Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องราวจากของเก็บ
•
ติดตาม
5 ก.ย. 2021 เวลา 06:04 • ข่าว
รวมรวม เรื่องสะสม Ep.3
สวัสดี พี่ๆ ทุกท่านครับ วันนี้มีบทความสั้นๆ เกี่ยวกับวงการของสะสม จะมาแชร์ให้ทราบกันครับ
1️⃣ ใบแจ้งการออกแสตมป์ประจำปี
เป็นเอกสารที่ไปรษณีย์ พิมพ์ออกมาเพื่อแจ้งให้ทราบถึงแสตมป์ที่จะออกในปีนั้นๆ รายละเอียดในใบนี้ จะบอกชื่อชุด วันแรกจำหน่าย จำนวนดวงในแผ่น ชนิดราคา และจำนวนพิมพ์
ใบแจ้งออกแสตมป์ ไปรษณีย์จะออกก่อนปีใหม่ประมาณ 1-2 เดือน เพื่อแจ้งเตือนให้นักสะสมหรือผู้สนใจทราบ จะได้เตรียมเงินเตรียมทองกันทัน
ใบแจ้งออกแสตมป์ตามภาพด้านล่างนี่ ออกมาตั้งแต่ปลายปี 2563 แล้วครับ สำหรับปี 2564 นี้มีกำหนดออกทั้งสิ้น 21 ชุด
แต่ก็จะมีบางปีที่มีเหตุการณ์สำคัญ หรือวาระด่วนที่คาดไม่ถึง ทำให้มีการออกแสตมป์มากกว่าที่กำหนดไว้ ยกตัวอย่างเช่น แสตมป์เหรียญทองโอลิมปิค ของสมรักษ์ คำสิงห์
1
คุณสมรักษ์ได้เหรียญวันที่ 4 สิงหาคม 2539 แสตมป์ออก 16 ธันวาคม 2539 แน่นอนว่าอยู่นอกแผนการจัดพิมพ์ แต่เนื่องจากเป็นเหตุการณ์สำคัญ ทางไปรษณีย์จึงออกเพิ่ม
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ไปรษณีย์จะออกแสตมป์ที่ระลึกของกี่ฬาพาราลิมปิคบ้าง ครั้งนี้ได้หลายเหรียญเลยครับ
1
ถึงตอนนี้ผมมานั่งดู สังเกตได้ว่า แสตมป์ชุดที่ออกในปี 2564 นี้ ผมยังไม่มีสักชุดเลยครับ 😅😅😅 ผมมีเหตุผลนะครับ ถ้าเป็นแสตมป์ที่ออกตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน จะเลือกเก็บเฉพาะวาระสำคัญ หรือวาระต่อเนื่อง เช่น
ชุดนักษัตรประจำปี ออกครั้งแรก 2534 (ปีมะแม) และออกทุกปีจนถึงปัจจุบัน ครบชุดใช้เวลา 12 ปี
หรือชุดที่ครบวาระหน่วยงาน บุคคลสำคัญ 80 ปี 100 ปี เป็นต้น หรือเป็นชุดที่สวย เห็นแล้วชอบแบบนี้ก็เก็บครับ
“หากเก็บทุกชุด สุขภาพการเงินจะแย่ได้ครับ”
2️⃣ วิมัยบัตร
📌📌เคยได้ยินคำว่า “วิมัยบัตร” กันมั้ยครับ🤔🤔🤔
1
ตอนที่ได้ยินครั้งแรก รู้สึกเหมือนคำที่ใช้ในสงครามโลก หรืออะไรที่เกี่ยวกับต่างประเทศอะไรทำนองนั้น
แต่…
ไม่ใช่ครับ ถูกนิดเดียว 😅😅
วิมัยบัตร :
ฝรั่งเศส: Coupon-Réponse International (CRI)
อังกฤษ: International Reply Coupon (IRC) หรือ International Postage Voucher
เป็นบัตรที่สามารถใช้แลกเป็นแสตมป์ค่าจดหมายไปต่างประเทศที่หนักไม่เกิน 20 กรัม วิมัยบัตรสามารถหาซื้อและแลกเป็นแสตมป์ได้จากไปรษณีย์ที่เป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์ทั่วโลก (Universal Postal Union : UPU) ใช้แบบเดียวกันทั่วโลกครับ แต่ทุกๆ 4 ปีจะเปลี่ยนแบบทีนึง
วิมัยบัตรของประเทศไทย
จุดประสงค์การใช้วิมัยบัตรคือ การส่งจดหมายไปยังผู้รับต่างประเทศพร้อมทั้งค่าส่งกลับ ซึ่งถ้าหากเป็นจดหมายในประเทศก็เพียงสอด แสตมป์ หรือซองเปล่าติดแสตมป์ไปพร้อมกับจดหมาย แต่กรณีจดหมายต่างประเทศ การหาซื้อแสตมป์ของประเทศผู้รับปลายทางจะไม่สะดวก จึงใช้วิธีซื้อวิมัยบัตรและสอดไปพร้อมกับจดหมาย ผู้รับปลายทางก็สามารถนำวิมัยบัตรไปแลกเป็นแสตมป์ได้ที่ที่ทำการไปรษณีย์เพื่อติดบนจดหมายตอบกลับ
1
วิมัยบัตรควบคุมโดยสหภาพสากลไปรษณีย์ ยังมีหน่วยงานอื่นที่ออกในลักษณะเดียวกับวิมัยบัตรแต่ใช้ในวงแคบกว่า เช่น Arab Postal Union ในกลุ่มประเทศอาหรับ
ในบ้านเรา วิมัยบัตรตีตราได้ทุกปณ.ครับ ถ้าจำไม่ผิดจะมีอายุ 1 ปีหลังจากตีตราไปแล้ว และส่งไปแลกแสตมป์ที่ปลายทางได้ (ได้แสตมป์เท่ากับค่าส่งกลับสำหรับจดหมายอากาศ 20 กรัม) บางปณ.อาจจะประทับตราในวันที่ขายให้เราเลย เราต้องบอกว่าซื้อไว้เผื่อใช้ในอนาคตครับ ไม่งั้นตีตราไปเสียเปล่าเลย
วิมัยบัตรประเทศญี่ปุ่น
ที่มาข้อมูล
https://th.m.wikipedia.org/wiki/วิมัยบัตร
3️⃣ ซองใส่ใบประกาศเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (น่าจะสมัยรัชกาลที่ 5-6)
ลายมือท่านอาลักษณ์ สมัยนั้น ช่างงามน่าทึ่งวิจิตรจริงๆ เลยนะครับ (ภ.ช. ย่อมาจาก ภูษนาภรณ์ช้างเผือก อันเป็นชื่อเดิมของชั้น จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก) ด้านหน้า
ด้านหลัง (ขออภัยที่จำที่มาของภาพซองไม่ได้ครับ)
ยังมีหนังสือประกาศนียบัตรสำหรับผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกในอดีต ในที่นี้ เป็นประกาศนียบัตรของศาสตรจารย์กาลิเลโอ คินี จิตรกรชาวอิตาลีผู้วาดภาพจิตรกรรมประดับโดมเพดานของพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 นิภาภรณ์ จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
1
หนังสือประกาศนียบัตรสำหรับผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ทั้งซอง และหนังสือฯ เป็นของทรงคุณค่ามาก เป็นเครื่องบันทึกเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในดอีตได้เป็นอย่างดีครับ
ที่มาข้อมูลและจดหมาย
https://commons.m.wikimedia.org/wiki/File:Ordine_dell%27elefante_bianco_conferito_da_re_rama_VI_a_galileo_chini,_4_agosto_1913_(archivio_chini).jpg?fbclid=IwAR1OS9F14WpsrUgAZ9GUOWQRJ4_xkcoDtOqQHAQiFpNbgVTMUulGSh6x2q8
4️⃣ การขีดฆ่าบนดวงแสตมป์
แสตมป์ที่ผนึกบนซองจดหมาย หรือแสตมป์จริงๆ เป็นดวงๆ หากจะมีเครื่องหมาย ตราประทับ หรือร่องรอยการขีดฆ่า ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
แต่แสตมป์ที่ผมกล่าวถึง คือแสตมป์ที่เป็นภาพอยู่บนโลกอินเตอร์เน็ต (โพสโดยไปรษณีย์) สังเกตดีๆ ดวงแสตมป์เหล่านี้ จะมีเส้นขีดฆ่าตรงราคา หรือตรงมุม เหตุที่ทำแบบนี้ เพราะ “ป้องกันการนำไปทำซ้ำเพื่อใช้งาน” ครับ
2
แสตมป์ประเทศญี่ปุ่น
5️⃣ มีข้อมูลจำนวนการออกแสตมป์ของแต่ละประเทศที่น่าสนใจมาให้ชมครับ (ข้อมูลถึง 2020)
ญี่ปุ่น 10,989 ดวง*
โตโก 10,006 ดวง (2010-2019 ออกแสตมป์ 6,536 ดวง)
รัสเซีย 9,244 ดวง (รวมยุค USSR ด้วย)
มัลดีฟส์ 9,146 ดวง (2010-2020 ออกแสตมป์ 4,352 ดวง)
ฝรั่งเศส 7,705 ดวง
เยอรมนี 7,484 ดวง (ถ้าไม่รวม DDR** เหลือ 4,311 ดวง)
ไนเจอร์ 7,349 ดวง (2010-2020 ออกแสตมป์ 5,334 ดวง)
เกาหลีเหนือ 7,163 ดวง
จีน 6,728 ดวง (ถ้าไม่รวมยุคจักรพรรดิเหลือ 5,492 ดวง)
คิวบา 6,614 ดวง
สหรัฐอเมริกา 6,469 ดวง
สเปน 5,714 ดวง
ฟิลิปปินส์ 5,707 ดวง
โปรตุเกส 5,003 ดวง
บราซิล 4,962 ดวง
สหราชอาณาจักร 4,805 ดวง
เม็กซิโก 4,704 ดวง
นิวซีแลนด์ 4,175 ดวง
***ไทย 4,110 ดวง***
ออสเตรเลีย 4,085 ดวง
อินเดีย 3,698 ดวง
อินโดนีเซีย 3,606 ดวง
เกาหลีใต้ 3,529 ดวง
*DDR : Deutsche Demokratische Republik
**ดวง : อย่าง 1 ชุดมี 4 ดวง คือนับ 4 ดวง
ที่มาข้อมูล
Stampworld.com
ขอบคุณที่ติดตามครับ
แสตมป์ที่ระลึก
เล่าขานผ่านแสตมป์
ของสะสม
บันทึก
11
18
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รวมรวม เรื่องสะสม
11
18
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย