Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
27 ส.ค. 2021 เวลา 02:05 • ประวัติศาสตร์
“เส้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Passage)” เส้นทางแห่งประวัติศาสตร์การสำรวจ
“เส้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Passage)” คือเส้นทางการเดินเรือจากมหาสมุทรแปซิฟิก เข้าไปยังหมู่เกาะในแคดานาที่มีชื่อว่า “กลุ่มเกาะอาร์กติกแคนาดา (Arctic Archipelago)”
ในศตวรรษที่ 15 นักสำรวจชาวยุโรปได้เริ่มทำการสำรวจเส้นทางนี้เป็นครั้งแรก หากแต่สภาพอากาศและเส้นทางที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง ก็ทำให้การสำรวจนั้นทำไม่ได้ และการสำรวจหลายครั้งก็ล้วนแต่ล้มเหลว
ต่อมาในปีค.ศ.1906 (พ.ศ.2449) “โรอัลด์ อามุนด์เซน (Roald Amundsen)” เป็นบุคคลแรกที่ประสบความสำเร็จในการสำรวจเส้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
โรอัลด์ อามุนด์เซน (Roald Amundsen)
ในยุคปัจจุบัน สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปทำให้น้ำแข็งที่ปกคลุมเส้นทางนี้ เริ่มจะเบาบาง และทำให้การขนส่งทางเรือบนเส้นทางนี้ทำได้สะดวกขึ้น
ในฤดูร้อนปีค.ศ.2007 (พ.ศ.2550) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เส้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือปราศจากน้ำแข็ง เนื่องจากน้ำแข็งได้ละลายไปหมดแล้ว
1
สำหรับเส้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นเส้นทางที่มีระยะทางกว่า 1,400 กิโลเมตร ตั้งแต่แอตแลนติกเหนือ ไปจนถึงอลาสก้าทางตะวันตก และเป็นเส้นทางที่อยู่ภายในวงกลมอาร์กติก
การเดินทางโดยใช้เส้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือก็นับว่าอันตราย โดยตลอดเส้นทางเต็มไปด้วยภูเขาน้ำแข็ง รวมทั้งน้ำแข็งกลางทะเลที่สามารถปิดล้อมเรือไม่ให้เดินทางไปไหนได้ ต้องติดอยู่ท่ามกลางเหล่าน้ำแข็งนี้เป็นเวลานับเดือน
สำหรับแนวคิดเรื่องการค้นหาเส้นทางจากยุโรปไปเอเชียตะวันออกนั้น สามารถย้อนกลับไปได้ถึงอย่างน้อยศตวรรษที่สอง หากแต่ยุโรปได้ให้ความสนใจในการเดินทางๆ ทะเล ภายหลังจากที่จักรวรรดิอ็อตโตมันผูกขาดเส้นทางการค้าทางบกระหว่างยุโรปและเอเชียในสมัยศตวรรษที่ 15
ในปีค.ศ.1497 (พ.ศ.2040) ได้มีชาวยุโรปรายแรกที่เริ่มออกสำรวจเส้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ นั่นคือนักสำรวจชาวอิตาลีที่ชื่อ “จอห์น แคบอต (John Cabot)”
จอห์น แคบอต (John Cabot)
แคบอตได้ออกเดินทางจากบริสตอล ประเทศอังกฤษ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1497 (พ.ศ.2040) โดยมีลูกเรือเพียงแค่ 18 คน
แคบอตได้มาถึงฝั่งของเกาะชายทะเลซักแห่งแถบแคนาดา และก็เข้าใจผิดว่าตนได้มาขึ้นฝั่งของเอเชียแล้ว
ในปีต่อมา “พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ (Henry VII of England)” ได้ทรงมีรับสั่งให้แคบอตออกสำรวจอีกครั้ง และจัดการให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิม
พระองค์ทรงจัดเรือให้แคบอตห้าลำ ลูกเรืออีก 200 คน หากแต่เมื่อออกเดินทาง คณะของแคบอตก็หายสาปสูญ และคาดว่าพวกเขาน่าจะเรืออับปางกลางทะเล
ในปีค.ศ.1534 (พ.ศ.2077) “พระเจ้าฟรานซิสที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (Francis I of France)” ได้ทรงส่ง “ฌัก การ์ตีเย (Jacques Cartier)” ออกสำรวจดินแดนใหม่ แสวงหาความมั่งคั่งและเส้นทางสู่เอเชียที่รวดเร็วกว่าเดิม
การ์ตีเยออกเดินทางพร้อมเรือสองลำและลูกเรืออีก 61 คน ออกสำรวจชายฝั่งนิวฟันด์แลนด์และอ่าวเซนต์ลอเรนซ์ หากแต่ก็ยังไม่พบเส้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
ฌัก การ์ตีเย (Jacques Cartier)
การออกสำรวจครั้งที่สอง ลูกเรือของการ์ตีเยต้องเผชิญกับการระบาดของโรคลักปิดลักเปิด รวมทั้งชนเผ่าอิโรควัวส์ที่ต่อต้านและพร้อมจะโจมตี
การ์ตีเยได้จับตัวหัวหน้าเผ่าอิโรควัวส์ และนำกลับมาฝรั่งเศส ก่อนจะทูลพระเจ้าฟรานซิสที่ 1 ถึงเส้นทางที่นำสู่ตะวันตก และอาจจะไปสู่เอเชียอีกด้วย
การเดินทางครั้งที่สามของการ์ตีเยเกิดขึ้นในปีค.ศ.1541 (พ.ศ.2084) และไม่ประสบความสำเร็จ โดยหลังจากนั้น การ์ตีเยก็ได้เกษียณตัวเอง และไม่ออกเดินเรืออีกเลย
ในปีค.ศ.1609 (พ.ศ.2152) บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Dutch East India Company) ได้ว่าจ้างนักสำรวจชาวอังกฤษ ชื่อ “เฮนรี ฮัดสัน (Henry Hudson)” ให้ออกสำรวจหาเส้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
ฮัดสันได้ออกสำรวจตลอดแนวชายฝั่งอเมริกาเหนือ สำรวจหาเส้นทางๆ ใต้ ที่ปราศจากน้ำแข็ง ข้ามจากอเมริกาเหนือไปมหาสมุทรแปซิฟิก
เฮนรี ฮัดสัน (Henry Hudson)
การสำรวจครั้งนี้ก็ยังคงไม่พบเส้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ แต่ฮัดสันก็ได้ออกสำรวจอีกครั้งในปีค.ศ.1610 (พ.ศ.2153) โดยคราวนี้ เขาล่องเรือเข้าไปในอ่าวฮัดสัน ก่อนจะลอยลำอยู่กลางทะเล และคณะของฮัดสันก็ติดอยู่กลางน้ำแข็งเป็นเวลานานนับเดือน
ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ.1611 (พ.ศ.2154) ลูกเรือของฮัดสันได้ก่อกบฏ โดยเหล่ากบฏได้ยึดเรือ และไล่ฮัดสันกับคนที่ยังจงรักภักดีต่อฮัดสันลงเรือเล็ก และปล่อยให้ลอยคอกลางทะเล
จากนั้น กลุ่มกบฏก็หันหัวเรือกลับอังกฤษ ส่วนฮัดสันก็หายสาปสูญ ไม่มีใครได้พบเห็นเขาอีกเลย
ในปีค.ศ.1845 (พ.ศ.2388) “เซอร์ จอห์น แฟรงคลิน (Sir John Franklin)” นักสำรวจชาวอังกฤษ ได้ออกสำรวจพร้อมลูกเรืออีก 128 คน เรืออีกสองลำ ก่อนจะหายสาปสูญ
เชื่อว่าเรือทั้งสองลำติดอยู่กลางน้ำแข็ง ก่อนจะถูกลูกเรือทิ้ง และเป็นไปได้ว่าจะมีการกินเนื้อมนุษย์ด้วยกันเองเพื่อประทังชีวิต
เซอร์ จอห์น แฟรงคลิน (Sir John Franklin)
ในปีค.ศ.1906 (พ.ศ.2449) “โรอัลด์ อามุนด์เซน (Roald Amundsen)” นักสำรวจชาวนอร์เวย์ ได้กลายเป็นคนแรกที่เดินทางข้ามเส้นทางนี้ทางทะเล
ในปัจจุบัน ด้วยภูมิอากาศที่ร้อนขึ้น ทำให้น้ำแข็งเริ่มละลาย ทำให้เส้นทางนี้ในปีค.ศ.2007 (พ.ศ.2550) ปราศจากน้ำแข็ง และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งประวัติศาสตร์ของเส้นทางที่นักสำรวจต่างพยายามพิชิต
References:
https://www.history.com/topics/exploration/northwest-passage
https://www.swoop-arctic.com/cruises/northwest-passage/history
https://time.com/4449226/northwest-passage-brief-history/
https://arctickingdom.com/the-mystery-of-the-northwest-passage-past-and-present-explorers/
5 บันทึก
10
4
5
10
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย