3 ก.ย. 2021 เวลา 23:00 • ครอบครัว & เด็ก
📌3 ทักษะความสามารถพิเศษใน ออทิสติก ซาวองค์📌
The Good Doctor ซีรี่ย์ที่คงจะคุ้นตาหลายคนไม่น้อย เพราะความสามารถของตัวละครเอกอย่าง ดร. ฌอน เมอร์ฟีร์ หรือ หมอฌอน ที่มีอาการ “ออทิสติก ซาวองค์” ตั้งแต่กำเนิด โดยฌอนได้รับการอุปการะโดยคุณหมอท่านหนึ่งที่เห็นแววความอัจฉริยะในตัวเขาและส่งเสริมให้เรียนแพทย์ ในซีรี่ย์หลายๆคนจะสังเกตเห็นความสามารถที่น่าอัศจรรย์ จากการจดจำตำแหน่งต่างๆ ของอวัยวะภายในร่างกายมนุษย์ได้จากวิธีการคิดด้วยภาพ (Visual Thinker) ราวกับตาเห็น
👉ออทิสติก ซาวองก์ (Autistic Savant) หรือ อัจฉริยะแห่งออทิสติก
ออทิสติก ซาวองก์ (Autistic Savant) ใช้เรียกบุคคลออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษ ซึ่งมักพบว่ามีความสามารถเฉพาะเจาะจงในบางด้าน หรืออาจมีความจำแบบพิเศษที่สามารถจำได้ทุกอย่างที่เรียนรู้ โดยจากการศึกษาวิจัย พบว่าในเด็กออทิสติกทั้งหมดจะมีค่าเฉลี่ยประมาณ 10% ที่จัดอยู่ในกลุ่ม ออทิสติก ซาวองก์ เด็กในกลุ่มนี้สามารถมีความอัจฉริยะเฉพาะด้าน หรือหลากหลายด้านพร้อมกันได้ โดยส่วนใหญ่ความอัจฉริยะนี้จะแสดงให้เห็นชัดตั้งแต่เด็ก หรือในบางคนอาจต้องรอโอกาสที่จะได้แสดงออกมาให้เห็นหลังได้มีโอกาสในการทำกิจกรรมต่างๆ จากประสบการณ์
3 ทักษะความสามารถพิเศษของ ออทิสติก ซาวองก์
1) Splinter Skills : เป็นทักษะที่พบได้บ่อยที่สุด เป็นความจำแบบพิเศษ จำได้ทุกอย่างเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ แต่เป็นความสนใจแบบหมกมุ่น ซึ่งอาจไม่มีประโยชน์ เช่น จำตารางเวลาเดินรถไฟได้ทั่วเมือง จำแผนที่ได้ทั้งเมือง จำตารางการแข่งขันกีฬาที่สนใจได้ทุกนัด หรือรู้ข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ครบทั้งสภา ตั้งแต่วันเกิด วันแต่งงาน ประวัติการศึกษา เป็นต้น
2) Talented : เป็นความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เช่น ดนตรี ศิลปะ คณิตศาสตร์ ทักษะกลไก หรือมิติสัมพันธ์ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เก่งในทุกด้าน แต่ด้านที่เก่งจะรู้และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
3) Prodigious : เป็นความสามารถพิเศษที่มหัศจรรย์ ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เป็นทักษะที่ไม่พบว่ามีในคนปกติทั่วไป เช่น สามารถคำนวณปฏิทิน 100 ปี โดยคิดในใจในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นต้น พบได้น้อยมาก เรียกได้ว่า สามารถนับคนได้ว่ามีใครบ้าง คาดว่าในโลกนี้อาจมีไม่ถึง 50 คน และพบว่าครึ่งหนึ่งเป็นออทิสติก
👉การเลี้ยงดูและส่งเสริมความสามารถ
การดูแลจากผู้ปกครองมีส่วนสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความสามารถพิเศษของเด็กออทิสติกที่มีอยู่ ซึ่งแนวคิดการดูแลในปัจจุบัน พบว่าการส่งเสริมความสามารถพิเศษที่มีอยู่ในเด็กออทิสติกนั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในห้องเรียน หรือการเลี้ยงดูที่บ้านได้ เพื่อที่จะได้ดึงศักยภาพในตัวเด็กออกมาด้อย่างเต็มประสิทธิภาพควบคู่กับการแก้ไขและพัฒนาข้อจำกัดต่างๆ เพื่อช่วยลดความบกพร่องที่มีในตัวเด็กได้
ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ปกครองอย่าลืมที่จะเปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมที่ตัวเองชื่อชอบหรืออยากทำเพื่อจะได้ทำให้เขาค้นพบความสามารถที่หลากหลายมากขึ้น ในทุกช่วงวัย
📍อ่านข้อมูลเพิ่มเติมวิธีการพัฒนาอาการต่างๆ เหล่านี้ ได้ที่
>> ออทิสติก (ASD) www.neurobalanceasia.com/อาการ/asd
>> สมาธิสั้น (ADHD) www.neurobalanceasia.com/อาการ/adhd
>> บกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) www.neurobalanceasia.com/อาการ/ld
📌ร่วมแบ่งปันข้อมูล แลกเปลี่ยนความรู้ เกี่ยวกับการดูแลเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้า แบบไม่ใช้ยา ได้ที่กลุ่ม>>https://bit.ly/3wk0l3M
👍หากชอบ ฝากกด Like กด Share บทความให้สักนิด
แต่หากชอบมากๆ กด Like และกดติดตามเพจเพิ่มเติมตามนี้ให้ด้วยนะ
#Neurobalanceasia #Neurofeedback #Biofeedback #Brain #healthwellness #Autism #ADHD #Hyperactivity #ASD #ออทิสติก #สมาธิสั้น #พัฒนาการช้า #พูดช้า #สมอง
โฆษณา