26 ส.ค. 2021 เวลา 11:24 • ประวัติศาสตร์
ตำนานสัตว์ประจำชาติประเทศเกาหลีใต้ : เสือโคร่งไซบีเรีย
วันนี้เราจะพามาอ่านตำนาน ที่มาที่ไปของสัตว์ประจำชาติของประเทศเกาหลีใต้ นั่นก็คือ เสือโคร่งไซบีเรีย ที่มีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ สังคม และความเชื่อของเกาหลีใต้ ความเป็นมาอย่างไร มาดูกัน
1
เริ่มจากคาบสมุทรเกาหลีกันก่อน บริเวณนี้มีสัตว์พื้นถิ่นอยู่หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นกระต่ายป่า หมาจิ้งจอก หมี และเสือ
ภูมิประเทศของคาบสมุทรเกาหลีมีภูเขาจำนวนมาก ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของเสือ โดยเฉพาะเสือโคร่งไซบีเรีย ทว่าในปัจจุบันมีจำนวนเหลือน้อยมากจนแทบจะสูญพันธุ์แล้ว
เกาหลีได้ขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนของเสือเลยก็ว่าได้ มีบันทึกทางประวัติศาสตร์เล่าว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้กับป่าและภูเขา มักจะเจอเสือเป็นประจำ จนสามารถสื่อสารกับเสือให้เชื่องและไม่ทำร้ายผู้คนได้เลยทีเดียว
แสดงให้เห็นว่าคนเกาหลีมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับเสือมานานแล้วมาจนถึงสมัยโชซอนด้วย
ตำนานที่เกี่ยวข้องเริ่มต้นในยุคประวัติศาสตร์ของเกาหลี โดยเสือ ปรากฏอยู่ในตำนานเรื่อง "ทันกุน วังกอม" ผู้ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ในตำนานของประวัติศาสตร์เกาหลี ในยุคโกโชซอน ซึ่งเป็นอาณาจักรแรกของเกาหลีโบราณ เมื่อประมาณ 2,300 ปีก่อนคริสต์ศักราช
เสือโคร่งไซบีเรีย (Credit : https://www.koreaexpose.com/search-korean-tiger/)
ตำนานเล่าว่า ...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วเทพแห่งสวรรค์ฮวางอิน (Hwan-in) มีโอรสแห่งสวรรค์ผู้หนึ่งนามว่า ฮวางอุง (Hwan-ung) ปรารถนาจะได้ลงมาใช้ชีวิตที่โลกมนุษย์ เฝ้ามองโลกมนุษย์ทุกวัน ทำให้พระบิดาเห็นใจและอนุญาตให้ลงมาใช้ชีวิตที่โลกมนุษย์ได้ โดยเลือกภูเขาแทแพคซา (ปัจจุบันคือภูเขาแพกทู หรือ ไป่โถวในภาษาจีน เป็นพรมแดนระหว่างประเทศจีนและทางตอนเหนือของประเทศเกาหลีเหนือ) ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาไฟที่มียอดหัวสีขาว เคยเป็นภูเขาไฟเก่ามาก่อน มีปากปล่องภูเขาไฟอยู่บนยอดเขา
2
ภูเขาแพกทู (Credit : Britannica)
เทพแห่งสวรรค์ฮวางอินยังได้มอบไพร่พลกว่า 3,000 คนให้ลงมาด้วย รวมถึง เทพแห่งลม เทพแห่งฝน และเทพแห่งเมฆ ก็ได้ลงมาด้วย เมื่อเทพฮวางอุงได้ลงมาใช้ชีวิตอยู่บนโลกมนุษย์ได้ตั้งชื่อดินแดนบริเวณนี้ว่า ชินซี (Shin-Si) ซึ่งแปลว่าดินแดนแห่งเทพ เทพฮวางอุงได้กลายเป็นพระเจ้าฮวางอุงปกครองผู้คนกว่า 3,000 คน โดยได้สอนให้ผู้คนเรียนรู้การเพาะปลูก การใช้ชีวิต วัฒนธรรม โรคภัยไข้เจ็บ ความดีความชั่ว และออกกฎหมายปกครองผู้คน
Credit : https://fromkoreawithlove.wordpress.com/tag/hwanin/
ขณะนั้นเอง มีหมีและเสือคู่หนึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันในถ้ำแห่งหนึ่งในหุบเขา ทั้งสองกำลังบำเพ็ญเพียรภาวนาเพื่อขอให้พระเจ้าฮวางอุงประทานพรให้ทั้งสองกลายร่างเป็นมนุษย์
พระเจ้าฮวางอุงได้ทราบถึงคำอธิษฐาน จึงรับสั่งให้หมีและเสือเข้าเฝ้า พระองค์ได้ประทานอาหารศักดิ์สิทธิ์เป็นกระเทียม 20 กลีบและหญ้า 1 มัด แก่หมีและเสือ โดยรับสั่งให้ทั้งคู่รับประทานอาหารเหล่านี้เป็นเวลา 100 วัน และหลีกเลี่ยงการโดนแสงอาทิตย์ จะทำให้ทั้งคู่กลายเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์
เวลาผ่านไป 21 วัน หมีสามารถทำตามที่พระเจ้าฮวางอุงรับสั่งได้ จึงได้กลายร่างเป็นหญิงสาว ส่วนเสือนั้นไม่สามารถทำตามรับสั่งได้ จึงยังคงเป็นเสือและอาศัยอยู่ในถ้ำตามเดิม
หมีที่ได้กลายร่างเป็นหญิงสาวแล้ว สำนึกต่อพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้าฮวางอุง จึงถวายตัวรับใช้พระองค์ตลอดมา กระทั่งเธอไม่สามารถหาผู้ชายที่จะแต่งงานด้วยได้ จึงได้อธิษฐานต่อพระองค์อีกครั้งเพื่อให้ตนได้มีบุตรสืบทอด พระองค์ได้กลายร่างเป็นมนุษย์ ทอดกายนอนข้างหญิงสาว หลังจากนั้นเธอก็ได้ให้กำเนิดโอรส นามว่า ทันกุน วังกอม มีชีวิตครึ่งเทพครึ่งมนุษย์ และต่อมาเป็นผู้ที่ได้รวบรวมเผ่าต่างๆ จนสถาปนาเป็นอาณาจักรโกโชซอน อาณาจักรโบราณของเกาหลีในเวลาต่อมา
1
แม้ว่าประวัติของพระเจ้าทันกุน วังกอม จะมีลักษณะเป็นตำนาน แต่นักประวัติศาสตร์เกาหลียกให้พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งเกาหลี ผู้สถาปนาอาณาจักรโกโชซอน ซึ่งมีเมืองหลวง คือเมืองเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือในปัจจุบัน
1
Credit : https://www.ancient-origins.net/history-famous-people/legendary-founder-korea-dangun-wanggeom-005363
อีกเรื่องนึง เป็นนิทานพื้นบ้านของเกาหลีที่เล่าต่อๆกันมา ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีที่มาที่ไปของนิทานเรื่องนี้อย่างไร แต่สะท้อนความคิดความเชื่อเรื่องกำเนิดพระจันทร์และพระอาทิตย์ของวัฒนธรรมเกาหลี
นิทานนี้มีชื่อเรื่องว่า พี่ชาย น้องสาว และ เจ้าเสือ
เรื่องมีอยู่ว่า ที่บ้านหลังหนึ่งมีแม่ ลูกชายคนโต และลูกสาวคนเล็ก อาศัยอยู่ด้วยกัน 3 คน อยู่มาวันหนึ่ง ผู้เป็นแม่ต้องออกไปตลาดเพื่อซื้อข้าว ได้บอกกับลูกๆไว้ก่อนออกจากบ้านว่า เธอจะกลับมาก่อนเวลากลางคืน และให้ระมัดระวังตนระหว่างที่เธอไม่อยู่ ลูกๆก็รับปาก ระหว่างที่ผู้เป็นแม่ไม่อยู่ เด็กๆก็ใช้เวลาทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆ วิ่งเล่นหน้าบ้าน ก่อนจะหมดวัน
ส่วนแม่รีบออกเดินทางไปตลาด ซื้อข้าว และรีบเดินทางกลับบ้าน แต่ด้วยน้ำหนักของข้าวสารที่เธอซื้อมา มันหนักมาก จึงทำให้เธอเดินได้ช้า เธอจึงเปลี่ยนท่ามาแบกข้าวสารไว้บนศีรษะ ทำให้เธอเดินได้เร็วขึ้น
1
ทันใดนั้นเอง ระหว่างที่เธอกำลังเดินอยู่ เสือตัวหนึ่งได้กระโดดออกมาจากข้างทาง
ผู้เป็นแม่ตกใจกลัวจึงรีบวางข้าวสารทิ้งไว้และรีบวิ่งหนี แต่เสือนั้นเร็วกว่า มันรีบวิ่งตามมา มันทั้งหิวและโหย จึงหวังว่าผู้เป็นแม่จะเป็นอาหารเย็นมื้อใหญ่สำหรับมันได้
ผู้เป็นแม่วิ่งหนีไม่คิดชีวิต ทั้งเสื้อคลุมและรองเท้าต่างกระเด็นหลุดออก แต่ก็ไม่ทันเจ้าเสือที่หิวโหย กระโจนเข้าใส่แม่และกินเธอเข้าไปจนหมด
เจ้าเสือคิดในใจว่าแม่นั้นอร่อยจริงๆ มันนึกอยากกินลูกๆของเธอด้วย ดังนั้นมันจึงปลอมตัวใส่เสื้อคลุมและรองเท้าของแม่ที่ทำหลุดทิ้งไว้ แบกข้าวสาร และเดินทางไปยังบ้านของเด็กๆ
เด็กๆกำลังเล่นกันอยู่ที่ลานหน้าบ้าน เห็นเสือในชุดคลุมแม่ไกลๆ คิดว่าแม่ของพวกเขากลับมาแล้ว ทั้งหมดจึงพากันเดินเข้าบ้าน
เจ้าเสือปิดบังใบหน้าโดยการนั่งหันหลังให้เด็กๆ เมื่อลูกชายคนโตเดินเข้าไปใกล้ๆก็พบว่าแม่ของเขาแทนที่จะมีผมสีดำ กลับมีผมเป็นสีเหลืองสลับดำ ส่วนลูกสาวคนเล็กเดินเข้าไปใกล้ๆ ก็เห็นว่าแทนที่แม่จะมีมือมีเท้า กลับมีอุ้งเท้าที่มีเล็บยาวแทน ทั้งสองจึงรู้ได้ทันทีว่านี่ไม่ใช่แม่ของพวกเขา จึงตะโกนออกมาพร้อมกันว่า "เสือ"
เด็กทั้งสองรีบวิ่งหนีออกมาจากบ้าน เจ้าเสือรีบวิ่งตามมา เด็กๆปีนต้นไม้เพื่อหนี ทำให้เจ้าเสือปีนตามไม่ได้ ด้วยความกลัวพวกเขาจึงได้อธิษฐานอ้อนวอนให้สวรรค์ช่วยพวกเขารอดพ้นจากเจ้าเสือ
ทันใดนั้นเอง ก็มีเชือกยาวตกลงมาจากท้องฟ้า สวรรค์โปรยเชือกลงมาช่วยเด็กๆให้ปีนขึ้นไป ขณะที่เจ้าเสือพยายามปีนขึ้นต้นไม้มาจะจับตัวเด็กๆพอดี เจ้าเสือหิวโหยมาก มันกระโดดงับปลายเชือกเพื่อให้ตัวเองปีนตามเด็กๆขึ้นไปได้
เด็กทั้งสองกลัวมาก เจ้าเสือใกล้จะจวนถึงตัวพวกเขา พวกเขาจึงได้อ้อนวอนให้สวรรค์ช่วยพวกเขาอีกครั้ง สวรรค์จึงได้บันดาลให้ก้อนเมฆบดบังไม่ให้เสือมองเห็นเด็กๆ เมื่อเด็กชายปีนขึ้นไปเหนือเมฆนี้ได้ เขาได้กลายเป็นพระอาทิตย์ ส่วนเด็กผู้หญิงได้กลายร่างเป็นพระจันทร์
2
ส่วนเจ้าเสือที่ตัวหนักอึ้ง ทำเชือกขาดจึงตกลงมายังพื้นโลก เสียชีวิตในที่สุด
เด็กทั้งสองได้รับการปกป้องตลอดไปจากสวรรค์ และจะช่วยเด็กๆบนโลกมนุษย์ในทุกๆวัน คอยส่องแสงไม่ให้เกิดอันตรายกับเด็กๆอีก
ตำนานเรื่องเสือยังปรากฏที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อขงจื๊อและศาสนาพุทธด้วย
ตัวอย่างภาพวาดที่ชื่อว่า ซานชินโด (Sansindo) เป็นภาพวาดเทพารักษ์ ผู้ดูแลรักษาภูเขา กำลังนั่งพิงเสืออยู่ เสือมักจะได้รับมอบหมายจากเทพารักษ์ภูเขาให้ช่วยดูแลความสงบเรียบร้อยและปกป้องผู้คนในหมู่บ้านจากอันตรายต่างๆ
ภาพวาดเช่นนี้ปรากฏที่วัดตามความเชื่อของศาสนาพุทธ รวมถึงศาลเจ้าในเกาหลีใต้ โดยความเชื่อเรื่องเทพารักษ์และเสือ ปรากฏเป็นทั้งภาพวาดและรูปเคารพ ซึ่งมีเยอะขึ้นในช่วงตอนกลายศตวรรษที่ 18 ในสมัยโชซอน
Credit : https://www.korea.net/TalkTalkKorea/Chinese/community/community/CMN0000005165
ศิลปะพื้นบ้านมินฮวา (Minhwa) สมัยโชซอน
ภาพวาดที่ชื่อว่า จาโคโด (Jakhodo) มีเสือดาว จาพโยโด (Jakpyodo) เป็นสัญลักษณ์ในการป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาใกล้ ส่วนนกกางเขนจะเป็นสัญลักษณ์ของข่าวดีที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นคนเกาหลีจึงนิยมนำภาพวาดนี้มาแขวนที่บ้านในวันปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติ
1
Paintings of a Tiger and a Magpie: Jakhodo (Credit : https://londonkoreanlinks.net/2019/04/23/exhibition-visit-minhwa-the-beauty-of-korean-folk-paintings/)
อีกภาพมีชื่อว่า คาชิ โฮรังงิ (Kkachi Horangi) แปลว่า เสือโง่ ศิลปินยุคนี้จะวาดเสือให้มีลักษณะที่น่าขันและโง่เขลา เป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นสูง หรือ ชนชั้นปกครองสมัยโชซอน หรือ ยังบัน (Yangban) ในขณะที่นกกางเขนเป็นสัญลักษณ์แทนสามัญชนที่ฉลาดกว่า แต่ไม่มีศักดินาและอำนาจ
ภาพวาดนี้ต้องการจะเสียดสีระบบศักดินาของเกาหลี ว่าชนชั้นปกครองหรือยังบันที่ปกครองประเทศด้วยความโง่เขลา แต่มีอำนาจมาก
Credit : https://www.korea.net/TalkTalkKorea/Chinese/community/community/CMN0000005165
เสือยังเป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจในการปกปักษ์รักษาประเทศให้รอดพ้นจากภัยพิบัติใหญ่ๆด้วย ไม่ว่าจะเป็นฝนตก น้ำท่วม พายุ ไฟไหม้
1
อวัยวะและส่วนประกอบต่างๆของเสือ เช่น อุ้งเท้า เล็บ ขน หนวด กระดูกและหนัง มักถูกนำมาเป็นของศักดิ์สิทธิด้วยเช่นกัน
หัวของเสือถูกใช้ในพิธีขอฝนของราชวงศ์โชซอน สมัยพระเจ้าแทจง เซจง มุนจง และทันจงด้วย
รูปปั้นเสือมักจะถูกนำไปวางรอบๆหลุมศพ เพื่อทำหน้าที่เฝ้าหลุมศพด้วย
Credit : https://www.korea.net/TalkTalkKorea/Chinese/community/community/CMN0000005165
เสือยังเป็นสัญลักษณ์แทนตำแหน่งของขุนนางในราชสำนักด้วย โดยจะปรากฏอยู่บนเครื่องแบบของขุนนาง
ในสมัยพระเจ้าโกจง (ค.ศ. 1863-1897) ขุนนางที่มีตำแหน่งสูงจะมีเครื่องแบบที่มีเสือ 2 ตัว ส่วนขุนนางระดับสาม จะมีเสือเพียงตัวเดียว ซึ่งแต่ก่อนใช้หมีเป็นสัญลักษณ์สำหรับขุนนางระดับสาม
1
ขุนนางควอนอุงซู สมัยโชซอน (Credit : Google Arts and Culture)
ในยุคปัจจุบัน เสือเป็นสัญลักษณ์ของผู้ปกปักษ์รักษาภูเขา อำนาจ และความแข็งแกร่ง
เสือถูกใช้เป็นมาสคอตของประเทศเกาหลีใต้ เมื่อครั้งที่ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกฤดูร้อนเมื่อปี 1988 โดยเสือมาสคอต มีชื่อว่า โฮโดริ (Hodori)
3
Hodori (Credit : https://www.flickr.com/photos/davidfmorton/10886974733)
และในงานโอลิมปิกฤดูหนาวเมื่อปี 2018 ที่เมืองพยองชาง ประเทศเกาหลีใต้ ก็ได้ใช้มาสคอตเป็นเสือโคร่งไซบีเรียขนสีขาวเป็นมาสคอต โดยใช้ชื่อว่า ซูโฮรัง (Soohorang) โดยคำว่าซูโฮ แปลว่า การปกป้อง
สำหรับเสือสีขาว คือคำว่า แพคโฮในภาษาเกาหลี มาจากตำนานความเชื่อท้องถิ่นเรื่องเสือ ที่ดูแลปกปักษ์รักษาภูเขาและธรรมชาติ แพคโฮได้กลายเป็นเทพดูแลมนุษย์ให้มีแต่ความสงบ ซึ่งเชื่อมโยงได้กับประวัติศาสตร์ของประเทศเกาหลีใต้ เรื่องการรักสงบและความสันติ
Soohorang (Credit : Olympics.com)
ซ้าย บันดาบิ (Bandabi) หมีสีดำเป็นมาสคอตของ PyeongChang Paralympic 2018 และ ขวา ซูโฮรัง เสือโคร่งไซบีเรียสีขาว เป็นมาสคอตของ PyeongChang Olympic 2018
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่จำนวนเสือโคร่งไซบีเรีย และเสือทั่วไปบนคาบสมุทรเกาหลี ลดน้อยลงมากจนแทบจะสูญพันธุ์ เสือในเกาหลีถูกล่าไปเป็นจำนวนมากช่วงที่เกาหลีถูกญี่ปุ่นยึดครอง
เกาหลีใต้ไม่มีผู้พบเจอเสืออีกเลยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1922 ที่เมืองคยองจู แต่อาจจะยังคงมีลงเหลือบริเวณตอนเหนือของประเทศเกาหลีเหนือในปัจจุบันที่ติดกับประเทศรัสเซีย คาดการณ์ว่ามีประมาณ 400 ตัว หรือาจจะน้อยกว่านั้น
1
เสือตัวสุดท้ายที่พบในปี 1921 ที่เมืองคยองจู ประเทศเกาหลีใต้
ความเชื่อเรื่องเสือ จิตวิญญาณของผู้ปกปักษ์รักษา ยังคงมีอยู่ในสังคมและวัฒนธรรมของเกาหลีใต้ในปัจจุบัน ถ้าผู้อ่านได้เคยดูซีรีส์เกาหลีเรื่อง Hotel Del Luna จะมีตอนหนึ่งที่ตัวเอกของเรื่องได้ปลดปล่อยวิญญาณของเสือที่จิตผูกติดอยู่ที่ภาพวาดหนึ่งที่มีฉากหลังคือภูเขาแพกทู ที่เราได้เล่าไปด้านบนว่าเป็นเขตพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศจีนและเกาหลีเหนือในปัจจุบัน
Credit : https://koreabyme.com/hotel-del-luna-filming-locations-in-seoul/
สำหรับในตอนถัดๆไป เราจะนำสัตว์ประจำชาติของประเทศอะไร และตำนานเรื่องเล่าใดมากฝาก อย่าลืมกดติดตามพวกเราเพื่ออ่านตอนถัดไปด้วยนะคะ
1
References:
โฆษณา