2 ก.ย. 2021 เวลา 03:10 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เจาะรู 3 เหลี่ยมบนป้ายเพื่อเป็นธรรมเนียมอย่างนั้นหรือ? หรือป้องกันการถูกนำเอาไปใช้งานต่อหรืออย่างไร? 🔻
21
อยู่กับเรื่องป้ายกันต่อ ต่อจากบทความที่แล้วรุ้งสังเกตเห็นว่าป้ายข้างทางที่ประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่มักจะมีการเจาะรู 3 เหลี่ยมไว้ตามเนื้อที่บนป้าย เลยเกิดความสงสัย
2
และชวนให้คิดต่อว่ามีเหตุผลหรือมีที่มาที่ไปอย่างไรเกี่ยวกับการเจาะรู 3 เหลี่ยมนี้ 🔻
1
และเชื่อว่าผู้อ่านส่วนหนึ่งน่าจะเกิดการตั้งคำถามลักษณะนี้เช่นกัน เวลาขับรถโลดแล่นไปตามบนท้องถนน ยามกวาดสายตามองตามข้างทาง จนสะดุดตาไปกับป้ายเหล่านี้จนเกิดคำถามในใจ วันนี้จะพาเพลินมาทราบถึงเหตุผลของป้ายลักษณะนี้กันค่ะ
5
ทำไมต้องเจาะรู 3 เหลี่ยมบนป้าย? 🔻
4
การเจาะรูบนป้ายข้างทาง เนื่องจากเมื่อลมพัดมาจะลอดผ่านรูเหล่านั้นไปบางส่วน ไม่ต้านลมมากเกินไป ทำให้ป้ายยึดตั้งไม่ล้มลงไปตามสายลมที่พัดปลิว โดยเฉพาะในป้ายผืนใหญ่จะมีความต้านลมกว่าป้ายผืนเล็กมาก ต้องเจาะเป็นช่องตัว V (อย่าให้โบ๋) เพื่อให้ลมผ่านได้ โดยที่สาระในป้ายยังอยู่ครบถ้วน
11
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเจาะรูโดยที่ไม่กระทบกับเนื้อหาบนป้าย และป้ายก็จะตั้งอยู่ได้นานมากกว่าป้ายที่ไม่มีการเจาะรูใด ๆ
1
ส่วนบิลบอร์ดใหญ่ (Billboard) ที่อาจจะเห็นว่าไม่มีการเจาะรูใด ๆ นั่น เพราะได้คำนวณโครงสร้างมาเพื่อรอรับแรงลมไว้แล้ว แต่ก็ยังมีบ้างที่อาจจะเอาไม่อยู่พังลงมาให้เห็นตามที่เป็นข่าวเวลามีพายุลมแรง
2
(SOURCE : http://www.at-ads.com/advertising/billboard.html)
บิลบอร์ดใหญ่ คือ สื่อโฆษณากลางแจ้งขนาดใหญ่ที่นิยมติดตั้งบริเวณถนนสายหลัก ถนนมอเตอร์เวย์ ห้างสรรพสินค้า ด้านหน้าบริษัท หรือบนอาคาร มีลักษณะเป็นป้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า
1
ข้อแตกต่างของป้ายบิลบอร์ดกับป้ายประเภทอื่นก็คือ ส่วนมากเจ้าของป้ายจะผลิตป้ายเพื่อให้เช่า ดั้งนั้น ถ้าเราต้องการทำสื่อประชาสัมพันธ์บนป้ายบิลบอร์ด เราต้องจ่ายค่าเช่ากับเจ้าของป้ายก่อน
แต่ปัจจุบันนี้เจ้าของสินค้าส่วนใหญ่จะนิยมทำป้ายบิลบอร์ดขึ้นเอง ซึ่งข้อดีก็คือ สามารถลดค่าใช้จ่ายสำหรับการเช่าป้าย และสามารถติดตั้งสื่อได้ตามระยะเวลาที่ต้องการ โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องการหมดสัญญาเช่าด้วย
2
นอกจากนี้ยังมีป้ายแบบตาข่าย คือ ไวนิลที่สามารถลดแรงปะทะของลมได้ดีกว่าแบบโปร่งแสงทั่วไป
1
สามารถใช้ขึงตามอาคารสูงได้หรือกล่องไฟที่อยู่บนอาคารสูง จะมีระยะห่างของตาข่ายแตกต่างกันไปสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม
เช่นเคย : อ่านจบแล้ว..คอมเม้นท์บอกเราหน่อยว่าคุณเพิ่งรู้เรื่องนี้จากบทความเราหรือรู้มาตลอดอยู่แล้ว 🧠
8
ภารกิจของเรา : คือการเติมความอยากรู้ของคุณด้วยการแบ่งปันข้อเท็จจริง หากคุณมีหัวข้อที่ต้องการให้เราพูดถึงและพูดคุย คอมเม้นท์ส่งข้อความถึงเราได้ตลอดเวลา 💡
3
โฆษณา