24 ส.ค. 2021 เวลา 16:30 • สุขภาพ
"กัญชา VS ความเครียด"
"ความเครียด วิตกกังวล และอาการนอนไม่หลับ เป็นสาเหตุหลักที่คนส่วนใหญ่ใช้กัญชาทางการแพทย์รักษา รองจากอาการปวด"
/ ด้วยสถานการณ์ Covid-19 ที่แพร่ระบาดกันอย่างหนักหน่วงทั่วทั้งโลกอยู่ ณ ขณะนี้ ส่งผลกระทบต่ออาชีพการงาน การเงิน ความสัมพันธ์ และเกือบในทุกด้านของชีวิต จึงทำให้ผู้คนเกิดภาวะ "ความเครียด" ขึ้นโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ซึ่งการตอบสนองต่อความเครียดที่สูงขึ้นจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก เพราะความเครียดทำให้มีการสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอลที่ไปเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตให้สูงขึ้น กระตุ้นกระเพาะและลำไส้ให้เร่งการย่อยอาหาร เมื่อนานเข้าก็เกิดเป็นความเครียดสะสมเรื้อรัง จนอาจนำไปสู่โรคไมเกรน ภาวะซึมเศร้า ไบโพลาร์ โรคจิตเภชต่างๆ และอาจพัฒนากลายเป็นโรคร้ายแรงในขั้นต่อไปได้
/ "กัญชาทางการแพทย์" จึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับในช่วงเวลาแบบนี้ เพราะในปัจจุบันมีงานวิจัยมากมายที่กล่าวว่าพืชกัญชามีสารสำคัญที่ส่งผลต่อสารสื่อประสาทในร่างกายโดยตรง “เพื่อช่วยบรรเทาความเครียด ลดอาการวิตกกังวล และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น” เราลองมาทำความรู้จักสารเหล่านี้กันนะครับ
สารสำคัญ 2 ประเภทหลักที่มีอยู่ใน "กัญชา"
- "เตตระไฮโดรแคนนาบินอล" (THC) เป็นสารเคมีที่ทำงานกับระบบตอบสนองในสมองและระบบประสาท ที่ทำให้รู้สึกสุขสบาย หรือ high ใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และช่วยในการนอนหลับ
- "แคนนาบิไดออล" (CBD) เป็นส่วนประกอบอีกหนึ่งตัวที่สำคัญที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ช่วยต้านการอักเสบ ช่วยเพิ่มสารเซโรโทนิน ทำให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย และกำลังเป็นที่สนใจอย่างมากสำหรับการรักษาภาวะซึมเศร้าในวงกว้าง
/ การศึกษาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 โดยนักวิจัยจากสถาบันวิจัยการเสพติดของ University at Buffalo พบว่าสารประกอบทางเคมีในสมองที่เรียกว่า “เอ็นโดแคนนาบินอยด์” (Endocannabinoids) ซึ่งเชื่อมโยงกับสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของมนุษย์โดยตรง สามารถถูกกระตุ้นจากสารประกอบที่ใช้งานอยู่ในกัญชา
ในการทดสอบนักวิจัยพบว่าคนไข้กลุ่มที่มีความเครียดเรื้อรัง จะมีการผลิตเอ็นโดแคนนาบินอยด์ต่ำกว่าสภาวะปกติ ส่งผลให้สารแห่งความสุขต่างๆลดลงตามไปด้วย รวมไปถึงอาการวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้น และที่สำคัญคือกระทบต่อการนอนหลับซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคต่างๆตามมาอีกมากมาย
/ ดังนั้นการเสริมสารสำคัญตัวเดียวกันนี้จากพืชกัญชา จึงเป็นวิธีการรักษาที่มีประโยชน์ในการฟื้นฟูการทำงานของเอนโดแคนนาบินอยด์ตามปกติและช่วยบรรเทาอาการเครียด ลดความวิตกกังวล ปรับสภาพในการนอนหลับ รวมไปถึงยังช่วยในการลบความทรงจำที่เกี่ยวโยงกับความเครียดได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ในกัญชายังมี ลินาโลออล (Linalool) ที่มีฤทธิ์ต้านการซึมเศร้า ช่วยทำให้รู้สึกสงบ และ
ลิโมนีน (Limonene) ซึ่งเป็นสารคลายกังวลที่รู้จักกันดีที่เป็นตัวช่วยเพิ่มระดับของโดปามีนในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส และเพิ่มระดับของเซโรโทนินในสมองส่วนหน้า ซึ่งสมองทั้ง 2 ส่วนนี้มีความสำคัญในการรักษาอาการทางอารมณ์และอาการวิตกกังวลอีกด้วย
"ประวัติด้านความปลอดภัยของการใช้กัญชา"
/ จากการศึกษาวิจัยการใช้กัญชาทางการแพทย์ซึ่งได้ผลดีกว่ายากระตุ้นตัวรับ GABA กลุ่มเบนโซไดอะซิปีนและกลุ่มที่ไม่ใช่เบนโซไดอะซิปีน อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะติดยาหรือเกิดอาการขาดยาได้น้อยกว่ามาก กัญชาไม่ทำให้อาการนอนไม่หลับหรืออาการวิตกกังวลย้อนกลับมาเมื่อหยุดใช้ และไม่มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากการใช้ยาเกินขนาดโดยเจตนาหรือโดยไม่ตั้งใจ
/ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แนะนำว่าการใช้ THC และ CBD ร่วมกันในอัตราที่ 1:2 ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับการใช้ผ่านทางปาก ส่วนการสูดดมไอระเหยหรือควันกัญชาขนาดน้อยๆหนึ่งครั้งก่อนนอน ก็เพียงพอสำหรับการบรรเทาความเครียด (ซึ่งแนะนำให้ใช้ CBD : THC ในอัตราส่วน 10:1 เพื่อหลีกเลี่ยงอาการมึนเมา)
*** การได้รับยาปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้ได้รับประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย แต่ถ้าหากได้รับปริมาณที่มากเกินไปก็อาจจะส่งผลในทางที่ไม่ดีได้เช่นกัน มนุษย์ทุกคนย่อมมีจุดพอดี ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับตัวรับสารในร่างกายของแต่ละบุคคลด้วย ควรอยู่ภายใต้การดูแลและคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัย ☺
แหล่งที่มา :
- หนังสือ Cannabis Pharmacy กัญชาทางการแพทย์
#medicalcannabis #cannabisismedicine #helppeoplewithcannabis #cannabis #cannabisrelief #relief #stress #anxiety #depression #endocannabinoids #THC #CBD #ช่วยคนด้วยกัญ #กัญชาทางการแพทย์ #โควิด19พวกเราต้องรอด #COVID19
โฆษณา