27 ส.ค. 2021 เวลา 14:11 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Cosmic year หรือ Galactic year
Cosmic year หรือ Galactic year คือระยะเวลาที่ดวงอาทิตย์ของเราโคจรรอบใจกลางทางช้างเผือกครบ 1 รอบซึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 225 ล้านปี
ตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนดาราจักรหรือกาแล็กซี่ทางชางเผือก ดวงอาทิตย์เป็นเพียงดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในดาวฤกษ์กว่าแสนล้านดวงในกาแล็กซี่นี้
กาแล็กซี่มีหลายรูปทรง ดังนั้นการหมุนของมันจึงแตกต่างกันออกไป ขอยกตัวอย่างกาแล็กซี่ทรงสมมาตรอย่างกาแล็กซี่ทางช้างเผือกของเรา ซึ่งมีรูปทรงแบบกังหันมีคานหรือแบบกังหันมีบาร์ Barred spiral galaxy การหมุนของกาแล็กซี่รอบจุดศูนย์กลางหนึ่งรอบต้องกำหนดตำแหน่งบนทางช้างเผือกเพื่อทำการคำนวณ
แสดงการโคจรรอบใจกลางกาแล็กซี่ ณ ตำแหน่งต่างๆเมื่อเวลาผ่านไป
เราจึงใช้ตำแหน่งของเราคือระบบสุริยะ Solar system ซึ่งอยู่บนแขนฝุ่นของทางช้างเผือกที่เรียกว่า Orion Spur เป็นตำแหน่งอ้างอิง ณ ตำแหน่งนี้เราอยู่ห่างจากใจกลางทางช้างเผือกประมาณ 30,000 ปีแสง เราคำนวณออกมาแล้วใช้เวลาประมาณ "220-250 ล้านปี" ในการโคจรรอบใจกลางกาแล็กซี่ หากนับตั้งแต่มีการกำเนิดระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์ของเราโคจรรอบใจกลางทางช้างเผือกมาได้ราว 20 รอบ เราใช้ Cosmic year ในการคาดการณ์ย้อนกลับไปในอดีตและอนาคตยกตัวอย่างมาเล็กน้อยดังนี้
เอกภพกำเนิดขึ้นเมื่อเกือนสี่หมื่นล้านปีก่อน
อดีต
61.32 Cosmic years ago 13,770 ล้านปีก่อน : เกิด Bigbang
20.44 Cosmic years ago 4,590 ล้านปีก่อน : กำเนิดดวงอาทิตย์
0.935 Cosmic year ago 65 ล้านปีก่อน : การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่จากการพุ่งชนจากนอกโลก เราเรียก Cretaceous–Paleogene extinction event
การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ล่าสุดเกิดในยุคครีเทเชียส เมื่อ 65 ล้านปีก่อน
อนาคต
1 Cosmic year 225 ล้านปีจากนี้ : เกิดการรวมทวีปที่เรียกว่า Super continent
2-3 Cosmic years 450-675 ล้านปีจากนี้ : แรงไทดัลจะผลักดวงจันทร์ออกไปไกลจนไม่ทำให้เกิดปรากฏการณ์อุปราคา(สุริยุปราคา-จันทรุปราคา)อีกต่อไป
4 Cosmic years 900 ล้านปีจากนี้ : Carbon dioxide เพิ่มปริมาณล้นชั้นบรรยากาศจนทำให้พืชชนิดสุดท้าย C4 * หมดไป สิ่งมีชีวิตหลายเซลสูญพันธุ์
22 Cosmic years 4,950 ล้านปีจากนี้ : กาแล็กซี่แอนโดรเมดา M31 เริ่มเข้ารวมกับกาแล็กซี่ทางช้างเผือก
25 Cosmic years 5,625 ล้านปีจากนี้ : ดวงอาทิตย์ใช้พลังงาน ณ ใจกลางหมด พัฒนาเป็นดาวแคระขาว Dwarf planet
วิวัฒนาการของดาวฤกษ์
* พืช C4 มักเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตศูนย์สูตร เช่น ข้าวโพด อ้อย หญ้าแห้วหมูและบานไม่รู้โรย
พืชกลุ่มนี้มีโครงสร้างภายในของใบที่เด่นชัดคือ จะมี bundle sheath cells ที่มีคลอโรพลาสต์ล้อมรอบกลุ่มท่อลำเลียง พืชพวกนี้จะมีการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ 2 ครั้ง
โฆษณา