25 ส.ค. 2021 เวลา 05:50 • ครอบครัว & เด็ก
🎯เมื่อความสัมพันธ์แม่ลูกเริ่มแย่ คุณแม่ต้องรู้สิ่งนี้
ภาพจาก canva
💓ทักษะการฟังอย่างใส่ใจและการสะท้อนความรู้สึกของลูก💓
สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน
วันนี้แม่เจี๊ยบอยากจะนำความรู้ที่ได้จากการเป็นคุณแม่อาสาในโครงการ "คุณเปลี่ยนลูกเปลี่ยน" มาแบ่งปันให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการได้ทราบกันค่ะ
ช่วงนี้เรียนออนไลน์ แม่ต้องคอยประคองช่วยเป็นกำลังใจให้ลูก ๆ เรียนหนังสือไปอย่างสนุก และมีความสุข ทั้ง ๆ ที่ลูกเบื่อมาก….แม่ดูออก
👉เมื่อครูแต่ละวิชาก็ต่างคนต่างสั่งงาน เฮ้อ….ลูกก็เบื่อที่จะต้องทำการบ้าน บางทีก็ยากเกินไป จนลูกเกิดความกังวล เพราะไม่รู้จะทำอย่างไร
👉คุณพ่อคุณแม่อย่างเราก็ต้องคอยสังกตุ คอยช่วยแก้ปัญหา โดยถามลูกว่ามีอะไรให้แม่ช่วยไหม กังวลเรื่องอะไรอยู่
👉ประโยคที่แม่เจี๊ยบใช้พูดกับลูกคือ
"แม่เห็นหนูเหมือนกังวลใจอะไรบางอย่าง หนูมีอะไรจะเล่าให้แม่ฟังไหมครับ"
1
👉ประโยคแบบนี้เราเรียกว่า การสะท้อนความรู้สึก ซึ่งทำให้ลูกรู้ว่าเราเข้าใจความรู้สึกเขา
👉พอเราถามเขาแล้ว  ทีนี้เขาก็จะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เขากังวลมาให้เราฟัง ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ควรฟังอย่างตั้งใจ และไม่พูดแทรก
🌺การทำแบบนี้จะช่วยให้ลูกรู้สึกว่าแม่อยู่เคียงข้างเขาเสมอ เมื่อเขามีอะไรเขาจะไว้ใจเรา และยินดีจะมาปรึกษาเราต่อไป
💓การฟังอย่างใส่ใจและสะท้อนความรู้สึกที่ดีควรปฏิบัติดังนี้
➡️ เมื่อฝ่ายหนึ่งเริ่มพูดควรนิ่งและฟัง
➡️ มีการสบตามองหน้าหรือยิ้มเพื่อแสดงความสนใจ
➡️ ฟังอย่างตั้งใจ ไม่พูดแทรกในขณะที่อีกฝ่ายกำลังพูด
➡️ ฟัง อารมณ์ ความรู้สึก เนื้อหาสาระ
➡️ ใช้คำพูดที่แสดงถึงความเข้าใจในอารมณ์และความรู้สึก
ภาพจาก canva
🎯 ตัวอย่าง
ลูกชาย : แม่แม่ครับวันนี้ผมเรียนไม่ค่อยรู้เรื่องเลย มันยากมาก จะไหวไหมก็ไม่รู้
ความรู้สึก : กังวล
เพราะ : เรียนไม่ค่อยรู้เรื่อง
👉ประโยคสะท้อนความรู้สึก : ลูกกังวลเนื่องจาก มันยากมากและเรียนไม่ค่อยรู้เรื่อง
📣 สาระสำคัญ ของทักษะการฟังอย่างใส่ใจและสะท้อนความรู้สึก
ฟัง...เพื่อรับรู้อารมณ์ความรู้สึก
ฟัง..เพื่อเข้าใจเนื้อหา สาระ
ฟัง...เพื่อสื่อสารสะท้อน  ความรู้สึกให้เป็น
🎯 พ่อแม่ควรฟังอย่างตั้งใจ ไม่ตัดสิน หลีกเลี่ยงการบ่น
ภาพจาก canva
👉เทคนิคสะท้อนความรู้สึก
"ใช้คำถามที่ทำให้ลูกรู้สึกว่า พ่อแม่ เข้าใจตัวเอง"
➡️ ถ้าพ่อแม่สามารถเดาความรู้สึกลูกได้ถูก จะเป็นการเปิดบทสนทนา สู่เรื่องที่ ลุ่มลึก ได้ดียิ่งขึ้น
❤ อาจจะมีพ่อแม่หลายคนยังไม่รู้จะตั้งคำถามเพื่อสะท้อนความรู้สึกลูกอย่างไรดี
👉เรามาดูตัวอย่างกันค่ะ
💚ตัวอย่างการตั้งคำถามเพื่อสะท้อนความรู้สึก
👉 หนูรู้สึกอย่างไรกับเรื่อง….?
👉 หนูรู้สึก….(เดาใจ)...ใช่ไหม?
🎯 ตัวอย่าง
👉 ที่แม่ดุหนูแบบนี้ หนูรู้สึกเสียใจใช่ไหมลูก?
👉  ที่พ่อกดดัน หนูรู้สึกอึดอัดใช่ไหมลูก?
🌸ข้อควรระวัง🌸
ทักษะสะท้อนความรู้สึก ต้องใช้ควบคู่ กับทักษะการฟังอย่างตั้งใจ ไม่ตัดสินไม่สอน จนกว่าลูกจะพูดสิ่งที่อยู่ในใจออกมาจนหมด
🙏สำหรับวันนี้แม่เจี๊ยบก็ขอจบการแบ่งปันเทคนิคการสะท้อนความรู้สึก และจะมาแบ่งปันเทคนิคต่าง ๆ อีกหลายหัวข้อในบทความต่อไป อย่าลืมกดติดตามกันไว้นะคะ
🙏สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ ทีมงาน #Toolmorrow ที่จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา
🙏ขอบคุณ #สสส.
🙏ขอบคุณน้องรุ่ง (รุ่งนภา สมัครกสิกิจ) ผู้นำกลุ่ม
👉โครงการคุณเปลี่ยนลูกเปลี่ยน เป็นโครงการที่ดีมาก และแม่เจี๊ยบก็อยากจะขอบคุณทางทีมงานที่ให้โอกาสแม่เจี๊ยบได้เข้าไปเป็นคุณแม่อาสา ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งปันและได้เรียนรู้นี้
🎯เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารและกิจกรรมดี ๆกดติดตาม ลิงก์ด้านล่างไว้เลยค่ะ
📣 เพจ toolmorrow
🎯 กลุ่มคุณเปลี่ยนลูกเปลี่ยน
📣 ติดตามผลงานอื่น  ๆ  ของผู้เขียนได้ตามช่องทางด้านล่างนี้
🌺ยูทูบเจี๊ยบศรี💜
🌺  Blogger
🚩tiktok

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา