25 ส.ค. 2021 เวลา 14:43 • ไลฟ์สไตล์
เปลือกและภาพลักษณ์กินไม่ได้ แต่...ใครว่ามันสร้างมูลค่าเพิ่มไม่ได้💸💸💸
1
สวัสดีคุณผู้อ่านที่รักทุกคน วันนี้นิกกี้จะมาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเปลือกและภาพลักษณ์ ผู้อ่านที่รักอาจเคยได้ยินคนพูดว่า
“เปลือกกินไม่ได้ ภาพลักษณ์กินไม่ได้ อย่าไปติดเปลือกติดรูปลักษณ์มากมันกินไม่ได้”
แต่มีใครสักกี่คนจะหารู้มั้ยว่าภาพลักษณ์หรือเปลือกนอกนั้นมันสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในหลากหลายเรื่องแต่ เรื่องที่นิกกี้จะมาเล่าให้ฟังในวันนี้คือเรื่องของ”อาหาร”
อาหาร เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ในต่อการดำรงชีวิตที่สำคัญ เพราะคนเราทุกคนต้องกินอาหารกันทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และอาหารนั้นก็ไม่มีสิ่งที่ตามตัวกำหนดกฎเกณฑ์ได้ เพราะต่างชาติ ต่าง วัฒนธรรม ต่างการกิน ต่างวิธีการทำ ตั้งแหล่งวัตถุดิบที่นำใช้ในการทำอาหาร และอาหารก็ไม่ใครบอกว่าได้ใครใครคนไหนทำอาหารได้อร่อยที่สุดเพราะ อาหารนั้นคือเรื่องของความรู้สึกและประสาทสัมผัสในการกิน เพราะบางคนไม่กินหวานแต่อาหารจานกับมีรสชาติหวานก็จะบอกว่าไม่อร่อย และคนที่ไม่กินเค็มแต่กับทานอาหารจานที่มีรสชาติเค็มก็จะไม่อร่อย ดังนี้
การทำอาหารจึงควรทำอาหารที่มีรสชาติพอดี เป็นกลาง กลมกล่อม เช่น อาหารไทยเวลาเสิร์ฟอาหารก็ต้องมีพริกน้ำปลาบนโต๊ะอาหารเพื่อเติมหากคนกินต้องการเพิ่มรสชาติเค็มหรือพริก และส่วนอาหารฝรั่งก็เช่นเดียวกันบนโต๊ะอาหารก็ต้องมีขวดเกลือและพริกไทยเสมอ
🏊🏻‍♂️🏊🏻‍♂️🏊🏻‍♂️ออกทะเลไปไกลแล้วกลับเข้าฝั่งมานะคุณผู้อ่านที่น่ารัก สิ่งที่ตัวนิกอยากจะเล่าคือ “ศาสตร์ในการกินและประสาทสัมผัส” มนุษย์เรามีประสาทสัมผัสหลักๆได้แก่ มือ เท้า หู ตา จมูก ปาก แล้วมันจะเกี่ยวกับศาสตร์การกินยังไงใช่ไหมถ้าจะเราก็คงยาวว่ายน้ำออกทะเลกันอีกรอบกันคุณผู้อ่านที่รักแต่จะพยายามสรุปสั้นให้ฟัง
ศาสตร์ในการกิน มี 4 ข้อ ได้แก่ รูป สี กลิ่น และรส
ผู้อ่านบางคนอาจจะยังไม่เข้าใจ นิกกี้จะอธิบายให้ฟังพอสังเขปนะครับ
อย่างหนึ่งเลยก่อนที่คนเราจะรับประทานอาหารนั้น สิ่งที่เราจะต้องเจอก่อนการรับประทานอาหาร คือ “รูปลักษณ์” หน้าตาของอาหาร
 
ลองจินตนานึกคิดไปพร้อมพร้อมกัน เราจะพบได้ว่าอาหารแต่ละจานไม่ว่าจะเป็นอาหารร้านใหญ่ๆ ในโรงแรมหรูหรือแม้ว่ากระทั้งร้านอาหารริมทางเล็กๆ ก็ล้วนแต่มีการจัดแต่งหน้าอาหารให้สวยงามชวนน่ารับประทานก่อนนำมาเสิร์ฟ สิ่งที่แตกต่างกันออกไปนั้นคือภาพลักษณ์ในการจัดวางอาหาร ภาชนะจานชามที่ใส่เป็นต้น
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านโจ๊ก ร้านอาหารตามสั่ง หรือแม้ร้านขายข้าวเหนียวหมูฝอยร้านเล็กๆ ก็มีการจัดตกแต่งหน้าตาของอาหารนั้นๆ เพื่อความสวยงามชวนน่ารับประทาน และยังเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ในการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารเพราะในจานนั้นอาจจะมีหมูหรือเนื้อเพียงไม่กี่ชิ้นแต่ก็สามารถเพิ่มราคาสร้างกำไรให้กับเจ้าของร้านได้ไม่มากก็น้อย
อย่างที่สอง คือ “สีสัน” ของอาหาร ต่อให้ภาพลักษณ์ของอาหารดูสวยงามแต่ไม่มีสีสันอาหารจานนั้นก็ไม่ชวนน่ารับประทาน
หากเราเติมสีสันให้กับอาหารจานนั้นๆ อาหารจานนั้นก็ชวนน่ารับประทานมากขึ้นชวนน่าลิ้มลองยิ่งขึ้นไป เช่น อาจจะเพิ่มผักที่มีสีสันให้ดูส่วนงามชวนน่ารัปประทานมากขึ้น
หรืออาหารจานนั้นอาจเป็นสีอาหารเฉพาะเจาะจงที่ไม่สามารถแต่งเติมได้ เช่น พะโล้ หมูฮ้อ เป็นต้น
เราก็เพียงแต่ลองหาผักใบเขียว เช่น ผักชี หรือผักที่มีสีสัน มาโรยหน้าที่อาหารนิดหน่อย ก็อาจจะทำทำให้อาหารนั้นดูดีขึ้น
หรือไม่ก็ลองเลือกภาชนะที่ใช้สำหรับใส่อาหารที่มีสีสันแตกต่างออกจากสีสันอาหารออกไปอาจจะทำให้อาหารจานนั้นมีสีสันมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ข้าวยำปลาทูหรือยำปลากระป๋องเพียงแค่เราจัดแต่งหน้าตาของอาหารแต่งเติมสีสันเลือกภาชนะที่ใส่ ให้สวยงามอาหารจานนั้นนั้นก็ดูน่ารับประทานมากขึ้นและอาจจะทำให้อาหารที่ธรรมดาธรรมดาเป็นอาหารที่ดูดีมีราคามากขึ้น
อย่างที่สาม คือ “กลิ่น” ของอาหาร อาหารไม่ใช่เพียงแต่มีแค่รูปลักษณ์และสีสันที่สวยงามจะต้องมีกลิ่นหอมหวนที่ชวนรับประทานด้วย เพราะกลิ่นของอาหารจะทำให้คนเรารู้สึกอยากรับประทานอาหารมากขึ้นเป็น 2 เท่า
อย่างสุดท้ายอย่างที่สี่ นั้น คือ “รสชาติ” ของอาหาร รสชาติของอาหารคือหัวใจหลักสำคัญในการรับประทานอาหาร หากอาหารมีเพียงแค่รูปลักษณ์สีสันและกลิ่นของอาหารสวยงามดูดี
แต่รสชาติของอาหารไม่อร่อยผู้ขายก็อาจจะได้ลูกค้าท่านนั้นเพียงครั้งเดียว แต่ถ้าอาหารอร่อยสิ่งที่ตามมาคือผู้ขายจะได้ลูกค้าประจำเพิ่มขึ้นอีก 1 ราย หรือมากกว่า 1 รายโดยการบอกต่อปากต่อปาก
และหากอาหารจานนั้นอร่อยอีกทั้งมีภาพลักษณ์สีสันที่สวยงามมีกลิ่นที่ชวนน่ารับประทานก็จะทำให้อาหารจานนั้นอร่อยมากขึ้นเป็น 2-3 เท่า อีกทั้งภาพลักษณ์ของอาหารยังสามารถเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางอ้อมโดยลูกค้าที่เข้ามารับประทานอาหารในแต่ละจานอีกด้วยเพราะทุกวันนี้โทรศัพท์เป็นผู้รับประทานอาหารก่อนผู้รับประทานอาหารจะรับอาหารจริงในยุคปัจจุบันนี้หรือที่เรารู้จักกันดี “Photo eat first”🤳🏻🥗
และยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารได้หลายเท่าตัวอีกด้วย
ปล. ฝากเอาไว้ให้ผู้อ่านที่รัก
อย่างไรก็ตามถ้าจะให้อาหารมื้อนั้น เป็นมื้อที่แสนพิเศษ ก็ควรมีการจัดโต๊ะอาหารที่สวยงามเพื่อสร้างบรรยากาศและอรรถรสในการรับประทานที่ดียิ่งยิ่งขึ้นไป การจัดโต๊ะอาหารก็สำคัญไม่แพ้กับการจัดตกแต่งจานอาหารเช่นกัน
เพราะหากคุณถูกเชิญให้ไปร่วมรับประทานอาหารไม่ว่าจะที่บ้าน ร้านอาหาร หรือโรงแรม การจัดโต๊ะอาหารก็บ่งบอกถึงอะไรหลายอย่างในตัวเจ้าของงานหรือเจ้าของสถานที่นั้นนั้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นรสสนิยม ฐานะ ฯลฯ โดยดูจากภาชนะที่ใช้บนโต๊ะอาหาร อีกทั้งเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ถูกเชิญในการร่วมรับประทานอาหาร การจัดโต๊ะอาหารก็ถือเป็นสิ่งสำคัญในการรับประทานอาหารเช่นกันตลอดจนมารยาทในการรับประทานอาหาร
จึงไม่แปลกที่จะมีการเรียนมารยาทการรับประทานอาหารบนโต๊ะอาหารเพื่อเข้าสังคม เพราะสิ่งเหล่านี้มีการ สืบทอดกันมาหลายยุคหลายสมัยมีอายุนับร้อยๆปี นับตั้งแต่ยุคสมัยรีเจนซี่เป็นต้นมา และเป็นที่แพร่หลายทั่วทุกประเทศทั่วโลกและมีการปรับเปลี่ยนตามวัฒนธรรมการกินการใช้อุปกรณ์เครื่องมือในการรับประทานอาหารที่แตกต่างให้เข้ากับอาหารแต่ละประเภทในแต่ละชาตินั้นนั้นไป
ข้อมูลในบทความนี้อาจจะเป็นข้อมูลที่นำมาเล่าไม่หมดหรืออาจจะถูกบ้าง ผิดบ้างแต่เป็นการเล่าเพื่อให้เกิดความเข้าใจแบบง่ายๆ ในการเขียนบทความนี้
สุดท้ายนี้หากเพื่อนเพื่อนท่านไหนชอบบทความนี้ก็ฝากกดไลท์กดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้นิกกี้ ในการเขียนบทความในครั้งต่อไปด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ 🙏🏻🙏🏻🙏🏻
โฆษณา