26 ส.ค. 2021 เวลา 03:25 • การศึกษา
ดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์กาลิเลี่ยน
Jupiter & his Galileon moons
ภาพโดย วิรติ กีรติกานต์ชัย วันที่ 22 สิงหาคม 2564 เวลา 23:34 น.
ช่วงนี้ ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ หากท้องฟ้าเปิด ให้เรามองขึ้นไปบนฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จะพบกับดวงดาวที่สุกสว่างที่น่าสนใจ นั่นคือดาวพฤหัสบดีหรือจูปิเตอร์ ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะของเรา ดาวพฤหัสบดีเพิ่งผ่านช่วงที่อยู่ตรงกันข้ามกับโลก(Opposition) มาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เราจะสังเกตเห็นดาวพฤหัสบดีสว่าง ชัดเจนที่สุดและจะสว่างสุกใสต่อไปอีกหลายเดือน
บรรยากาศขณะบันทึกภาพ
หากใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์สังเกตจะพบกับดวงจันทร์จำนวน 4 ดวงได้แก่ยูโรปา แกนีมีด ไอโอและคัลลิสโต(จากภาพ คัลลิสโตอยู่นอกเฟรม) ดวงจันทร์เหล่านี้โคจรรอบๆดาวพฤหัสบดีที่ระยะห่างไม่เท่ากัน และหลายครั้งเมื่อสังเกตการณ์จากโลกเราจะพบปรากฏการณ์สุริยุปราคาบนบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี เห็นเป็นจุดดำซึ่งเป็นเงา(คราส)ของดวงจันทร์ โดยทั่วไปมักเกิดเพียงดวงเดียว ในขณะที่โอกาสพิเศษๆ ก็อาจเกิดขึ้นได้พร้อมกันถึงสองดวง
ภาพจากการสั่งถ่ายภาพด้วยซอร์ฟแวร์ดาราศาสตร์
แต่ในคืนวันที่ 22 สิงหาคม 2021 เกิดปรากฏการณ์ที่พิเศษยิ่งกว่านั้นคือในช่วงหัวค่ำดวงจันทร์ยูโรปาและแกนีมีดจะเคลื่อนที่เข้าใกล้กันจนบังกัน Occultation และเมื่อดวงจันทร์ทั้งสองโคจรผ่านด้านหน้าของดาวพฤหัสบดีก็จะสังเกตคราส(สุริยุปราคา)ของดวงจันทร์ทั้งสองบนบรรยากาศดาวพฤหัสบดีตลอดทั้งคืน
บันทึกภาพในช่วงฟ้าเปิดช่วงเวลา 23:34 น. ยังไม่เกิดคราสและหลังจากนั้นฟ้าก็เปิดจนถึงรุ่งเช้า
บันทึกภาพในคืนข้างขึ้น ก็จะได้ดวงจันทร์มาเป็นของแถมอีกหนึ่งชุด
ขณะบันทึกภาพดาวพฤหัสบดีอยู่ห่างจากโลก 600.5 ล้านกิโลเมตร(4.01406 AU - หน่วยดาราศาสตร์) หรือเท่ากับเวลาที่แสงเดินทาง 33.38 นาที
ไว้มาเล่าเรื่องชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีต่อครับ
ภาพโดย วิรติ กีรติกานต์ชัย วันที่ 21 สิงหาคม 2564
Image info :
Camera : ZWO 120 MC-S
Scope : Astrotech 127/1200 mm Achromatic with 2x barlow
Gains : 30
Exposure : 15 msec x 10 sec x 10 sets : 35% best of 4,xxx frames
Tracking : Ioptron iEQ 45 Pro
Software : ASIstudio,Pipp,Autostakkert,Registax,PS
D/M/Y Taken : 22 August 2021 16:34 UT
Location : EVERGREEN.Cafe.Hotel Chiangmai Thailand
โฆษณา