27 ส.ค. 2021 เวลา 09:29 • สุขภาพ
😔 5 ระยะของความเศร้า ที่ต้องก้าวผ่านให้ได้
รู้จักรับมือกับความเสียใจ ในวันที่ต้องสูญเสีย
1
ในช่วงโควิดแบบนี้ มีหลายคนที่รู้จัก
ที่ยังทำใจรับมือ กับความสูญเสียไม่ได้
หลายคนทำร้ายตัวเอง แต่บางคน..
ก็เลือกจบชีวิตตัวเองในที่สุด
ซึ่งถ้าเรารู้เท่าทัน อารมณ์ที่จะเกิดขึ้น
ก็จะสามารถ ทำให้เราเข้าใจตัวเอง
จัดการกับความเศร้าได้ง่ายขึ้น และเข้าใจว่า
ความเศร้า เป็นขั้นตอนหนึ่งของการฮีล
หรือเยียวยาตัวเอง (Healing process)
Elisabeth Kübler-Ross นักจิตวิทยาชาวสวิต
ได้เสนอทฤษฎี “ 5 Stage of Grief ”
5 ระยะของความสูญเสีย / ความเศร้า
ซึ่งเป็นความรู้สึกที่มักเกิดขึ้น
เมื่อต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
แต่ก็สามารถนำไปใช้กับ การสูญเสียอาชีพ,
เสียบ้าน, รถ หรือของรักได้ ไม่ต่างกัน
5 ระยะของความสูญเสีย ที่มา : https://allendalecolumbia.org/
😔 5 ระยะของการสูญเสีย
1️⃣ Denial / ปฏิเสธ 😭
1
ความรู้สึกแรก ที่มักเกิดขึ้นความสูญเสียคือ
ความรู้สึกตกใจ, เสียใจ, หันหลังให้กับปัญหา
และปฏิเสธที่จะยอมรับความจริง ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตต่อไปอย่างไร และมีชีวิตต่อไปเพื่ออะไร
Denial stage / ระยะของการปฏิเสธความจริง
แค่ช่วงนี้เป็นช่วงที่ทำให้คุณ ได้ปลดปล่อยความรู้สึกออกมา ได้ร้องไห้ ได้ระบายความรู้สึก โดยไม่จำเป็นต้องเก็บกดเอาไว้
1
และเมื่อไหร่ที่คุณเริ่มตั้งคำถามกับตัวเอง
เริ่มพิจารณาความสูญเสีย วินาทีนั้นเอง
คุณกำลังเริ่มเยียวยาตัวเองแล้ว
2️⃣ Anger / โกรธ 😡
ความรู้สึกโกรธ เป็นระยะสำคัญของความสูญเสีย
เพราะในช่วง Denial คุณอาจรู้สึกเสียใจ จนตัดขาดตัวเองออกจากโลก
แต่ความโกรธนี้เอง จะเป็นตัวเชื่อมคุณเข้ากับโลกใบเดิม เข้ากับสังคมเก่าได้ เพราะคุณพยายามที่จะหาเหตุผล ของการสูญเสีย พยายามโทษคนใกล้ชิด, โทษหมอ หรือโทษใครซักคน ที่ทำให้คุณต้องเจอเรื่องนี้ เช่น
😡 ถ้าแม่ได้ตรวจโควิดเร็วกว่านี้ แม่คงไม่ตาย
😡 ถ้าล็อกดาวน์ตั้งแต่สงกรานต์
คงไม่บานปลายขนาดนี้
😡 ถ้าไม่ใช่เพราะผู้ชายคนนั้น
ชีวิตชั้นคงไม่แย่แบบนี้
😡 ถ้าไม่มีคนขายยาบ้า ลูกชั้นคงไม่เสพจนตาย
😡 ถ้ารถคันนั้นไม่ฝ่าไฟแดง เพื่อนชั้นคงไม่ตาย
Anger stage / ระยะของความโกรธ
คุณอาจรู้สึกเหมือนโลกไม่ยุติธรรม
ทำไมเป็นเราที่ต้องสูญเสีย ทำไมทำดีไม่ได้ดี
ทำไมคนชั่วไม่สูญเสียบ้าง ทำไมไม่มีใครช่วยเรา
แต่นักจิตวิทยากล่าวว่า ยิ่งคุณรู้สึกโกรธมากเท่าไหร่ คุณก็จะหายโกรธได้เร็วเท่านั้น เพราะคนเราคุ้นชินกับความโกรธ และเข้าใจวิธีรับมือได้ดีกว่าความรู้สึกอื่น
3️⃣ Bargaining / ต่อรอง 🥺
หลังจากที่คุณเริ่มเย็นลง มีสติมากขึ้น
คุณอาจเริ่มคุยกับตัวเอง อาจเข้าวัด หรือพึ่งพาศาสนามากขึ้น เริ่มต่อรองกับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ กับพระเจ้า เช่น
🥺 อยากขอให้พ่อฟื้น ถ้ามีโอกาสอีกซักครั้ง
จะให้เวลาพ่อมากกว่านี้
🥺 ถ้าเราพาไปฉีดวัคซีนเร็วกว่านี้ พี่คงไม่ตาย
🥺 ถ้าพาแม่ไปตรวจ ตั้งแต่เริ่มปวดท้อง
คงเจอก้อนเร็วกว่านี้
🥺 ถ้าวันนั้นเราไม่นอกใจ เค้าคงไม่คิดสั้นแบบนี้
🥺 ถ้าเหยียบเบรกเร็วกว่านี้ รถคงไม่ชน
เค้าคงไม่ตาย
4️⃣ Depression / ซึมเศร้า 😔
ระยะนี้ ยังไม่ใช่ความเศร้าแบบโรคซึมเศร้า
แต่เป็นความเศร้าปกติ ที่ทุกคนจะรู้สึกเมื่อเกิดการสูญเสีย และเมื่อคุณเริ่มรู้สึกว่า
😔 คุณเศร้าไป เค้าก็ไม่ฟื้น
😔 คุณเศร้าไป ก็ไม่ช่วยให้เค้ากลับมา
1
Depression stage / ระยะของความซึมเศร้า
เมื่อคุณรู้สึกถึงความจริงข้อนี้ นั่นหมายความว่า
คุณกำลังจะก้าวผ่านความสูญเสียนี้ได้แล้ว
แต่หากคุณเศร้า จนไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกได้ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่กิน ไม่นอน
หรือนอนติดเตียงตลอด มีความรู้สึกอยากตาย
🤗 ขอแนะนำให้พบจิตแพทย์ เพื่อพูดคุย
ร่วมกับรับยาคลายกังวล หรือยาต้านเศร้า
เพื่อไม่ให้กลายเป็น โรคซึมเศร้าเรื้อรัง
5️⃣ Acceptance / ยอมรับความจริง 😐
1
ระยะนี้เป็นช่วงที่คุณยอมรับความจริงได้แล้ว
คุณเริ่มมีวันที่รู้สึกเป็นปกติ มากกว่าวันที่เศร้า
เริ่มกลับเข้าหาสังคม และมีความรู้สึกอยากทำสิ่งใหม่บ้างแล้ว
เมื่อมีความเศร้า แต่ละคน อาจเกิดไม่ครบทั้ง 5 ระยะนี้ บางคนอาจเกิดมาก หรือน้อยกว่า และลำดับอาจสับเปลี่ยนจากนี้ได้ ทั้งนี้เพราะการปรับตัวต่อความสูญเสีย เป็นเรื่องเฉพาะตัว ของแต่ละบุคคล
แต่เมื่อคุณเข้าใจว่า ต้องเจอกับอะไร คุณจะสามารถเตรียมพร้อม และรับมือกับความรู้สึก
ที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าเดิม
อ่างเป็นกำลังใจให้ทุกคน
ในการก้าวผ่านทุกวิกฤตของชีวิตนะคะ 🤗
1
ขอบคุณค่า
อ่างสมอง 🧠🙏
อ้างอิงจาก
📚 Kessler D. Finding Meaning: The Sixth Stage of Grief (2019)
📚 Kaplan & Sadock’s Pocket Handbook of Clinical Psychiatry (2019)
โฆษณา