27 ส.ค. 2021 เวลา 02:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
คนส่วนมากเริ่มมีเงินในบัญชีลดลง จากเดิมที่ยอดเงินฝากรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงโควิด-19
11
เงินฝากของคนไทยเริ่มลดลง
ปีครึ่งที่ผ่านมา ที่เราต้องเผชิญกับโควิด-19 เราพบว่า ช่วงแรกเงินฝากในระบบมีการเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2563 แต่มาในปีนี้ (ปี 2564) ที่โควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้น เราพบว่าเงินฝากในระบบมีการขยายตัวที่ลดลง และในไตรมาส 2 ปี 2564 ที่มาพร้อมกับการความหนักหน่วงของระบาดระลอก 3 นี้ เริ่มเห็นการลดลงของเงินฝากในบัญชีขนาดเล็ก (บัญชีขนาดไม่เกิน 5 หมื่น)
5
วันนี้ เราจะเจาะลึกลงในรายละเอียดของเงินฝากในระบบว่า ช่วงโควิดที่ผ่านมาเป็นอย่างไรและมีแนวโน้มเป็นอย่างไรกันนะคะ
📌 เงินฝากก่อนโควิดเป็นยังไง
ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีจำนวนบัญชีเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 102 ล้านบัญชี มูลค่ารวม 13.3 ล้านล้านบาท
บัญชีไม่เกิน 5 หมื่นบาท อยู่ที่ 88 ล้านบัญชี คิดเป็นเงิน 4 แสนล้าน เฉลี่ยบัญชีละ 4,712 บาท
บัญชีที่เกิน 5 หมื่นแต่ไม่ถึง 1 ล้านบาท อยู่ 11.6 ล้านบัญชี เป็นเงิน 2.66 ล้านล้านบาท (19.8%)
1
ขณะที่บัญชีมูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ที่มีบัญชีเพียง 1.55 ล้านบัญชี (1.53% ของทั้งระบบ) แต่มีมูลค่าเงินที่มากถึง 77.05% (กว่า 3 ใน 4) ของจำนวนเงินในระบบ
2
เห็นได้ว่า บัญชีส่วนใหญ่เป็นบัญชีขนาดเล็กที่มีเงินเฉลี่ยเพียง 4,712 บาท มีเพียง 1.55 ล้านบัญชีที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาทที่มีมูลค่าเงินรวมมากถึง 3 ใน 4 ของจำนวนเงินทั้งระบบ
3
📌 ตั้งแต่เกิดโควิดมาเงินฝากเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ช่วงโควิด19 ระลอกแรกมีเงินฝากเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด สูงสุดเทียบย้อนหลัง 8 ไตรมาส ซึ่งในแต่ละไตรมาสมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันตามขนาดบัญชี ดังนี้
ไตรมาส 1 ปี 2563 เงินเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากบัญชีขนาดใหญ่ที่มีเงินฝากมากกว่า 1 ล้าน
1
ไตรมาส 2 และ 3 ปี 2563 เงินเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มบัญชี
ไตรมาส 4 ปี 2563 เงินเพิ่มขึ้นในกลุ่มบัญชีที่มีขนาดตั้งแต่ 5 หมื่นบาทขึ้นไป
ไตรมาส 1 ปี 2564 เงินเพิ่มขึ้นเฉพาะในกลุ่มบัญชีขนาดเล็ก (ขนาดบัญชีไม่เกิน 5 หมื่นและกลุ่มบัญชีที่ไม่ถึง 1 ล้าน)
ไตรมาส 2 ปี 2564 (ล่าสุด) เริ่มเห็นการหดตัวของเงินฝากที่มีขนาดไม่เกิน 5 หมื่นบาท
1
โดยรวมเห็นว่า กลุ่มที่มีความมั่นคงทางการเงินสูงซึ่งเป็นผู้ที่เป็นเจ้าของเงินส่วนมากในระบบ มีการเพิ่มเงินเข้ามาเพื่อสำรองเงินสดไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน แต่บัญชีขนาดเล็กก็มีการเพิ่มขึ้นในบางช่วงเวลาเท่านั้น
1
ดังนั้น เราจะมาลงรายละเอียดของแต่ละขนาดบัญชีกันนะคะ ว่ามีความเคลื่อนไหวอย่างไร
📌 กลุ่มบัญชีขนาดเล็ก(บัญชีไม่เกิน 5 หมื่นบาท) เคลื่อนไหวตามนโยบายของรัฐ และค่าเฉลี่ยเงินต่อบัญชีลดลง
บัญชีกลุ่มนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 หรือช่วงแรกของโควิด19 แต่เริ่มมีการขยายตัวที่ชัดเจนในไตรมาส 2 ปี 2563 ซึ่งเกิดจากการขยับตัวเพื่อเงินสำรอง
เมื่อแบ่งตามประเภทบัญชี จะพบว่าเงินฝากรวมประเภทฝากประจำลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน อยู่ที่ 1-2% ต่อไตรมาส ซึ่งโดยรวมไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด19มากนัก
ในขณะที่เงินฝากออมทรัพย์ที่เป็นจำนวนเงินส่วนมากแต่ยังคงรักษาระดับที่ประมาณ 3.9 แสนล้านบาทตั้งแต่เริ่มโควิดจนถึงปัจจุบัน
เมื่อเทียบการขยายตัวของเงินฝากกับนโยบายการช่วยเหลือของรัฐพบว่าบัญชีกลุ่มนี้มีการขยายตัว ตรงกับช่วงที่รัฐบาลมีการเยียวยาในไตรมาส 2 ปี 2563 เราไม่ทิ้งกัน และนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจหลัก คนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน ม.33 และ เราชนะ ที่มีในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 และไตรมาสที่ 1 ปี 2564
ในทางตรงกันข้าม เราพบว่าไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ที่โครงการของภาครัฐ จำนวนเงินเริ่มลดลงมา ยิ่งไปกว่านั้นเงินฝากเฉลี่ยต่อบัญชีลดลงต่อเนื่องและต่ำสุดในไตรมาสล่าสุด (ไตรมาส 2 ปี 2564) เหลือเฉลี่ยต่อบัญชีที่ 4,517 บาท
2
📌 กลุ่มบัญชีขนาดกลาง (ขนาด 5 หมื่นบาท ถึง1 ล้านบาท) มีการโยกเงินฝากประจำมาที่ออมทรัพย์ ค่าเฉลี่ยบัญชีคงที่
มีการขยายตัวที่ชัดเจนในไตรมาสที่ 2 ปี 63 เช่นเดียวกับบัญชีไม่เกิน 5 หมื่นบาท ซึ่งเป็นเงินข้างนอกที่ไหลเข้ามา
หลังจากนั้นเงินฝากรวมเริ่มคงที่ และเห็นได้ว่าเงินฝากรวมประเภทฝากประจำลดลงชัดเจนในช่วงโควิด และเงินฝากออมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นในปริมาณใกล้เคียงกัน อาจเป็นการสลับเปลี่ยนเงินเพื่อเตรียมสภาพคล่องให้กับตัวเอง และค่าเฉลี่ยต่อบัญชีการเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบใกล้เคียงเดิม ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง
📌 กลุ่มบัญชีขนาดใหญ่ (มากกว่า 1 ล้านบาท) มีการนำเงินจากแหล่งอื่นเข้ามาฝากเพิ่มในช่วงวิกฤต
1
มีเงินเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในระยะแรกของโควิดทันที ในไตรมาสที่ 1 ปี 63 ผู้ฝากกลุ่มนี้มีเงินจากภายนอกไหลเข้ามา มากถึง 9.4% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แสดงให้เห็นการนำเงินมาสำรองเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉินทันทีเมื่อเริ่มเกิดวิกฤต
เมื่อแยกตามประเภทบัญชีพบว่าเงินฝากรวมประเภทฝากประจำลดลงชัดเจนในช่วงโควิด สวนทางกับเงินฝากออมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเงินในบัญชีออมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นนั้นส่วนหนึ่งมาจากการย้ายโอนจากฝากประจำมายังออมทรัพย์
2
อย่างไรก็ตามเงินจากภายนอกระบบบัญชีเงินฝากไหลเข้ามาเพิ่มในระบบด้วย
1
และช่วงโควิดระรอกใหม่ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีการเพิ่มขึ้นของเงินฝากในกลุ่มนี้อีกครั้ง (เช่นเดียวกันกับการระบาดระลอกแรก) ซึ่งสิ่งนี้แตกต่างจากผู้ฝากกลุ่มบัญชีขนาดเล็กกว่าไม่สามารถนำเงินจากการลงทุนอื่นมาเป็นเงินฝากได้
สรุป ภาพรวมเงินฝากที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ตลอดช่วงโควิด-19 มาจากกลุ่มบัญชีขนาดใหญ่ และเห็นการเพิ่มขึ้นของกลุ่มบัญชีขนาดเล็กสอดคล้อยตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาครัฐ เริ่มเห็นการหดตัวในไตรมาสล่าสุด แม้จะเห็นว่าการเพิ่มขึ้นเกิดจากบัญชีขนาดใหญ่แต่เราก็พบการนำเงินฝากประจำออกมาใช้เป็นจำนวนมาก ซึ่งสะท้อนถึงการดึงเงินมาหมุนเพื่อเสริมสภาพคล่อง ถ้าสถานการณ์โควิด19 ยังยืดเยื้อ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการ lock down อย่างต่อเนื่องและมีควบคุมการระบาดได้ไม่ดี เราอาจเห็นภาพเงินฝากที่หดตัวลงในอนาคตได้
3
ฉัทชนัน สุริยาอมรานนท์ Data Analyst Internship, Bnomics
ภาพประกอบ : ชนากานต์ วรสุข Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
โฆษณา