3 ก.ย. 2021 เวลา 06:13 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
💉 เคยทราบหรือไม่..การบริจาคเลือดในแต่ละครั้งเราจะได้สิทธิอะไรบ้าง คนที่บริจาคเลือดควรต้องรู้ เมื่อเข้าโรงพยาบาลจะได้ไม่เสียสิทธิ์ในการรักษา
16
การบริจาคเลือดเป็นวิธีการช่วยชีวิตผู้อื่นที่ดีที่สุดที่คนทั่วไปสามารถทำได้ เลือดมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการรักษาผู้ป่วยที่เสียเลือด โดยเลือดต่างจากยารักษาโรค เพราะไม่สามารถซื้อขายได้ จำเป็นต้องได้มาโดยการ “บริจาค” เท่านั้น
2
ซึ่งการบริจาคเลือดปกติ 1 ครั้งสามารถช่วยต่อชีวิตให้กับผู้ป่วยได้ถึง 3 คน ดังคำที่ว่า “หนึ่งคนให้ สามคนรับ” วันนี้จะพาเพลินมาบอกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่าน ถึงเรื่องสิทธิการรักษาสำหรับผู้บริจาคเลือดว่ามีเงื่อนไขว่าไว้อย่างไรบ้าง เมื่อถึงยามเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลจะได้ไม่เสียสิทธิ์ในการรักษา
3
แต่ก่อนจะไปทราบถึงเรื่องสิทธิการรักษาสำหรับผู้บริจาคเลือด เรามาดูสิทธิพื้นฐานในการรักษาพยาบาลที่เรามีกันก่อน
คนไทยได้รับการคุ้มครองสิทธิการรักษาพยาบาลจากรัฐบาล โดยสิทธิการรักษาพื้นฐานที่มีสิทธิเข้าถึง มี 3 ระบบใหญ่ด้วยกัน คือ
1
1. สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ
1
2. สิทธิประกันสังคม
2
3. สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาทหรือบัตรทอง (บุคคลที่เป็นคนไทยมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก)
1
โดยใน 3 ข้อนี้ เราจะทราบกันดีอยู่แล้ว แต่นอกเหนือจากสิทธิพื้นฐานเหล่านี้แล้ว ยังมีอีกสิทธิหนึ่งในการรักษาพยาบาลที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบกัน นั่นก็คือ "สิทธิการรักษาสำหรับผู้บริจาคโลหิต" แม้กระทั่งในผู้ที่บริจาคเลือดเองส่วนหนึ่งที่ยังไม่ทราบก็มี
1
ว่าด้วยการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2558 เป็นไปตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข แบ่งออกเป็น ดังนี้
"การบริจาคเลือดตั้งแต่ 24 ครั้งขึ้นไป จะมีสิทธิ์เข้ารับการรักษาได้ ส่วนค่าห้อง-อาหารลด 50% เฉพาะการเป็นผู้ป่วยใน (Admit) เท่านั้น ใน รพ.สังกัดสภากาชาดและ รพ.ที่สังกัดในกระทรวงสาธารณสุข"
2
🏥 โรงพยาบาลที่สามารถเข้ารับการรักษาตามสิทธิได้..?
4
คำถามต่อมา ผู้อ่านคงเกิดความสงสัยว่า แล้วโรงพยาบาลใดบ้างที่สังกัดใน รพ.สังกัดสภากาชาด และ รพ.ที่สังกัดในกระทรวงสาธารณสุข
4
1. โรงพยาบาลสังกัดสภากาชาดไทย : มี 2 แห่ง ด้วยกัน ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
3
2. โรงพยาบาลที่สังกัดในกระทรวงสาธารณสุข : ได้แก่ โรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทย เพราะเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
สิทธิที่ได้รับอาจจะแตกต่างกันไปตามโรงพยาบาลในแต่ละแห่ง เพราะหลักเกณฑ์ส่วนนี้จะมาจากคณะกรรมการของแต่ละโรงพยาบาลที่กำหนดตามความเหมาะสม
2
ความหมายของผู้ป่วยใน และ ผู้ป่วยนอก..?
"ผู้ป่วยใน (IPD)" หมายถึง ผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป
ส่วน "ผู้ป่วยนอก (OPD)" คือผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา โดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล สามารถกลับบ้านได้เลยในวันที่เข้ารับการรักษา
2
(SOURCE : https://allwellhealthcare.com)
ขั้นตอนในการยื่น..?
ไม่สามารถยื่นบัตรบริจาคโลหิตแล้วใช้สิทธิ์ได้เลย ต้องขอใบรับรองจากศูนย์บริการโลหิตก่อน แล้วนำใบรับรองไปยื่นที่ช่องการเงิน ซึ่งสามารถเดินเข้าไปติดต่อที่ศูนย์ได้เลย เขาจะทำหนังสือมาให้ฉบับหนึ่ง แล้วเอาไปยื่นที่โรงพยาบาลที่เราเข้ารับการรักษา
5
บริจาคเลือดช่วงโควิดได้หรือไม่..?
2
สามารถบริจาคเลือดได้ตามปกติ เพียงแต่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ ได้กำหนดมาตรการเพื่อคัดกรองประวัติสุขภาพของผู้บริจาคโลหิตอย่างรัดกุม ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก หากเข้าเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งจะให้งดบริจาคเลือดในทันทีค่ะ
4
ทำไมถึงไม่ค่อยมีคนทราบถึงสิทธิการรักษานี้..?
5
ส่วนหนึ่งเป้าหมาย คือ ต้องการให้การบริจาคเลือดเป็นการบริจาคด้วยความเต็มใจและยินยอม ไม่ใช่เพราะต้องการสิ่งตอบแทน จึงเป็นเหมือนการขอบคุณแบบเงียบ ๆ ไม่ค่อยประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ให้ได้ทราบแบบโจ่งแจ้ง
12
ไม่เช่นแล้วจะเป็นการทำลายเจตจำนงที่ว่า "มาด้วยจิตต้องการบริจาค"
ที่มา
รายการทาง youtube "ป้าปอจ้อเรื่องสุขภาพ โดยประหยัด พยาบาลวิชาชีพ"
เรียบเรียงโดย : ครูรุ้งพาเพลิน
ภารกิจของเรา : คือการเติมความอยากรู้ของคุณด้วยการแบ่งปันข้อเท็จจริง หากคุณมีหัวข้อที่ต้องการให้เราพูดถึงและพูดคุย ส่งข้อความถึงเราได้ตลอดเวลา 💡
โฆษณา