28 ส.ค. 2021 เวลา 06:04 • ข่าว
สื่อไทย - เทศมอง การมอบตัวของ ผกก.โจ้ มันก็แค่ ‘ละคร’
กับข้อสงสัยมากมายถึงความเป็น ‘ผู้ต้องหาอภิสิทธิ์ชน’
1
การควบคุมตัว พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือผู้กำกับโจ้ มาแถลงข่าวเมื่อคืนวันพฤหัสที่ผ่านมา ซึ่งมีสื่อมวลชนจำนวนมากปักหลักรอ และอย่างที่หลายคนทราบคือ การแถลงข่าวผ่านคำพูดของผู้กำกับโจ้เป็นการตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวผ่านโทรศัพท์ เป็นที่น่าสงสัยของบรรดาสื่อมวลชนที่เกาะติดรายงานสถานการณ์ โดยเฉพาะสื่อต่างชาติที่สนใจประเด็นข่าวนี้ เพราะมีการรายงานเรื่องดังกล่าวไปยังสื่อใหญ่ๆ ในประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก และพบความผิดปกติที่ดูแล้วไม่ชอบมาพากลหลากหลายประเด็น ที่เหมือนนับว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นเหมือนกับ “บทละคร” ที่เขียนเอาไว้แล้ว
โจนาธาน เฮด ผู้สื่อข่าว BBC ประจำกรุงเทพฯ ที่ติดตามรายานข่าวในคดีนี้ตั้งข้อสังเหตหลายประการระบุว่า ตามปกติแล้วในการแถลงข่าวในคดีที่ผ่านมา ตำรวจไทยแทบจะไม่ให้ผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวพูดคุยหรือตอบข้อซักถามกับผู้สื่อข่าวเลย ทุกอย่างจะเป็นการสรุปสำนวนการสอบปากคำทั้งเบื้องต้นและเชิงลึกมาก่อนแล้ว หลังจากนั้นก็ค่อยจัดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ โดยตำรวจจะเป็นผู้รายงานผลการจับกุม ขั้นตอน และการสอบปากคำเท่านั้น ส่วนผู้สื่อข่าวจะถามกับตำรวจผู้ที่รับผิดชอบในคดีนี้ หรือต้องเป็นผู้ที่มียศตำแหน่งสูงมากเพียงพอที่จะตอบคำถามกับสื่อมวลชน
1
จะไม่มีการให้สื่อมวลชนซักถามกับผู้ต้องหาเองแบบนี้ หรือถ้าจะให้ซักถามก็จะเป็นการอาศัยช่วงชุลมุนระหว่างที่พาตัวผู้ต้องหาไปฝากขัง หรือช่วงที่มีการเคลื่อนย้ายตัวไปที่ใดที่หนึ่ง
อีกทั้งการที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. สื่อสารกับผู้กำกับโจ้ออกอากาศ วาจา คำพูด น้ำเสียง รวมทั้งการเรียกชื่อเล่นก็ดูมีความห่วงใยอย่างผิดปกติออกหน้าออกตา เกินกว่าที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงที่สุดของตำรวจ กับผู้ใต้บังคับบัญชาระดับล่างจะสื่อสารกัน มันยิ่งเป็นที่น่าสงสัยต่อความสัมพันธ์ระหว่าง ผบ.ตร.และผู้ต้องหาที่ถือว่าเป็นลูกน้องระดับล่าง
2
“คุณสร้างความเห็นอกเห็นใจผ่านการถ่ายทอดสดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่กระทำการคลุมถุงที่หัวของผู้ต้องสงสัยจนหายใจไม่ออกได้อย่างไร”
1
การที่ ผบ.ตร. ตัดสินใจว่ากลยุทธ์ที่ดีที่สุดคือการสร้างความเห็นใจอกเห็นใจผู้กำกับโจ้ จากการที่เขาตกลงที่จะยอมมอบตัวเพื่อรักษาเกียรติยศตำรวจ โดยอนุญาตให้ผู้ต้องหาแสดงความสำนึกผิดผ่านทางโทรศัพท์ต่อกลุ่มนักข่าวที่รออยู่ และยังได้รับแจ้งว่าผู้กำกับโจ้กำลังใคร่ครวญอยากฆ่าตัวตาย
มุมมองของคนไทยจำนวนมากมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อหน่วยงานตำรวจ ที่แทบจะไม่เหลือเกียรติใดๆ ที่จะให้ปกป้องสรรเสริญ ตำรวจในประเทศไทยถูกเย้ยหยันและดูแคลนเนื่องจากไร้ความสามารถ มีการทุจริตคอรัปชัน และการจัดฉากแถลงข่าวที่แปลกประหลาดเช่นนี้ให้กับสื่อมวลชน
ถ้าใครยังไม่ลืมเหตุการณ์ระเบิดที่ศาลพระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์ เมื่อปี 2558 ที่ตำรวจมอบรางวัลเงิน 2.6 ล้านบาทให้กับตัวเองกลางงานในงานแถลงข่าว จากการจับกุมผู้ต้องสงสัย 2 คนในเหตุระเบิดกลางกรุงนี้ได้ และจนถึงขณะนี้ผ่านมาแล้ว 6 ปี ก็ยังไม่มีการพิจารณาคดีผู้ต้องสงสัยในชั้นศาลเลย
หรือการปฏิบัติที่ตำรวจชอบพาผู้หาไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพตามจุดก่อเหตุต่อหน้าสาธารณชนที่มามุงดู จนเกิดคำถามว่าทำทำไม? หรือข้อแก้ตัวที่เป็นเรื่องตลกร้ายคดีของ บอส อยู่วิทยา ทายาทกระทิงแดง ที่ใช้เวลานานกว่า 9 ปี ก็ยังไม่สามารถนำตัวกลับมาดำเนินคดีได้ และปล่อยให้เวลาผ่านไปจนแล้วจนรอด
ทุกๆ คนรู้ว่าการกระทำของผู้กำกับโจ้และลูกน้อง เกิดขึ้นมาแล้ว 2 สัปดาห์ก่อนที่คลิปวีดีโอจากกล้องวงจรปิดที่เผยให้เห็นถึงการทรมานเพื่อให้ผู้ต้องสงสัยรับสารภาพจะกลายเป็นไวรัล แต่ถ้าคลิปไม่เป็นไวรัลแบบนี้ จะมีการเร่งจัดการหรือไม่
เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงในประเทศไทยมักมีฐานะร่ำรวยอย่างผิดปกติ การเติบโตเลื่อนขั้นชั้นยศ ก็เป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางว่ามาจากการวิ่งเต้น ใช้จ่ายเงินใต้โต๊ะซื้อตำแหน่งจำนวนมาก หรือได้รับการหนุนจากนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ว่านี่เป็นเด็กของใคร
วงการตำรวจบางครั้ง ก็ดูเหมือนเป็นธุรกิจมากกว่าการบริการสาธารณะ และคดีนี้ยิ่งเป็นสิ่งตอกย้ำว่ามันเป็นแบบนั้น ต่อให้จะบอกว่าไม่ใช่ก็ตาม
ไม่เพียงแค่สื่อต่างชาติที่ตั้งคำถาม สื่อไทยที่ไปเกาะติดรายงานการทำคดีนี้ก็มีความรู้สึกแบบนั้นเช่นกัน
1
ในวันที่จะต้องนำผู้กำกับโจ้ไปฝากขัง สื่อมวลชนก็มีการพูดคุยกันว่า ทำไมผู้กับกับโจ้ถึงไม่มีการเข้าไปอยู่ในห้องขังเหมือนกับผู้ต้องหารายอื่นๆ แต่กลับได้นอนในห้องแอร์นอกห้องขังในสถานีตำรวจ
อีกทั้งทำไมต้องมีการย้ายผู้ต้องหาคนอื่นๆ ที่ผู้กำกับโจ้เคยจับกุมไปยังที่อื่น และมีการทำความสะอาดห้องขังและโรงพักจนดูเรียบร้อย
นอกจากนี้ยังให้เพื่อนตำรวจร่วมรุ่นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 57 เข้าเยี่ยมผู้กำกับโจ้ได้ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ญาติ แต่ผู้ต้องหาคนอื่นๆ ที่ต้องถูกฝากขังดำเนินคดีที่มีความร้ายแรงเหมือนกันกลับถูกกีดกันไม่ให้ญาติเจอหน้า
นี่มันคือการกระทำแบบสองมาตรฐานใช่หรือไม่
1
เช่นเดียวกับนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนก็มองมุมเดียวกันว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในคดีนี้เป็นเหมือนกับการเขียนบทละคร โดยมีธีมหลักคือการ "ฟอกผิดให้เป็นถูก"
1
คำพูด การดำเนินเส้นเรื่อง ของคดีนี้เหมือนกับละครที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ความผิดนั้นลดลงทั้งการยอมรับสารภาพว่าทำจริง แต่เป็นการพลั้งมือ การออกหน้ารับผิดแทนลูกหน้าเพื่อที่จะได้ดูเป็นฮีโร่ กล้องวงจรปิดที่จู่ๆ ก็มาเสียจนต้องถอดออกซึ่งพอเหมาะพอเจาะกันเป๊ะเหมือนกับใครปล่อยคิวให้มันต้องเสียวันนี้
หรือแม้แต่ที่ต้องทำเพื่อที่จะปกป้องประชาชนจากยาเสพติดที่ฟังดูเป็นคนดีเป็นดังพ่อพระที่ทำผิดพลาด และการให้อภัย อโหสิกรรมให้คนปล่อยคลิป บางทีก็คงจะอดคิดไม่ได้ว่าตลอดทั้งกระบวนการที่ผ่านมานั้นเป็นเพียงละครเรื่องหนึ่ง แต่มันคือละครที่หาความชอบธรรมจากการไร้ซึ่งความชอบหรือไม่
แหล่งอ้างอิง
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
Facebook : Reporter Journey
โฆษณา