27 ส.ค. 2021 เวลา 10:54 • ประวัติศาสตร์
🇷🇺 ทำไมรัสเซียถึงมีดินแดนติ่งเล็ก ๆ อยู่ในยุโรปตะวันออก?
ทุกคนน่าจะทราบกันเป็นอย่างดีว่า รัสเซียคือประเทศที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในโลก
แต่ถ้าหากลองสังเกตแผนที่อันกว้างใหญ่ของรัสเซียดี ๆ เราก็จะพบว่ามีดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย ที่มีลักษณะแตกต่างจากดินแดนส่วนอื่น ๆ ของรัสเซีย
นั่นก็เพราะว่าดินแดนที่ว่านี้ ดันตั้งอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ของรัสเซีย ที่สำคัญก็คือยังถูกรุมล้อมไปด้วยประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก ไม่ว่าจะเป็น โปแลนด์ ลิทัวเนีย รวมไปถึงเบราลุส
ที่ตั้งของคาลินินกราด (สีแดง) ดินแดนของรัสเซียที่ตั้งอยู่นอกแผ่นดินแม่ และตั้งอยู่ใจกลางประเทศอื่น ๆ ในยุโรปตะวันออก
ที่นี้สงสัยเหมือนกันแอดมินใช่ไหมครับว่า ดินแดนติ่งเล็ก ๆ นี้ กลายมาเป็นของรัสเซียได้อย่างไร ดังนั้นหาคำตอบได้ในบทความนี้ครับ
สำหรับดินแดนแห่งนี้มีชื่อว่า คาลินินกราด (Kaliningrad) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ เขตปกครองตนเองคาลินินกราด (Kaliningrad Oblast) โดยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย มีขนาดพื้นที่ราว 15,000 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรอาศัยอยู่ราว 1 ล้านคน (มากกว่า 86% เป็นชาวรัสเซีย)
ทัศนียภาพของคาลินินกราด
แรกเริ่มเดิมทีคาลินินกราดเคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรปรัสเซียมาก่อนในชื่อ เคอนิกส์แบร์ก (Königsberg | เป็นภาษาเยอรมันแปลว่า หุบเขาแห่งกษัตริย์) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13
1
โดยในปี 1758 ปรัสเซียได้สูญเสียเคอนิกส์แบร์กให้กับรัสเซียในช่วงสงครามเจ็ดปี (Seven Years' War) จนกระทั่งในปี 1762 ปรัสเซียก็สามารถทวงคืนเคอนิกส์แบร์กจากรัสเซียได้ (ปรัสเซียในเวลาต่อมาจะกลายมาเป็นเยอรมนี)
3
เวลาผ่านไปจนกระทั่งในช่วงเดือนเมษายน 1945 ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพของสหภาพโซเวียตก็สามารถบุกเข้ายึดเคอนิกส์แบร์กจากนาซีเยอรมนีได้
1
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ฝ่ายผู้ชนะสงครามซึ่งก็คือฝ่ายสัมพันธมิตร อันประกอบไปด้วยสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหภาพโซเวียต ก็ได้ทำข้อตกลงพอทสดัม (Potsdam Agreement) เพื่อแบ่งสัดส่วนในการเข้ายึดครองดินแดนต่าง ๆ ของนาซีเยอรมนี
2
โดยทางฝ่ายสหภาพโซเวียต นอกจากจะได้ยึดครองดินแดนเยอรมนีตะวันออกแล้ว สหภาพโซเวียตก็ยังจะได้เคอนิกส์แบร์กอีกด้วย
แผนที่ตามข้อตกลงพอทสดัม ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะเข้ายึดดินแดนต่าง ๆ ของนาซีเยอรมนี โดยดินแดนทางขวามือสุดก็คือเคอนิกส์แบร์กที่ตกเป็นของสหภาพโซเวียต
ซึ่งในปี 1946 เคอนิกส์แบร์กก็ได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ โดยสหภาพโซเวียตยังเปลี่ยนชื่อดินแดนแห่งนี้ให้เป็นคาลินินกราด เพื่อเป็นเกียรติให้กับ มิคาอิล คาลินิน (Mikhail Kalinin) หนึ่งในนักปฏิวัติคนสำคัญของบอลเชวิก
2
โดยเหตุผลสำคัญที่ทำให้สหภาพโซเวียตอยากจะได้คาลินินกราดไว้ในครอบครองนั้น ก็มีอยู่หลายประการด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ตำแหน่งที่ตั้งที่ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ที่ทำให้สหภาพโซเวียตมีอำนาจควบคุม (และสอดส่อง) ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก รวมไปถึงทะเลบอลติก
ที่สำคัญก็คือคาลินินกราดยังเป็นที่ตั้งของท่าเรือ ที่ในช่วงฤดูหนาวจะยังคงสามารถใช้งานได้ ไม่เหมือนกับท่าเรืออื่น ๆ ของสหภาพโซเวียต ที่ไม่สามารถใช้งานได้ในช่วงฤดูหนาว อันเนื่องมาจากปัญหาที่เกิดจากน้ำทะเลหนาวเย็นจนเป็นน้ำแข็ง
1
และด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ จึงทำให้สหภาพโซเวียตต้องการที่จะได้คาลินินกราดไว้ในครอบครองนั่นเอง
เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายลงในปี 1991 คาลินินกราดก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียมาจนถึงปัจจุบัน
1
*** Reference
#HistofunDeluxe
โฆษณา