30 ส.ค. 2021 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
“จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II, German Emperor)” จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งเยอรมนี กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งปรัสเซีย
ก่อนหน้านี้ผมลงบทความสรุปเรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่ 1 และอีกหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ก็คือ “จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II, German Emperor)”
1
บทความนี้จะเป็นเรื่องราวของพระองค์ครับ
“จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II, German Emperor)” เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งเยอรมนี และเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งปรัสเซีย โดยพระองค์ครองราชย์ตั้งแต่ค.ศ.1888-1918 (พ.ศ.2431-2461)
1
พระองค์ทรงมีชื่อเสียงว่าเป็นนักการทหารที่ชอบพูดอะไรไม่คิด อวดดี โดยสาเหตุที่พระองค์ทรงถูกโจมตีเช่นนั้น ก็เนื่องจากพระองค์มักจะพระราชทานสัมภาษณ์อย่างไม่ค่อยดีบ่อยครั้ง ทำให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์พระองค์
และถึงแม้พระองค์จะไม่ได้ทรงเป็นผู้ประกาศสงครามโดยตรง และยังทรงแสดงออกว่าได้พยายามจะห้ามเหล่าแม่ทัพ ไม่ให้เคลื่อนทัพเยอรมันในฤดูร้อน ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) หากแต่การพระราชทานสัมภาษณ์อย่างไม่คิดหน้าคิดหลังให้ดี และการแสดงออกว่าทรงชื่นชมกับการได้เป็นจอมทัพ ก็ทำให้หลายคนโทษพระองค์ว่าทรงเป็นหนึ่งในต้นเหตุของสงคราม
5
แต่ถึงอย่างนั้น บทบาทของพระองค์ในสงครามก็ยังคงเป็นที่โต้เถียงกันของนักประวัติศาสตร์ โดยบางคนก็ว่าพระองค์เป็นเพียงหุ่นเชิด ถูกเหล่าแม่ทัพของพระองค์เชิดอยู่หลังม่าน แต่บางคนก็ว่าพระองค์ทรงมีอำนาจทางการเมืองอย่างเต็มที่
1
พระองค์ทรงถูกบีบบังคับให้สละราชสมบัติในปีค.ศ.1918 (พ.ศ.2461) และหลังจากการสละราชสมบัติ พระองค์ก็เสด็จไปประทับที่เนเธอร์แลนด์ และสิ้นพระชนม์ที่นั่นขณะมีพระชนมายุ 82 พรรษา
1
“จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II, German Emperor)” เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพอทสดัม ประเทศเยอรมนี ในวันที่ 27 มกราคม ค.ศ.1859 (พ.ศ.2402)
1
พระราชบิดาของพระองค์ คือ “จักรพรรดิเฟรเดอริคที่ 3 แห่งเยอรมนี (Frederick III, German Emperor)” ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเจ้าชาย ยังไม่ได้ขึ้นครองราชสมบัติ
พระราชมารดาคือ “เจ้าหญิงวิกตอเรีย (Victoria, Princess Royal)” พระราชธิดาองค์ใหญ่ใน “สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Queen Victoria)” พระประมุขแห่งสหราชอาณาจักร
จักรพรรดิเฟรเดอริคที่ 3 แห่งเยอรมนี (Frederick III, German Emperor)
เจ้าหญิงวิกตอเรีย (Victoria, Princess Royal)
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Queen Victoria)
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ทรงเป็นพระราชนัดดาองค์ใหญ่ในพระราชินีวิกตอเรีย และทรงสนิทกับพระอัยยิกา (ย่า/ยาย) มาก อันที่จริง ขณะที่พระราชินีวิกตอเรียสวรรคต พระองค์เป็นผู้ทรงกอดพระอัยยิกาไว้ในอ้อมพระพาหุ (แขน)
1
ความสัมพันธ์ทางสายเลือดของพระองค์กับราชวงศ์อังกฤษ จะมีส่วนสำคัญกับการเมืองระหว่างประเทศในเวลาต่อมา
ชีวิตในวัยเยาว์ที่มีอิทธิพลต่อพระองค์ในเวลาต่อมา มีอยู่สองส่วน คือ 1.พระสุขภาพ 2.การเมือง
1
ขณะประสูติ พระองค์ทรงคลอดออกจากพระครรภ์พระราชมารดาอย่างยากลำบาก ทำให้พระพาหุข้างซ้ายของพระองค์มีความผิดปกติ มีขนาดเล็กกว่าอีกข้าง และไม่สามารถใช้การได้ดีเท่ากับอีกข้าง
1
ส่วนทางด้านการเมืองนั้น ในเวลานั้น อาณาจักรเยอรมนีกำลังจะเป็นรูปเป็นร่างภายใต้การนำของปรัสเซียในปีค.ศ.1871 (พ.ศ.2414) และพระองค์ก็เป็นรัชทายาทลำดับที่สองต่อจากพระราชบิดาในการเป็นว่าที่จักรพรรดิแห่งเยอรมนี รวมทั้งว่าที่กษัตริย์แห่งปรัสเซีย
3
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 วัย 12 พรรษาในเวลานั้น จึงทรงกระตือรือร้นและเปี่ยมด้วยความรักชาติ
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ขณะทรงพระเยาว์
พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบอนน์ โดยพระองค์ทรงมีพระลักษณะที่หัวไว หากแต่ก็มีพระอารมณ์ร้อน หุนหันพลันแล่น
1
ในปีค.ศ.1881 (พ.ศ.2424) พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับ “เจ้าหญิงออกัสต้า วิกตอเรีย แห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ (Augusta Victoria of Schleswig-Holstein)” และมีพระราชบุตรด้วยกันเจ็ดพระองค์
1
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 และพระมเหสี
ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1888 (พ.ศ.2431) พระราชบิดาของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ เป็น “จักรพรรดิเฟรเดอริคที่ 3 แห่งเยอรมนี (Frederick III, German Emperor)”
แต่จักรพรรดิเฟรเดอริคที่ 3 ก็ทรงพระประชวรมาเป็นเวลานาน ก่อนจะสวรรคตหลังขึ้นครองราชย์เพียงไม่กี่เดือน และจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ก็ขึ้นครองราชย์ สืบต่อจากพระราชบิดาในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1888 (พ.ศ.2431)
ภายหลังจากขึ้นครองราชย์ไม่เกินสองปี พระองค์ก็ได้แตกหักกับ “อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค (Otto von Bismarck)” ผู้นำที่ทรงอิทธิพลในวงการเมืองเยอรมนี
อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค (Otto von Bismarck)
ภายหลังจากแตกหักกับบิสมาร์ค พระองค์ก็ทรงแต่งตั้งผู้นำทางการเมืองตามพระทัย โดยพระองค์ทรงเลือกข้าราชการชั้นสูงมาดำรงตำแหน่งสำคัญ ซึ่งบิสมาร์คก็ได้กล่าวว่าพระองค์จะต้องทรงนำพาเยอรมนีไปสู่หายนะเป็นแน่
1
จากนั้น จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ก็ทรงทำเรื่องที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการที่พระองค์ทรงแทรกแซงนโยบายด้านการต่างประเทศ โดยทรงอิงตามพระทัยของพระองค์ ทำให้ความสัมพันธ์ของเยอรมนีและประเทศต่างๆ ไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งในปีค.ศ.1908 (พ.ศ.2451) พระองค์ยังพระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์อังกฤษ โดยตรัสว่า
5
“พวกท่านชาวอังกฤษมันบ้า”
และหากย้อนกลับไปเมื่อปีค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) พระองค์ยังมีกรณีอื้อฉาว เมื่อเหล่าพระสหายสนิทของพระองค์ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกรักร่วมเพศ ทำให้มีเสียงร่ำลือว่าพระองค์เองก็เป็นพวกรักร่วมเพศเช่นกัน ถึงแม้พระองค์จะมีพระมเหสีและพระราชบุตรแล้วก็ตาม
สำหรับคุณูปการของพระองค์ต่อกองทัพเยอรมัน ก็คือพระราชประสงค์ที่จะสร้างกองทัพเรือเยอรมันให้ยิ่งใหญ่ เทียบเคียงกับกองทัพเรืออังกฤษ
ขณะทรงพระเยาว์ พระองค์ได้เสด็จไปเยี่ยมพระญาติที่อังกฤษ และทรงตกหลุมรักท้องทะเล อีกทั้งยังได้ทอดพระเนตรเห็นความเกรียงไกรของกองทัพเรืออังกฤษ ทำให้พระองค์ทรงตั้งพระทัยจะสร้างกองทัพเรือเยอรมันให้ยิ่งใหญ่
พระองค์ทรงสนับสนุนแผนการในการให้กองเรือเยอรมันประจำการในทะเลเหนือ โดยทรงมีแนวคิดว่าการทำอย่างนี้ จะทำให้เยอรมนีมีอำนาจทางการทูตเหนืออังกฤษ
หากแต่การทำอย่างนี้ ทำให้รัฐบาลของพระองค์ประสบปัญหาทางด้านการเงิน
ก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปีค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) ก็เป็นที่ถกเถียงกันถึงเรื่องพฤติกรรมของพระองค์ โดยในเวลานั้น พระองค์ทรงเครียดหลายอย่าง รวมทั้งเรื่องข่าวลือที่ว่าพระองค์ทรงเป็นพวกรักร่วมเพศ ก็ทำให้พระองค์สติแตก
และด้วยความเครียดที่ถาโถมเข้ามา ทำให้พระองค์ทรงเริ่มจะไม่คิดหน้าคิดหลัง พระองค์ทรงคิดว่าเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ “อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ แห่งออสเตรีย (Archduke Franz Ferdinand of Austria)” รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และเป็นตัวจุดประกายให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ยังไม่ใช่เรื่องใหญ่
พระองค์ทรงเชื่อว่าด้วยสายเลือดของพระองค์ที่ทรงมีความเกี่ยวพันกับพระราชวงศ์ยุโรปหลายประเทศ ทำให้พระองค์มีอำนาจมากพอที่จะยับยั้งเหตุร้ายได้
การลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ แห่งออสเตรีย (Archduke Franz Ferdinand of Austria)
แต่ถึงแม้พระองค์จะทรงลงพระนาม พระราชทานพระอนุญาตให้กองทัพเยอรมันเดินทัพและประกาศสงครามต่อรัสเซียและฝรั่งเศสในปีค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) แต่ก็มีบันทึกว่าพระองค์ได้ตรัสว่า
4
“ท่านสุภาพบุรุษทั้งหลาย พวกท่านจะต้องเสียใจ”
1
ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าพระองค์ไม่ได้ทรงเห็นด้วย หากแต่ถูกเหล่าแม่ทัพในกองทัพกดดัน
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 พระองค์เป็นเพียงเสมือนหุ่นเชิด ไม่ได้มีอำนาจมากนัก โดยอำนาจหลักๆ ตกอยู่กับแม่ทัพของพระองค์
ในช่วงปลายปีค.ศ.1918 (พ.ศ.2461) ได้เกิดความวุ่นวายต่างๆ ในเยอรมนี บวกกับการกบฏในกองทัพเรือ ทำให้หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าพระองค์ต้องสละราชสมบัติเพื่อให้เกิดความสงบ
5
มีการกำหนดวันสละราชสมบัติของพระองค์ออกมา คือวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1918 (พ.ศ.2461) ทั้งๆ ที่พระองค์ยังไม่ได้ตกลงด้วยซ้ำ หากแต่พระองค์ก็ทรงยินยอมสละบัลลังก์ เนื่องจากผู้นำกองทัพต่างทูลพระองค์ ว่ากองทัพไม่ต้องการสนับสนุนพระองค์อีกต่อไป
10 พฤศจิกายน ค.ศ.1918 (พ.ศ.2461) จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ได้เสด็จไปเนเธอร์แลนด์ทางรถไฟ โดยที่เนเธอร์แลนด์ พระองค์ทรงซื้อบ้านในเมืองดูร์น และประทับอยู่ที่นั่นตลอดพระชนม์ชีพ
1
ถึงแม้ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการตัวพระองค์กลับมารับโทษในฐานะอาชญากรสงคราม แต่เนเธอร์แลนด์ก็ปฏิเสธที่จะส่งพระองค์กลับไปรับโทษ โดยในช่วงปลายพระชนม์ชีพ พระองค์ต้องประสบกับความทุกข์หลายอย่าง ทั้งการสวรรคตของพระมเหสี รวมทั้งการฆ่าตัวตายของพระราชโอรสองค์เล็กของพระองค์
3
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 สวรรคตในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ.1941 (พ.ศ.2484) ขณะมีพระชนมายุได้ 82 พรรษา
โฆษณา