31 ส.ค. 2021 เวลา 10:19 • สุขภาพ
หัวหน้าฝ่ายค้านชี้ นายกเป็นโรคโอหังคลั่งอำนาจ ! แล้วโรคนี้มีจริง หรือแค่วาทกรรมลวงโลก ?
การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเช้านี้ [www.matichon.co.th]
หากใครติดตามข่าวการเมือง คงพลาดศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ไปไม่ได้ เพราะข้อกล่าวหานายกฯ นั้นค่อนข้างดุเดือด และมีมากมายถึง 25 ข้อ
โดยเฉพาะข้อสุดท้าย คือการกล่าวหาว่า นายกฯ เป็นโรค “โอหังคลั่งอำนาจ” (Hubris Syndrome)
1
25 ข้อกล่าวหา [Facebook The Standard]
📌 จากการเปิดอภิปรายเมื่อเช้านี้
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวเปิดอภิปราย พร้อมกับกล่าวข้อความตอนหนึ่งว่า
“พล.อ.ประยุทธ์และพวกพ้อง ไม่ยึดประโยชน์ของประเทศ และประชาชนโดยส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ใจดำ ทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชน และจากความโอหัง และการเสพติดในอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ ทำให้อยู่ในสภาพของคนเป็นโรคโอหังคลั่งอำนาจ (Hubris Syndrome) ไม่อยู่ในภาวะที่จะเป็นผู้นำประเทศได้อีกต่อไป ”
📌 ล่าสุด 17.05 น.
นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว ได้ตอกย้ำประเด็นนี้ซ้ำอีกครั้งว่า นายกเป็นโรคโอหังคลั่งอำนาจ ทำให้ขาดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
และยังย้ำว่า เคยกล่าวแล้วถึง 2 ครั้งว่า นายกยังเป็นโรคหลงตัวเอง หรือ Narcissistic Personality Disorder (NPD) อีกด้วย 👇
📌 หลายคนฟังแล้วอาจงงว่า นี่เป็นเพียงแค่วาทกรรม ที่ฝ่ายค้านประดิษฐ์ขึ้น หรือแท้จริงแล้ว เป็นโรคที่มีอยู่จริงทางการแพทย์กันแน่ ?
Dr.David Owen จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทจิตวิทยา และผู้ก่อตั้งพรรคสังคมพรรคประชาธิปัตย์ (SDP) แห่งสหราชอาณาจักร ได้พูดถึงโรคโอหังนี้ไว้ว่า เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการมีอำนาจโดยตรง ยิ่งมีอำนาจมากเท่าไหร่ ยิ่งชอบสั่ง ยิ่งโอหังมากขึ้นเท่านั้น
เพราะมีความรู้สึกภูมิใจในตัวเอง และมั่นใจในตัวเองเกินกว่าปกติ จนทำให้เย่อหยิ่ง และดูถูกคนอื่น ซึ่งผู้นำประเทศ มักมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ง่าย เช่น โทนี แบลร์, จอร์ช บุช
2
แต่โรคนี้จะไม่เกิด ในคนที่นิสัยเดิมค่อนข้างอ่อนน้อม, ใจกว้าง, รับฟังความคิดเห็น หรือคนที่มีอารมณ์ขัน
1
โรคนี้มีความสัมพันธ์ กับความเจ็บป่วยทางจิตหลายโรค เช่น โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ (ADHD), ไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว, การติดสารเสพติด, พารานอยด์ (หวาดระแวง), โรคหลงตัวเอง (NPD)
Dr.David Anthony Llewellyn Owen [wikipedia.org]
📌 การวินิจฉัยโรค Hubris Syndrome
มีลักษณะมากกว่า 10 ข้อ ที่เข้าข่ายอาการโรคโอหังนี้ ซึ่งหากมีพฤติกรรมอย่างน้อย 3-4 ข้อ ก็ควรพิจารณา วินิจฉัยว่าเป็นโรคโอหังคลั่งอำนาจ เช่น
✅ มักนำตัวเอง ไปยึดโยงกับประเทศชาติ และแสดงให้เห็นว่า คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม
✅ มักเน้นการแสดงวิสัยทัศน์ ในด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึง ความเป็นไปได้ในการลงมือทำ, ราคาต้นทุน หรือผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์
✅ มีความหลงในอำนาจ เห็นโลกนี้เป็นเวทีแสดงอำนาจ และที่แสวงหาชื่อเสียง เกียรติยศ แทนที่จะมองเห็นปัญหาที่แท้จริง
✅ ชอบแสดงออก ในกิจกรรมที่ส่งเสริม
ภาพลักษณ์ตัวเอง
✅ มีความกังวลมากเกินไป
เกี่ยวกับภาพลักษณ์ และการแสดงออก
✅ มักแสดงออกด้วยท่าทาง และคำพูด
ที่ทำให้ตัวเองดูสูงส่ง
✅ มีความมั่นใจในความคิดตัวเองมาก
และดูถูกคำแนะนำผู้อื่น
✅ มีความมั่นใจในตัวเองมากเกินไป
จนทำให้มองข้ามนโยบายขั้นพื้นฐาน
ที่ประชาชนควรได้รับ
✅ มีบุคลิกที่ค่อนข้างหุนหันพลันแล่น,
ประมาท, ดูกระสับกระส่าย
1
นายกยืนยัน ! [www.thansettakij.com]
แม้โรคนี้ ยังไม่ถูกจัดเข้าในกลุ่มความเจ็บป่วยทางจิตอย่างชัดเจน แต่มีความเป็นไปได้ว่า อาจเป็นโรคในกลุ่มบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorders) ตาม ICD-10, DSM-V
โดยสาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรม
และอีกส่วนจากสิ่งแวดล้อม รวมถึงยังมีการศึกษาความสัมพันธ์ ของสารสื่อประสาทที่ผิดปกติ กับโรคโอหังนี้อีกด้วย
เมื่อไม่ทราบกลไกการเกิด จึงยังไม่มีแนวทางการรักษาชัดเจน แต่ Dr.Owen ได้ให้คำแนะนำว่า พยายามรักษาความอ่อนน้อมถ่อมตน ที่มีก่อนกลายเป็นผู้มีอำนาจไว้ โดยผู้ร่วมงาน ควรมีการตรวจสอบและถ่วงดุล เพื่อไม่เกิดอาการเหลิงอำนาจ รวมถึงบุคคลใกล้ชิด ควรกล้าวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาด้วย
1
หลังจบการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
หลายคนอาจมีคำตอบในใจแล้วก็ได้นะคะ
สนใจอ่านเพิ่มเติม 🤓👇
ขอบคุณค่า
อ่างสมอง 🧠🙏
อ้างอิงจาก
📚 Hubris syndrome (2008)
DOI: 10.7861/clinmedicine.8-4-428
📚 Hubris syndrome: An acquired personality disorder? A study of US Presidents and UK Prime Ministers over the last 100 years
โฆษณา