3 ก.ย. 2021 เวลา 01:43 • ไลฟ์สไตล์
ถ้าพูดถึง ภาษาถิ่น ซึ่งเป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดกันในท้องถิ่นต่างๆ ที่แตกต่างไปจากภาษาที่คนส่วนใหญ่ของประเทศใช้พูดกันนั้น
เราก็จะนึกถึงภาษาถิ่นตามภาคต่างๆ เช่น ภาษาถิ่นเหนือ, ภาษาถิ่นอีสาน,ภาษาถิ่นใต้,ภาษาถิ่นกลาง
ส่วนแม่มณีมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคตะวันออก ซึ่งบางทีเขาก็จะเหมารวมว่า ภาษาถิ่นก็คงจะเหมือนภาษาถิ่นกลางนั่นแหล่ะ...
แต่มันไม่ใช่เลยนะคะ ภาษาถิ่นภาคตะวันออก
ก็จะมีความแตกต่างจากภาษาถิ่นกลางนะคะ...
ขอบอก!!!
และจังหวัดที่แม่มณีอยู่คือ จ.จันทบุรี ก็มีภาษาถิ่นที่ คนจันท์จะเรียกว่า"ภาษาจันท์" เป็นภาษาที่น่ารักและฮิปๆ เป็นเอกลักษณ์ที่แม่มณีอยากจะนำเสนอ เป็นอย่างมากเลยค่ะ(อย่าเพิ่งเชื่อก็ได้...ลองอ่านดูก่อน แล้วจะรู้ว่า แม่มณีพูดจริง😂)
ก็เผื่อว่าอาจจะมีใครอยากจะมาเป็นเขยจันท์(แบบคุณชาคริต) หรือจะมาเป็นสะใภ้จันท์ ก็จะได้ศึกษา
เป็นแนวทางไว้ก่อน... เวลาได้ยินคนจันท์พูดกันจะได้ไม่งงไงคะ😊
ที่แม่มณีจะนำมาเล่าให้ฟัง จะเลือกเฉพาะคำที่นิยมใช้กันนะคะ ถ้าพูดทั้งหมด 3 วันก็ยังไม่จบล่ะค่ะ(นี่ก็พูดเกินไป😂)
1
มาเริ่มกันเลยค่ะ...คำที่ 1 ก็คือ คำว่า "ฮิ"
ภาพจาก About Chan😊
คำว่า "ฮิ" นี้ ก็คงจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วนะคะจากประโยคที่พวกตลกชอบพูดกัน
"ระยองฮิสั้น จันท์ฮิยาว ตราดฮิใหญ่"
1
ซึ่งชาวจังหวัดอื่นๆคงจะงงๆเมื่อได้ฟัง และสงสัยกันว่า "ฮิ" มันคืออะไรกันแน่😂
"ฮิ" เป็นภาษาถิ่นที่มาจากชาวชอง ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองของภาคตะวันออก ใช้เป็นคำสร้อยของประโยค ความหมายจะเหมือนกับคำว่า สิ, ซิ หรือ นะ นั่นเอง
เวลาคนจันท์พูดคำนี้ เค้าจะพูดกันแบบนี้ค่ะ
หลาน : "ป้าๆ หยิบมังคุด กับ เงาะ มาให้หนูหน่อย"
ป้า : "หยิบอะไรฮิ ป้าฟังไม่ทัน"
แต่ในปัจจุบัน คำๆนี้ คนจันท์รุ่นใหม่ๆ จะไม่ค่อยพูดกันแล้ว จะมีก็แต่คนรุ่นเก่าๆ ที่ยังคงพูดติดปากกันอยู่ค่ะ😊
คำที่ 2 คือคำว่า "เหีย"
ภาพจาก About Chan😊
"เหีย" หรือ "ไอ้เหีย" เป็นคำสรรพนามในภาษาจันท์ โดยคนจันท์ เพื่อคนจันท์ เพราะมีใช้แต่ที่จันท์จริงๆคำนี้จะใช้เรียกพี่ชาย หรือ ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า ความหมายเดียวกับ คำว่า "เฮีย"
สันนิษฐานว่า คำว่า"เหีย" น่าจะมีบรรพบุรุษคือ "เฮีย" ชายหนุ่มที่โล้สำเภามาจากเมืองจีน จนมาพบรักและตั้งรกรากสร้างครอบครัวกับสาวจันท์ จนได้กำเนิด "เหีย" หนุ่มลูกครึ่งจีนสำเนียงจันท์นั่นเอง😂
1
คำว่า"เหีย"จะเรียกคำเดียว โดดๆ หรือ ใช้นำหน้าชื่อก็ได้
เป็นคำที่ใช้เรียกพี่ชาย หรือ รุ่นพี่ผู้ชาย ด้วยความเคารพนับถือจริงๆ
ดังนั้นคำว่า "เหีย" ไม่ต้องแถมวรรณยุกต์ให้นะจ๊ะ โดยเฉพาะ ไม้โท เพราะ เหียไม่ปลื้มจริงๆฮิ😂
เวลาคนจันท์พูดคำนี้ เค้าจะพูดกันแบบนี้ค่ะ
รุ่นน้อง : " เหียๆ ทุเรียน กิโลเท่าไหร่?"
เหีย : "กิโล ก็ 10 ขีดไง"
อ่าว! เหียตอบแบบนี้ ระวัง รุ่นน้องจะเขวี้ยงไม้โทมาเติมให้นะจ๊ะ😂😂
คำที่ 3 คือคำว่า " เช่ด"
อาหารเบิกบานเช่ด😂
คำว่า "เช่ด" เป็นอีกคำที่คนจันท์นิยมพูดกัน เหมือนเป็นคำสามัญประจำบ้าน
1
แต่คำๆนี้ ถอดเสียงมาเป็นภาษาเขียนให้ใกล้เคียงกับเสียงพูดได้ยากมาก
จะเขียน เชด มันก็ลากเสียงยาวไป เช็ด ก็ สูงไป
จะเฉด ก็ยิ่งไปไกล เช่ดนี่แหล่ะ ใกล้เคียงสุดๆละอาจจะผิดหลักภาษาไปบ้างก็ไม่ว่ากันนะคะ
คำว่า "เช่ด' มี 2 ความหมายด้วยกันค่ะ
1. หมายถึง มาก
2. หมายถึง หมด
อ๊ะๆ!! งงล่ะซิ ทำไม ความหมาย 2 อย่างมัน
ตรงกันข้ามกันแบบนี้ แม่มณีจะยกตัวอย่างให้ฟังค่ะ
แบบที่ 1. เช่ด ที่หมายถึง มาก
" โอ้โห!! อาหารเบิกบานเช่ด แล้วจะกินหมดมั้ยเนี่ย" คือ อาหารมากมาย เยอะมาก
"เธอรู้ไหม ในหมู่บ้านนี้ เธอสวยกว่าเขาเช่ด" คือ เธอสวยมาก สวยกว่าทุกคนในหมู่บ้าน
แบบที่ 2. เช่ด ที่หมายถึงหมด
" แม่ๆ น้องกินเงาะเช่ดเลย" คือ น้องกินเงาะหมดเลย
" นี่เธอ ล้างจานยังไง จานแตกเช่ด" คือ จานแตกหมด
และคำที่มักจะติดปากไปพูดที่อื่นจนชาวบ้านชาวเมืองเขาขำกัน คือ คำว่า "หมดเช่ด" มันเป็นคำที่คนจันท์รู้สึกว่ามันได้อารมณ์จริงๆ อย่างพูดว่า "ขายของหมดเกลี้ยง" ก็คือรู้สึกว่า เออ ก็ขายหมด แต่มันไม่รู้สึกว่า หมดจริง หมดสนิท หมดแบบไร้วิญญาณ เท่ากับคำว่า "หมดเช่ด"
หายงงกันแล้วใช่ไหมคะ...หรือจะงงมากกว่าเดิม😂
คำที่ 4. คือคำว่า " ก๋อง"
ตัวเอง...ขอก๋องหน่อย😊
คำว่า " ก๋อง" แปลว่า ขี่หลัง หรือ เกาะหลัง เป็นคำที่แสดงกิริยาน่ารัก เอาใจใส่ดูแล
1
คำว่า "ก๋อง" จริงๆแล้วไม่ใช่ภาษาจันท์แท้ๆ แต่
คนจันท์นิยมพูดกัน จนเป็นคำติดปากไปแล้วค่ะ
บางทีก็นำมาประกอบกับคำอื่นได้อีก เช่นขี่ก๋อง,
ก๋องหลัง
แต่เวลาจะอ้อนใครให้ก๋องเรา...ก็ต้องดูน้ำหนัก
ตัวเองด้วยนะว่า เขาจะก๋องเราไหวมั้ย...สงสาร
คนที่ให้เราก๋องด้วยนะจ๊ะ 😂
เวลาคนจันท์พูดคำนี้ เค้าจะพูดกันแบบนี้ค่ะ
" วันนี้น้องหกล้ม เหียเลยให้น้องก๋องหลังกลับบ้าน"
1
" พ่อจ๋า...พาหนูขี่ก๋องเที่ยวหน่อย"
" ตัวเอง ขอก๋องหน่อย"
1
คำที่5 คือคำว่า " สุย"
มาช่วยสุยรถกันหน่อย😊
คำว่า " สุย" แปลว่า เข็น,เลื่อน,ดัน,ผลักไส(แต่ไม่
ไล่ส่งนะ)😂
เช่น สุยรถ, สุยเก้าอี้, สุยโต๊ะ, สุยก้น
แต่ส่วนมากจะใช้คำว่า "สุยรถ" มากกว่าคำอื่น
เวลาคนจันท์พูดคำนี้ เค้าจะพูดกันแบบนี้ค่ะ
" รถเหียเค้าสตาร์ทไม่ติด มาช่วยกันสุยรถหน่อย"
" แม่ช่วยสุยก้นหนูหน่อย หนูเดินขึ้นบันไดไม่ไหว"
คำที่ 6 คือคำว่า "ป้อแป้"
ภาพจาก About Chan😊
คำว่า "ป้อแป้" แปลว่า อ่อนแอ, สุขภาพไม่ดี
เวลาคนจันท์พูดคำนี้ เค้าจะพูดกันแบบนี้ค่ะ
" อย่าทำงานหนักนักนะเหีย เดี๋ยวจะป้อแป้เอานะ"
"ช่วงนี้ รู้สึกว่าร่างกายมันป้อแป้จังเลย"
รู้อย่างนี้แล้ว ใครที่ทำงานหนัก ก็อย่าหักโหมมากนักนะคะ เกิด"ป้อแป้"ขึ้นมา แล้วจะลำบาก คนจันท์เป็นห่วงนะคะ😂
คำที่ 7 คำว่า "เถือ"
มีดมันเถือไม่ค่อยเข้า😊
คำว่า "เถือ" แปลว่า หั่น เป็นคำกริยา ที่นิยมใช้บ่อยๆคือ เถือไม่เข้า หมายถึง หั่นไม่เข้า
1
แต่บางที ก็ใช้ในความหมายว่า ไม่คม เช่น
มีดมันเถือ หมายถึง มีดมันไม่คม
เวลาคนจันท์พูดคำนี้ เค้าจะพูดแบบนี้กันค่ะ
แม่ : น้องมังคุด หั่นหมูเสร็จรึยัง น้ำเดือดแล้วนะ
ลูก: แป๊บนึงนะแม่ มีดมันเถือไม่ค่อยเข้าเลยอ่ะ"
เหมือนกับแม่มณีเลยค่ะ นานๆจะเข้าครัวทำกับข้าว โชว์ฝีมือซักที ไอ้มีดเจ้ากรรม ดัน "เถือ"หมูไม่เข้าซะนี่ กับข้าวฝีมือแม่มณี เลยออกมารสชาติไม่ได้เรื่องเลย (อ้าว! ไม่เกี่ยวกันเหรอ) 😂😂
ก็เล่าพอหอมปากหอมคอ แล้วกันนะคะ เพราะภาษาจันท์ยังมีอีกมากมาย เล่า 3 วันก็ยังไม่จบจริงๆค่ะ😂
ภาษาถิ่นเป็นภาษาที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น พอพูดขึ้นมาทีไร สำนึกรักบ้านเกิดขึ้นมาทันทีเลยค่ะ😂😂
ก่อนจะจบภาษาจันท์ในวันนี้ แม่มณีขอเล่าเรื่องโดยนำคำทั้ง 7 คำ ที่นำเสนอไปนั้นมาอยู่ในเรื่องเดียวกันนะคะ
คำที่ต้องใช้ = ฮิ, เหีย, เช่ด, ก๋อง,สุย, ป้อแป้, เถือ
วันนี้ "เหีย"โตไปตลาด ไปซื้อมีดใหม่ เพราะมีดเก่ามัน "เถือ" หมูไม่เข้า
ขากลับน้ำมันรถหมด"เช่ด" ต้อง "สุย"รถกลับมาบ้าน
อากาศก็ร้อนจัง"ฮิ" กว่าจะถึงบ้าน ก็เหนื่อยแทบแย่
เจ้าลูกชายยังร้องให้พาขี่" ก๋อง" เที่ยวอีก แล้วจะไม่ให้ "ป้อแป้" ได้ยังไงล่ะ😂😂😂
จบแล้วค่ะ...ใครอยากลองแต่งเรื่องจากภาษาจันท์ทั้ง 7 คำ ดูบ้างก็ได้นะคะอาจจะสนุกกว่าของแม่มณี
ก็ได้ค่ะ (นี่! สนุกแล้วเหรอ😊)
# ขอบคุณที่แวะมาทักทาย...ติดตาม...
และให้กำลังใจนะคะ😍💕
#ขอบคุณข้อมูลจาก About Chan😊
#แม่มณีมีเรื่องเล่า😊มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง
#เอาแบบที่สบายใจ😊

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา