ซึ่งอาจไม่เป็นไร เพราะตลาดก็คาดไว้แล้วว่า เฟดจะใช้เวลา อย่างเร็วสุดก็การประชุมครั้งสุดท้ายของปี 2022 ในเดือนธ.ค. ถึงค่อยพิจารณาขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก
3
แต่หากเฟดประกาศลดวงเงินเข้าซื้อเร็วกว่าครั้งนั้น (ลดวงเงินมากกว่าเดือนละ $10 Billion) ความไม่แน่นอนเรื่องระยะเวลาในการขึ้นดอกเบี้ย จะถูกกลับมาพูดถึงอีกครั้งทันทีว่า มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ตอนแรกหรือเปล่า
2
ซึ่งประเด็นหลังนี้ ไม่ถือว่าเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นเท่าไหร่ เพราะหากขึ้นดอกเบี้ย จะทำให้ Cost of Fund ของทั้งระบบสูงขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้เดิม ดูดสภาพคล่องส่วนเกินที่อยู่ออกไปเร็วกว่าเดิม
1
และสภาพคล่องเหล่านั้น เป็นที่เข้าใจตรงกันว่า ส่วนหนึ่งวิ่งเข้ามาในตลาดหุ้นและทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯและอีกหลายๆตลาดดัชนีอยู่ในระดับ All Time High อยู่ตอนนี้
1
จะยกเว้นก็แค่ตลาดเกิดใหม่ ที่นับตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์ปี 2008 เป็นต้นมา Underperform อย่างต่อเนื่องเลย
ภาพด้านบนนี้ จาก Bloomberg จะเห็นว่า เมื่อเทียบ Performance ของ MSCI Emerging Markets Index กับ MSCI World Index นับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา วิ่งได้ช้ากว่ามาตลอด จนถูกตั้งคำถามว่า วิกฤตโควิด-19 รอบนี้ จะยิ่งถูกทิ้งมากขึ้นไปอีกหรือเปล่า?
1
แล้วรอบนี้ เฟดจะส่งสัญญาณ QE Tapering เมื่อไหร่?
สัปดาห์ก่อนเขียนบทความนี้ มีนักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งเชื่อว่า นายเจอโรม พาวเวลอาจเลือกใช้งานสัมนาวิชาการประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มี Fed สาขาแคนซัสซิตี้ เป็นเจ้าภาพ และมีชื่อเรียกที่นักลงทุนติดปากว่า “Jackson Hole”
1
แต่มาวันนี้ มุมมองส่วนตัว ผมมองว่า เฟดน่าจะไปส่งสัญญาณในการประชุม FOMC เดือนก.ย. วันที่ 21-22 มากกว่าแล้ว สาเหตุเพราะ
1. ในการประชุม Jackson Hole ปีนี้ ทางเจ้าภาพเลือกที่จะจัดแบบ Virtual Conference โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นไปตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และความปลอดภัยของผู้มาร่วมงานทุกคน (ก็แน่นอนนะครับ สมาชิดเฟดระดับสูงแต่ละท่านก็อายุไม่น้อยกันแล้ว) สะท้อนชัดเจนว่า เจ้าไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ยังคงอยู่ในความกังวลของผู้กำหนดนโยบายการเงินอยู่ตอนนี้
2
2. หากเลือกการส่งสัญญาณออกไปเพื่อรอดูพัฒนาการที่น่าสนใจ คือ การที่ FDA อนุมัติให้วัคซีนจากบริษัท Pfizer-BioNTech เป็นวัคซีนเต็มรูปแบบ ก็จะทำให้ความมั่นใจต่อสถานการณ์ในภาพรวมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะการอนุมัติครั้งนี้ หลายฝ่ายเชื่อว่า จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับชาวอเมริกันที่ยังไม่ได้เข้าฉีดวัคซีนไม่มากก็น้อย และเชื่อว่า Moderna กับ Johnson & Johnson ก็น่าจะได้รับการอนุมัติจาก FDA มาไม่ช้าก็เร็ว
4
ถ้าประกาศมาว่าลด QE Tapering แน่ๆ เราควรเตรียมรับมืออย่างไร?
มองในแง่ร้ายสุดๆไปกันก่อน (ซึ่งโอกาสเกิดอาจจะต่ำมากๆ) คือ Bloomberg มีการทำข้อมูลให้เราดูตามรูปด้านล่าง
Bloomberg พยายามจะบอกว่า ทุกครั้งที่ดัชนี S&P 500 มี Major Correction และปรับตัวขึ้นมาจากจุดต่ำสุดเกิน 100% จะตามมาด้วย Correction ระดับรุนแรงแทบทุกครั้งเลย ใครที่เชื่ออดีต เห็นภาพนี้ ก็อาจจะกังวลหน่อยๆ
แต่ก็ต้องมองประกอบกันต่อว่า แล้วการปรับฐานแรงมันจะมาจากอะไร?
ซึ่งมุมมองในแง่ดีก็มี อย่างกรณีคุณเคที่ วู้ด แห่ง ARK Invest ก็เพิ่งให้สัมภาษณ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า การที่ทุกคนยังกังวลเรื่องฟองสบู่ในตลาดหุ้น มันแปลว่า ฟองสบู่ยังไม่แตกหรอก เพราะก่อนแตกทุกครั้งในอดีต มันมาจากการไม่ทันตั้งตัว
1
ส่วนมุมมองผม มองว่า ตัวเลขที่น่าสนใจหลังจากนี้ จะเป็นตัวเลขเศรษฐกิจจริงๆว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมันกลับมาไหม และถ้าดูที่ภาคการบริโภคภายในสหรัฐฯ จะพบว่า ตัวเลขยอดค้าปลีกเดือน ก.ค. ออกมาเติบโตต่ำกว่าคาดที่ -1.1%
รวมถึง ที่ Bloomberg Consensus รวบรวมมาพบว่า นักวิเคราะห์เริ่มปรับคาดการณ์ GDP ปี 2022 สหรัฐฯ ลง แปลว่า มาตรการกระตุ้นแบบเยอะๆที่ปีนี้มี จะไม่มีแล้วในปีหน้า และความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังต้องตามดูเรื่อยๆ
เมื่อเป็นแบบนี้ เฟดจะกล้าถอน QE ออก หรือ กล้าขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆได้จริงหรือ? เฟดเรียนรู้มาตลอดแล้วว่า ถ้าใส่ใจ Sentiment ตลาด ใส่ใจความเห็นนักลงทุน ความมั่นใจที่เกิดขึ้นก็เป็นตัวทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ เพราะเงินนักลงทุนก็อยู่ในนั้น ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นก็เกิด Wealth Effect ตามไปด้วย
ปัญหามันอยู่ที่ว่า โลกหลังโควิด คนที่ไม่ได้มีเงินอยู่ในตลาดหุ้น เขาไม่ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงินแบบที่เป็นอยู่ มันมีแต่จะทำให้เกิด Inequality เพิ่มขึ้น (คนรวยก็รวยขึ้นไป คนจนก็ยังจนเหมือนเดิม) ซึ่งเรื่องนี้ เป็นปัญหาระยะยาวในเชิงโครงสร้างที่ทุกรัฐบาลต้องแก้โจทย์กันต่อไป
1
เพราะทุกคนมีแต่บอกกันว่า “เอาวันนี้ให้มันผ่านไปให้ได้ก่อน”
1
แหล่งที่มาข้อมูล :
1
Mr.Messenger รายงาน
โฆษณา