28 ส.ค. 2021 เวลา 07:36 • การศึกษา
ประเด็น : การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะเหตุอื่นนอกจากการสมรสซ้อน ถ้ายังไม่มีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ การสมรสยังคงมีผลผูกพันอยู่ สามารถรับมรดกของอีกคนหนึ่งได้
.
ฎ.3898/2548 บุคคลที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1458 (ไม่ยินยอม) ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ได้แก่ คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส หรืออัยการ เมื่อผู้คัดค้าน (น้องร่วมบิดามารดา) ไม่ใช่บุคคลดังกล่าวจึงไม่อาจขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องเป็นโมฆะได้
.
ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับผู้ตาย (โดยไม่ยินยอม = โมฆะ ม.1458,1495) ผู้ร้องย่อมเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย หากการสมรสไม่ถูกต้องตามกฎหมายคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1496 เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายจึงยังคงมีอยู่ ผู้ร้องจึงยังเป็นคู่สมรสของผู้ตาย เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1629 วรรคสอง และมีสิทธิขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
.
#กฎหมาย #ครอบครัว #สมรส #เนติบัณฑิต #ฎีกาใหม่ #คำพิพากษาศาลฎีกา
สอบถาม/สมัครเรียนได้ที่...
LINE Official : @Smartlawtutor
หรือคลิ้ก https://lin.ee/C7fWn1q
โทร.086-987-5678 (09.00-24.00 น. ทุกวัน)
โฆษณา