29 ส.ค. 2021 เวลา 04:12 • หนังสือ
การเมืองเรื่องพระพุทธรูป
เล่มที่ 20
หนังสือว่าด้วยประวัติศาสตร์ การเกี่ยวกับพระพุทธรูปและการเมือง ในช่วงร.1-5
คือพระพุทธรูปเนี่ย ไม่ได้มีความสำคัญแค่ในมิติความเชื่อ ศาสนาอย่างเดียว เป็นที่เคารพบูชา เป็นพระประจำเมือง
แต่ยังเกี่ยวพันนัวเนียกับเรื่องการเมืองด้วย
.
เช่นในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ร.1 สร้างบ้านสร้างเมือง นโยบายหนึ่งที่ทำคือ รวบรวมพระจากหัวเมืองทางเหนือ มาไว้ในกรุงเทพ ด้วยเป้าหมายจะให้เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพุทธ
พอมาในร.3 ก็เริ่มเปลี่ยนไปเน้นทางเศรษฐกิจ เริ่มสนใจวัฒนธรรมและวัตถุจากจีน มีการรับวัฒนธรรมการตั้งเครื่องบูชาแบบจีนมาใช้บูชาพระพุทธรูป แม้ไม่มีหลักฐานชัดแต่สันนิษฐานว่า ตอนนี้เป็นช่วงเริ่มต้นที่คนนำพระเข้ามาบูชาในบ้าน ซึ่งเป็นอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน
ถึงร.4 ก็เริ่มมีความก้าวหน้าในการคิดเพราะอิทธิพลตะวันตก การอธิบายประวัติพระเริ่มเป็นประวัติศาสตร์ มี Timeline ไม่ได้เล่าแบบตำนานอภินิหารเหมือนบันทึกสมัยก่อน เช่นมีการพยายามวิเคราะห์ประวัติ ที่ไปที่มาในอดีตของพระแก้วมรกต ว่าสร้างสมัยไหน หินอะไร เป็นฝีมือช่างอะไร เป็นต้น ง่ายๆคือ ร.4เหมือนเป็นผู้เริ่มความเกี่ยวกับวัตถุแบบใหม่ ไม่ใช่จารีต ความเชื่ออย่างเดียว ซึ่งส่งผลมาถึงร.5
.
ก็เป็นหนังสือที่อ่านได้เรื่อยๆ เป็นหนังสือวิชาการ มีประวัติรายละเอียดพระแต่ยุคเป็นกระตั๊ก เช่นว่า ขนาดหน้าตักเท่าไหร่ โน่นนั่นนี่
ส่วนตัวอ่านแล้วก็ ไม่ได้หวือหวามาก แต่ก็ช่วยให้เข้าใจมุมมองของศาสนากับการเมืองได้ดีมากขึ้นเลยทีเดียว
.
อ่านแล้วก็ต้องบอกว่า ศาสนากับการเมืองไม่เคยแยกออกจากกัน
ที่แยกไม่ออก เพราะการเมืองได้เอาศาสนามาเป็นเครื่องมือเสริมอำนาจให้กับตนเอง
โฆษณา