Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Talk with Nooh
•
ติดตาม
25 ส.ค. 2021 เวลา 03:56 • ครอบครัว & เด็ก
พ่อแม่หลายๆท่าน มักกังวลว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่ เพราะว่า ซนมาก อยู่ไม่นิ่งเลย พูดไม่หยุด ไม่ค่อยฟังที่ผู้ใหญ่พูด ไม่รอคอย ก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง ฯลฯ แล้วจะช่วยลูกอย่างไรดี เพื่อที่เด็กจะได้ปรับตัวและใช้ชีวิตตามปกติในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนะนำว่าหากกังวลมากๆ ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อประเมินและเข้ารับการรักษา ยิ่งเรารักษาเร็วเท่าไหร่ ลูกของเราก็จะปรับตัวได้เร็วขึ้นเท่านั้นนะคะ💕
การรักษามี 2 แบบ คือ
1. ปรับพฤติกรรม
2. ทานยาร่วมกับปรับพฤติกรรม
วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการปรับพฤติกรรมที่บ้าน เมื่อลูกไม่นิ่งกันค่า🥰
ก่อนอื่นพ่อแม่ต้องเข้าใจพื้นฐานธรรมชาติของเด็กๆในแต่ละช่วงอายุเป็นอันดับแรก (ถ้าไม่ทราบ ลองเปิดหาข้อมูลในกูเกิ้ลนะคะ #พัฒนาการทางภาษาเด็กแต่ละวัย #พัฒนาการเด็ก) แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาประเมินลูกของเราว่าเป็นอย่างไรบ้าง 👉👉ขอแนะนำนิดนึงนะคะว่า ประเมินแบบตรงไปตรงมาไม่ลำเอียงหรือคาดหวังเกินความเป็นจริงนะคะ 👈👈
เช่น เด็กวัย 1-2 ขวบ จะซนไม่นิ่ง ปีนป่าย รื้อค้นสิ่งของเป็นประจำ สิ่งนี้ถือว่าปกติธรรมดานะคะ หรือ เด็กวัย 3-4 ขวบ พูดคุยเก่ง พูดโต้ตอบเป็นเรื่องราว แต่ยังพูดอธิบาย เล่าเรื่องให้ฟังไม่ได้ แบบนี้ก็ถือว่าปกติธรรมดาตามพัฒนาการนะคะ ส่วนเรื่องความสนใจจดจ่อนี่แหละค่า ที่มีสำคัญว่าเพียงพอต่อการเล่น การเรียนรู้ของเด็ก เพื่อส่งเสริมหรือพัฒนาภาษาความเข้าใจของเด็กหรือไม่
1.พยามยามเข้าไปมีส่วนร่วมกับเด็กในทุกๆกิจกรรม อย่าปล่อยให้เล่นคนเดียว พยายามเป็นเพื่อนเล่น เพื่อนคุยกับเด็ก จะทำให้เด็กมีต้นแบบมีแนวทางในการคิด การเรียนรู้ เลียนแบบ จดจำได้ดี ถึงแม้เด็กจะยังทีอายุน้อย เราสามารถเล่นชักนำให้เด็กเลียรแบบตามได้ง่าย เช่น เมื่อเราเล่นกับเด็ก จะมีจังหวะที่ต้องหยุดรอ และจังหวะที่ต้องเล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกัน สิ่งนี้จะสามารถฝึกการรอคอยให้เด็กได้ โดยไม่ใืนหรือบังคับเด็ก แต่ตัวผู้ปกครองต้องคอยควบคุมระยะเวลาเองว่าจะเร็วหรือนานแค่ไหนจึงจะเหมาะกับเด็ก
2. เลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคน เช่น
- ช่วงอายุ1-2 ขวบ เล่นของเล่นที่มีการเคลื่อนไหวชัดเจน เช่น ลูกบอล ตุ๊กตาบีบมีเสียง จ๊ะเอ๋ ไล่จับ ร้องเพลงและโยกตัวตามจังหวะ เป็นต้น
- ช่วงอายุ 2-3 ขวบ เล่นของเล่นเป็นบทบาทสมมติง่ายๆในสถานการณ์ชีวิตประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว กินข้าว เป็นต้น เล่นเป็นเหตุการณ์แต่ยังไม่เชื่อมโยงเป็นเรื่องเป็นราวนัก วัยนี้ถ้าเห็นอะไรก็จะเลียนแบบนำมาเล่นตาม อยู่ในวัยทดลองและจดจำได้ดี พยายามเล่นกับเด็กและสอนให้เด็กคิดตัดสินใจเลือกทำเองมากที่สุด อย่าชี้นำมากเกินไป อย่าสั่งหรือบังคับ เพราะวัยนี้จะต่อต้านง่าย แนะนำว่าให้คล้อยตามและชื่นชมเด็ก จะช่วยให้เราสอนหรือชักนำให้ทำกิจกรรมได้ง่ายขึ้นมากค่า💕 💢อย่าปล่อยให้เล่นโทรศัพท์ ดูทีวีบ่อยๆ เพียงเพราะเห็นว่าลูกทำตามสิ่งที่ดูไปได้นะคะ จะทำให้เด็กขาดทักษะอื่นๆที่จำเป็นในอนาคต💢
3. เมื่อเด็กเติบโตขึ้นการเล่นอาจไม่จำเป็นกับเด็กมากนัก แต่กิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มสมาธิจดจ่อให้กับเด็กได้คือ กิจกรรมงานบ้าน กีฬาต่างๆ เล่นดนตรี งานศิลปะอ่านหนังสือ ซึ่งเราต้องเลือกให้เหมาะสมกับความสามารถของเด็กๆนะคะ เช่น
- ช่วงวัย 3-4 ขวบ ยังไม่สามารถรับผิดชอบตัวเองได้ ให้พยายามช่วยเหลือตนเองให้มากขึ้น เช่น ทานข้าวเอง แต่งตัวเอง ช่วยเก็บของเล่น เก็บขยะ เป็นต้น
- ช่วงวัย 4-5 ขวบ เริ่มที่จะรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น เข้าใจกฎเกณฑ์ง่ายๆมากขึ้น เราสามารถให้เด็กทำกิจกรรมนั่งโต๊ะได้นานขึ้น อาจใช้งานศิลปะในการดึงดูดความสนใจเด็กได้ เช่น วาดรูประบายสี ต่อเลโก้เป็นรูปต่างๆ ตัดแปะกระดาษ พับสานกระดาษ เป็นต้น พยายามเลือกกิจกรรมที่ง่ายกับเด็กก่อนเสมอแล้วค่อยๆปรับให้ยากขึ้นตามลำดับ วัยนี้สามารถช่วยงานบ้านได้มากขึ้นพยายามชักชวนให้เด็กมีส่วนร่วมบ่อยๆอย่าลืมชื่นชมและไม่บังคับเด็กๆ จะทำให้ปรับพฤติกรรมได้ง่ายขึ้น
4. ในเด็กที่รู้ความ เข้าใจกฎกติกา สิ่งที่สำคัญมากในการปรับพฤติกรรมคือ ระเบียบวินัย เราต้องสอนโดยทำข้อตกลงกับเด็ก อย่าลืมให้เด็กออกความเห็นและเลือกกติกาข้อบังคับเองนะคะ🥰
-ช่วงวัย 6-7 ปี ใช้กิจกรรมกีฬา เพื่อให้เด็กเรียนรู้กฎกติกา การแพ้การชนะ การอดทนอดกลั้น การให้อภัย หรือการรับผิดชอบงานบ้านง่ายๆ เช่น กรอกน้ำใส่ตู้เย็น จัดโต๊ะอาหาร พับเก็บเสื้อผ้า ฯลฯ โดยให้รับผิดชอบเอง ไม่ใช่ผู้ปกครองต้องบอกให้ทำทุกครั้งแบบนี้ไม่เรียกว่ารับผิดชอบงานได้
❇️เด็กบางคนสมาธิไม่เพียงพอต่อการเรียนหนังสือ แต่สามารถเล่นเกมส์โทรศัพท์ได้นาน เราต้องพยายามเปลี่ยนกิจกรรมให้เด็กเลิกสนใจโทรศัพท์และทำกิจกรรมที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างมากขึ้น
❇️เด็กบางคนสมาธิในการควบคุมตนเองน้อย รอคอยไม่ได้ พูดแทรก ไม่นิ่ง เราต้องทำให้เด็กดูเป็นตัวอย่างว่าทำได้ ไม่ใช่พูดบอกให้เด็กทำเพียงอย่างเดียว วิธีนี้จะใช้เวลานานกว่าจะปรับเปลี่ยนได้ แต่มันเป็นวิธีที่เด็กไม่รู้สึกว่าตนเองถูกบังคับมากนัก เช่น การรอคิว , การนั่งรอนิ่งๆ ซึ่งถ้าทำแบบนี้ในห้องเรียนจะง่ายเพราะมีเพื่อนเป็นตัวอย่างและรอคอยเป็นเพื่อนกันด้วย , การรอการเล่นเกมส์ในตาของตัวเอง หากต้องรอคิวหลายคนจะต้องให้ความอดทนอดกลั้นมากขึ้น
✅หัวใจสำคัญในการฝึกควบคุมตนเองของเด็ก คือความภูมิใจในตนเอง เราสามารถสร้างได้จากกิจกรรมรอบตัว โดยชื่นชมเค้าจากใจจริง ฟังเค้าอย่างตั้งใจ พยายามเข้าใจและให้โอกาสเสมอ และเป็นเพื่อนที่ช่วยเหลือแนะนำที่ดี 👉ไม่มีใครจะเชื่อฟังคนที่ต่อต้านเรา หรือบังคับเราหรอกนะคะ👈
😍เมื่อเด็กอารมณ์ดี ก็จะไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์รุนแรงเกิดขึ้นนะคะ😍
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย