2 ก.ย. 2021 เวลา 06:43 • ธุรกิจ
Great Resignation หลังโควิดคนจะ ‘ลาออก’ มหาศาล ผู้บริหารต้องรับมืออย่างไร?
4
ระยะเวลากว่า 1 ปีครึ่งที่ทั่วทั้งโลกอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือการระบาดครั้งใหญ่นี้ทำให้รูปแบบชีวิตการทำงานของผู้คนเปลี่ยนไปแบบสิ้นเชิง
3
แต่ที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ ผลสำรวจหลายที่ระบุไปในทางเดียวกันว่า เมื่อโควิดเริ่มคลี่คลาย เศรษฐกิจเริ่มฟื้น (แม้จะยังมีการระบาดต่อไปก็ตาม) คนจะลาออกจากงานกันมหาศาลเพื่อไปหางานใหม่ หรือที่เรียกว่า Great Resignation
5
โดยหากดูเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว ในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ระบุว่ามีคนลาออกจากงานมากกว่า 4 ล้านคน ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
4
ขณะที่ผลสำรวจจากบริษัทจัดหางานสัญชาติอเมริกันอย่าง Bankrate ระบุว่า ประมาณ 55% ของแรงงานในสหรัฐอเมริกาบอกว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะหางานใหม่ในอีก 12 เดือนข้างหน้า
2
ไม่เพียงเท่านั้น แต่ยังมีผลสำรวจของบริษัทไมโครซอฟท์ที่มีพนักงานทั่วโลกกว่า 30,000 คน พบว่า 41% ของพนักงาน กำลังคิดลาออกหรือเปลี่ยนอาชีพในปีนี้
1
รวมถึงบริษัท Personio ซึ่งทำซอฟต์แวร์ด้านทรัพยากรบุคคล ได้สำรวจคนทำงานในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ พบว่า 38% ของผู้ตอบแบบสำรวจวางแผนที่จะลาออกจากงานในอีก 6 เดือน – 1 ปีข้างหน้านี้
2
[นานาสาเหตุ ทำให้คนอยากลาออก]
1
ส่วนสาเหตุที่ทำให้คนอยากลาออกหรืออยากเปลี่ยนงานกันมากขึ้น เมื่อสถานการณ์โควิดเริ่มดีขึ้น มาจากหลายเหตุผลด้วยกัน
1
1.โควิดทำให้โลกการทำงานและความคิดคนเปลี่ยนไป
3
การแพร่ระบาดของโควิด ทำให้รูปแบบการทำงานของคนเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการต้องทำงานที่บ้าน (Work from Home), การทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Work from Anywhere) หรือการทำงานจากระยะไกล (Remote Working)
2
นั่นทำให้การทำงานที่ไม่ต้องเข้าออฟฟิศกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ คนเริ่มชินกับวัฒนธรรมนี้ และเริ่มมีแนวคิดว่า จริงๆ แล้วการทำงานที่ได้ประสิทธิภาพ ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศทุกวันก็ได้ และเริ่มมองหางานใหม่ที่ให้ความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น
7
โดยมีผลสำรวจระบุว่า พนักงาน 1 ใน 3 ไม่ต้องการทำงานกับบริษัทที่ให้ทำงานในออฟฟิศตลอดเวลา และเกือบครึ่งหนึ่งบอกว่าหากบริษัทไม่ขยายนโยบายการทำงานจากระยะไกล พวกเขาจะลาออกไปทำงานที่อื่น
3
แล้วทำไมคนถึงไม่อยากกลับไปทำงานที่ออฟฟิศแบบเต็มเวลา?
1
สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะการทำงานระยะไกลทำให้พนักงานจัดสรรเวลาในแต่ละวันได้เอง, ประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งค่าเดินทาง ค่าเสื้อผ้าที่ต้องใส่ไปทำงาน ค่าอาหาร รวมถึงไม่ต้องเผชิญกับสภาวะการเมืองในที่ทำงาน เป็นต้น
4
2.ภาวะหมดไฟ (Burnout)
1
ผลสำรวจของเว็บไซต์หางานในสหรัฐฯ อย่าง Monster.com ซึ่งสำรวจคนอเมริกันวัยทำงาน 649 คน พบว่า 95% ระบุว่าพวกเขากำลังตัดสินใจลาออกจากงาน ซึ่งคนส่วนใหญ่ระบุว่าสาเหตุมาจากภาวะเบิร์นเอาท์ หรือเหนื่อยล้าหมดไฟในการทำงาน
7
ซึ่งภาวะหมดไฟเกิดขึ้นจากการที่ไม่สามารถแบ่งเวลาทำงานกับเวลาพักผ่อนส่วนตัว หักโหมทำงานมากไปเพราะหวังว่าประสิทธิภาพการทำงานจะดีขึ้น กลายเป็นมีแรงกดดันมากขึ้นจากการทำงานด้วยตัวเอง
จนนำมาสู่ความเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เบื่อหน่าย และอยากลาออกในที่สุดนั่นเอง
2
3.วิธีที่นายจ้างปฏิบัติ (หรือไม่ปฏิบัติ) ต่อพนักงาน
2
ก่อนโควิดพนักงานบางคนอาจเผชิญกับความรู้สึกอยากลาออก เพราะวัฒนธรรมองค์กรที่ย่ำแย่ของบริษัทอยู่แล้ว พอมาเจอโควิดทำให้เหมือนมาสู่จุดแตกหักได้เร็วขึ้น
2
โดยการศึกษาของ Stanford พบว่า บริษัทหลายแห่งที่มีสภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่ดี หรือปฏิบัติกับพนักงานแบบไม่ดีนัก ทำให้คนอยากลาออกมากขึ้นเป็น 2 เท่า เช่น ใช้มาตรการเลิกจ้างทันทีที่โควิดระบาด
2
หรืออีกกรณีที่เห็นได้ชัดในสหรัฐฯ คือการที่บางธุรกิจ เช่น ค้าปลีก ให้พนักงานที่ต้องติดต่อกับผู้คนมาทำงานในจำนวนชั่วโมงทำงานที่มากขึ้น โดยไม่มีมาตรการความปลอดภัย ไม่มีหลักประกันค่าจ้างหากลาป่วยให้ ทำให้พนักงานเหนื่อยหน่ายและอยากลาออกมากขึ้น
6
โดยในเดือน เม.ย. เพียงเดือนเดียว แรงงานในอุตสาหกรรมค้าปลีกของสหรัฐฯ ลาออกไปเกือบ 650,000 คน
3
นั่นเพราะปกติพนักงานก็สนใจสภาพแวดล้อมและคาดหวังการปฏิบัติที่ดีจากนายจ้างอยู่แล้ว แต่ยิ่งเมื่อมีสถานการณ์โควิด ความคาดหวังเหล่านั้นก็เพิ่มมากยิ่งขึ้น
4
ไม่ว่าจะเป็นอยากให้บริษัทใส่ใจชีวิตความเป็นอยู่, สุขภาพกาย, สุขภาพใจ หรือคาดหวังให้นายจ้างทำอะไรสักอย่าง เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน หรืออย่างน้อยก็รับทราบข้อกังวลของพนักงานนั่นเอง
1
4.สาเหตุอื่นๆ
นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ เพิ่มเติม คือ พนักงานรู้สึกขาดโอกาสเติบโตในที่ทำงานเดิม, ต้องการย้ายไปหาบริษัทที่มีความมั่นคงทางการเงิน รวมถึงอยากเปลี่ยนไปทำงานในอุตสาหกรรมที่เหมาะกับตำแหน่งของตัวเองด้วย
[คนเป็นหัวหน้างานต้องทำอย่างไร]
Rob Falzen รองประธานบริษัท Prudential Financial ระบุว่า ถึงแม้จะมีพนักงานคนเดียวที่คิดจะลาออก บริษัทก็ควรเริ่มกังวล และหากลยุทธ์เพื่อรักษาพนักงานเอาไว้ ซึ่งเขาแนะนำไว้ดังนี้
2
-ข้อแรก บริษัทควรคิดทบทวนว่าจะรักษาวัฒนธรรมในองค์กร พร้อมๆ กับช่วยให้พนักงานรู้สึกเชื่อมโยงกับองค์กรและหัวหน้างาน ในสภาพที่ต้องทำงานระยะไกลได้อย่างไร
1
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือไม่ใช่ทำให้พวกเขาเชื่อมโยงกับองค์กร ด้วยการให้กลับมาทำงานที่ออฟฟิศเต็มเวลาอีกครั้ง เพราะผลสำรวจของ Prudential ชี้ว่า พนักงานอยากทำงานแบบยืดหยุ่นต่อไป แม้สถานการณ์การระบาดจะเริ่มคลี่คลายแล้วก็ตาม
2
โดยพนักงานส่วนใหญ่ต้องการการทำงานในรูปแบบ Hybrid หรือผสมผสานระหว่างการทำงานที่ออฟฟิศและจากที่อื่น ซึ่ง Prudential ก็จะนำโมเดลนี้มาใช้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
1
-ข้อสอง Falzen กล่าวว่า การระบาดครั้งนี้ทำให้ผู้คนกังวลมากขึ้นว่าจะไม่ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หรือมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงาน ยกเว้นว่าจะลาออกจากบริษัทเท่านั้น
3
เนื่องจากการระบาดทำให้บริษัทต่างๆ ต้องปรับตัวหลายด้าน และดูแลพนักงานในด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต จนโฟกัสการฝึกอบรมทักษะใหม่ๆ ให้พนักงานน้อยลง
3
ดังนั้น สิ่งที่องค์กรต่างๆ ควรทำคือการยื่นข้อเสนอที่จะเสริมสร้างอนาคตให้พนักงาน ไม่ว่าจะเป็นหนทางในการอัพสกิล (upskill), รีสกิล (reskill) ซึ่งหมายถึงการต่อยอดทักษะที่มีอยู่เดิม และเพิ่มทักษะใหม่ๆ
4
นอกจากนี้องค์กรยังควรมองไปถึงการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง ซึ่งอาจช่วยจัดการกับข้อกังวลของพนักงานอย่างเรื่องความยืดหยุ่นทางการเงินออกไปได้
2
เพราะเมื่อคนสามารถหางานทำได้จากทุกที่ พวกเขาก็จะมองหาองค์กรที่ให้ผลตอบแทนดี อยู่แล้วมีโอกาสเรียนรู้และก้าวหน้า และคำนึงถึงสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน (work-life balance) ของพนักงานด้วย
2
และหากบริษัทไม่สามารถมอบสิ่งเหล่านั้นให้พนักงานได้ ท้ายที่สุดก็จะสูญเสียพนักงานที่มีความสามารถไปนั่นเอง
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา