1 ก.ย. 2021 เวลา 10:14 • การศึกษา
วันนี้..มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไป สำหรับการไปเรียนต่อในประเทศเยอรมนี ซึ่งวันนี้กสรเปลี่บนแปลงไม่ได้มีแค่การไปเรียนเพียงอย่างเดียว แต่มีในแบบเรียนไปด้วยทำงานไปด้วยในสายอาชีพแต่ไม่ใช่ในระดับปริญญาตรีที่เคยได้ยินมา
แต่ก่อน เยอรมนี สงวนการเรียนด้วยทำงานด้วยในสายอาชีวศึกษา หรือเรียก Ausbildung เฉพาะคนเยอรมันเท่านั้นไม่เปิดให้วีซ่ากับคนต่างชาติ แต่ปัจจุบันพ.ศ.นี้ เปิดกว้างให้คนนอกประเทศก็สามารถขอวีซ่าเข้าไปเรียนได้ในสายอาชีวศึกษาเช่นเดียวกับคนเยอรมัน
ปัจจุบันการเรียน โดยไม่เน้นว่า ต้องการใบปริญญาบัตรคือไม่ต้องจบปริญญา อะไรก็ได้ขอให้จบเร็วๆ เด็กรุ่นใหม่ๆของไทยมีความคิดแบบนี้มากขึ้น สอดคล้องกับที่เยอรมนีเองก็มีระบบการเรียนการสอนในระดับอาชีวศึกษาที่เข้มแข็ง ออกแบบหลักสูตรมาอย่างดี ถือเป็น กระดูกสันหลังของประเทศทีเดียว ในขณะที่การไปเรียนในระดับปริญญาตรีที่เยอรมนีสำหรับเด็กไทยก็ยังถือเป็นเรื่องที่ยากอยู่พอสมควร
studium คือระดับปริญญาตรี Ausbildung คืออาชีวะศึกษา
วันนี้อยากจะมาเขียนเล่า สำหรับเด็กๆ ที่แรกเริ่มมีจุดมุ่งหมายในการไปเรีบนต่อระดับปริญญาตรี แต่ไม่สามารถเข้ามหาวิทยาลัยได้ภายในอายุวีซ่า 2 ปีแรก ซึ่งปกติต้องลากกระเป๋ากลับบ้านอ
แต่วันนี้ เราสามารถเปลี่ยนวีซ่าของเราไปเป็นวีซ่าที่สำหรับเรียนในแบบ Dual Ausbildung ได้ หาก...ไม่สนใจว่าเสียเวลาต้องรีบเรียนให้จบ อยากหาประสบการณ์ไปก่อน หรือ ไม่สนวุฒิปริญญาตรี ขอแค่มีใบรับรองจบระดับอาชีวศึกษาและมีใบผ่านงานก็พอแล้ว
.....ก็ขอแนะนำนะคะ เสียเวลาไปบ้างแต่คงได้อะไรเยอะในชีวิตพอสมควร แล้วมีเวลาก็ไปเนียนต่อให้จบปริญญาตรี
1
การขอวีซ่าสำหรับมาเรียนต่อสายอาชีวศึกษาในแบบAusbildung สามารถขอได้จากที่ไทยหลังจบชั้นมอ6 หรือปริญญาตรี แต่จะมีรายละเอียดปลีกย่อยประกอบอีก ครั้งนี้ขอพูดถึงเด็กๆที่ไปอยู่ที่เยอรมนีแล้ว แต่อาจจะไม่สามารถเรียนจบSTK ให้ทันภายใน 2ปี ถ้ารู้ตัวว่าไม่ทันแน่นอน ก็ให้คิดหนทางวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า เราสามารถยื่นเรื่องขอเปลี่ยน ประเภทวีซ่าเป็น การทำ Ausbildung โดยสมัครงานกับบริษัทที่สนใจ สัมภาษณ์ตามขั้นตอน จนมีจดหมายจ้างงานจากนายจ้าง เราก็สามารถไปแจ้งขอเปลี่ยนประเภทวีซ่าได้แล้วค่ะ
รายละเอียดในการร่อนใบสมัครเรียนแบบ Dual Ausbildung
👉หางานในแบบที่เราชอบ สนใจ เช่นงานร้านอาหาร โรงแรม บริษัทหรือหน่วยงาน โรงงานที่เปิดรับสมัครคนเข้าทำ Dual Ausbildung เข้าไปที่ www.ausbildung.de www.indeed.com
👍ถ้าเขาสนใจเรา จะนัดสัมภาษณ์ เราก็ทำตามขั้นตอนตามที่เขาแจ้ง
👉ถ้ารับเราเข้าทำงาน จะทำสัญญาจ้างงานส่งให้เราเซ็นต์ โดยหลังจากเซ็นต์สัญญาแล้วทางผู้ว่าจ้างจะส่งเอกสารไปที่หน่วยงานที่เรียกว่า IHK เพื่อตรวจสอบ
👉หลังจากตรวจสอบเสร็จก็จะส่งสัญญามาให้เราเก็บไว้หนึ่งฉบับ ในสัญญาก็จะมีระบุเวลาในการเรียน รายได้ เราก็นำเอกสารนี้ไปยื่นเปลี่ยนวีซ่าค่ะ
มาเจาะลึกลงในรายละเอียดการทำ Ausbildung ในเยอรมนี มีด้วยกัน 2 แบบ
🔵การฝึกอบรมแบบในบริษัท (duale Ausbildung หรือ betriebliche Ausbildung)
คือการผสมผสานความรู้ทางทฤษฎีเข้ากับประสบการณ์ในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นระบบการฝึกงานที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในเยอรมนีเป็นอย่างมาก จุดเน้นหลักคือ ทำงาน 3-4 วันต่อสัปดาห์ที่บริษัทที่รับเราเข้าฝึกงาน (Ausbildungsbetrieb) และเรียนทฤษฎีในโรงเรียนฝึกอาชีพ (Berufsschule) 1-2 วันต่อสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสาขางานหรือสัญญาจ้างงาน
ข้อไม่ดีของ Ausbildung ระบบแบบนี้คือ คู่แข่งเยอะ เราต้องพร้อม ต้องมีอะไรดีในตัวพอสมควร เก่งรอบด้านประมาณนั้น
🔵การเรียนในโรงเรียนฝึกอาชีพ (schulische Ausbildung)ในขณะที่ผู้ฝึกงานในระบบ duale Ausbildung ใช้เวลาในการฝึกอบรมที่บริษัทเป็นส่วนใหญ่ ผู้ที่ฝึกงานแบบในโรงเรียนฝึกอาชีพนั้น การเรียนการสอนจัดขึ้นที่โรงเรียนฝึกอาชีพเป็นส่วนใหญ่ อาจจะมีการจัดฝึกงานในบริษัทบ้าง ประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี แล้วแต่สาขาและโรงเรียนฝึกอาชีพนั้น ๆ ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อยมากเมื่อเทียบกับระบบ duale Ausbildung จึงมักถูกมองเป็นจุดด้อย ว่าประสบการณ์ในทางปฏิบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมนั้นสั้นเกินไป โดยส่วนใหญ่เน้นทฤษฎีเป็นหลักเสียมากกว่า แต่ระบบนี้มักจะใช้ทางด้านวาธารณสุข เช่นผู้ช่วยฑันตแพทย์ พี่เลี้ยงเด็กในรร.อนุบาล พยาบาล เป็นต้น
มาดูข้อดีๆๆของการเรียนสายอาชีวศึกษาในเยอรมันกัน เผื่อมีคนสนใจ
🔹️🔹️เน้นการทำงานจริงๆ ในระหว่างการฝึกอบรม จะได้รับประสบการณ์การทำงานที่บริษัท (Ausbildungsbetrieb) อย่างเต็มที่ และส่วนใหญ่จะเน้นความรู้ในทางปฏิบัติเป็นหลัก จึงทำให้ได้ประสบการณ์ในการทำงานจริง ๆ ตลอดระยะเวลาที่ฝึกงาน
🔸️🔸️ได้รับเงินประจำเดือน เนื่องจากการทำงานในบริษัท ระหว่างการฝึกงานก็จะได้รับเงินประจำเดือนเป็นค่าตอบแทนด้วย จะมีบางสาขาที่ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างฝึกงาน เช่น ในบางวิชาชีพทางการแพทย์ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะไม่ได้รับเงินเดือน หรืออาจจะต้องจ่ายเพิ่มด้วยซ้ำ หรือ ฝึกงานเพื่อเป็นพี่เลี้ยงเด็กตามโรงเรียนอนุบาลต่าง ๆ
🔹️🔹️บริษัทดูแลเรื่องประกันสังคม ตามกฎหมายการว่าจ้างงานของเยอรมนี บริษัทจะต้องจ่ายค่าประกันสังคมให้กับผู้ที่ฝึกงานกับบริษัทนั้นๆ
....
เป็นอย่างไรบ้างคะ เรื่องราวการเรียนสายอาชีวศึกษาในเยอรมนี อย่าเพิ่งท้อ หากการเรียนในSTK เพื่อต่อในระดับมหาวิทยาลัย มันดูยากเกินไป นี่เป็นทางออกอีกทางให้เด็กๆเผื่อไว้ดูเป็นทางเลือกนะคะ
โพสต์หน้าจะเป็นเรื่องเกีายวกับอะไรคงรออ่านต่อไปนะคะ
โฆษณา