8 ก.ย. 2021 เวลา 04:29 • ความคิดเห็น
ทำไมนโยบาย Womenomics ของญี่ปุ่นจึงล้มเหลว?🇯🇵🎎🌸
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ตกอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจชะงักงันมานานนับทศวรรษ ความพยายามของผู้บริหารประเทศคนแล้วคนเล่า ที่ต้องการกระตุ้นให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นกลับมาเฉิดฉายอีกครั้ง ล้วนแต่ล้มเหลว
1
คนญี่ปุ่นเริ่มมีความหวัง ตอนที่ได้นายกรัฐมนตรีที่ชื่อชินโซะ อาเบะ เข้ามาบริหาร
นายอาเบะเข้ามาบริหารประเทศพร้อมประกาศนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้นโยบายที่ชื่อว่า
Abenomics
ในนโยบาย อาเบะโนมิคส์ประกอบด้วยมาตรการหลากหลายส่วนทั้งการอัดฉีดเงิน ควบคู่นโยบายการเงินการคลังอีกหลายอย่าง
แต่หนึ่งในนโยบายสำคัญที่ระบุไว้ในอาเบะโนมิคส์ก็คือ นโยบายที่เรียกว่า Womenomics
Womenomics ไม่ใช่คำใหม่ในสมัยนายอาเบะ แต่ถูกคิดขึ้นโดยคุณเคธี มัตซุย อดีตผู้บริหารของโกลด์แมน แซค สถาบันการเงินชั้นนำระดับโลก
Womenomics หมายถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยพลังแห่งผู้หญิง
เดิมทีคุณเคธี มัตซุยได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาความซบเซาทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นไว้ 3 ทางเลือก
คือ
1).เพิ่มอัตราการเกิด
2).รับแรงงานอพยพให้มากขึ้น
3).ใช้พลังผู้หญิงมาขับเคลื่อน
2
นายกรัฐมนตรีซินโซะ อาเบะตัดสินใจเลือกแนวทางที่ 3 เป็นแนวทางหลัก เพราะสองแนวทางแรกค่อนข้างทำได้ยากกว่า
1
หลังจากนายอาเบะตัดสินใจว่าจะขับเคลื่อนญี่ปุ่นด้วยพลังของผู้หญิง
ดังนั้นนโยบายของภาครัฐที่ออกมาจึงต้องสอดคล้องกับแนวทางนี้
และนี่คือสิ่งที่นายอาเบะทำ
เพื่อสนับสนุน Womenomics
รัฐบาลญี่ปุ่นเร่งให้มีการสร้างสถานรับเลี้ยงเด็กให้มากขึ้น
เพื่อให้คุณแม่ได้กลับไปทำงานได้อีกครั้ง
1
มีการออกกฏหมายลดภาษีสำหรับครอบครัวที่สามี ภรรยา ทำงานทั้งสองคน
1
ให้สิทธิพิเศษแก่หน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับความเสมอภาคทางเพศของพนักงาน
มีนโยบายเพิ่มสัดส่วนผู้บริหารที่เป็นผู้หญิงทัังในภาครัฐและเอกชน
..
นับตั้งแต่สมัยนายอาเบะ จนมาถึงนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน(ที่กำลังลาออก)นายโยชิฮิเดะ ซูงะ นโยบาย Womenomics กลับสร้างความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้น้อยมาก
มันเป็นเพราะอะไร?
1
สิ่งที่ทำให้นโยบาย Womenomics ไปไม่ถึงไหน ก็เพราะรากเหง้าของปัญหาไม่ได้ถูกแก้ไข
ทุกอย่างยังแทบจะเหมือนเดิม เมื่อยี่สิบปีก่อน
สังคมญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับผู้ชายมากกว่า
1
ทัศนคติของผู้ชายญี่ปุ่นเกือบครึ่งยังมองว่าผู้หญิงควรจะทำหน้าที่อยู่บ้านเลี้ยงลูก
ผู้หญิงญี่ปุ่นยังอยากเลี้ยงลูกเอง จึงลาออกจากงานเมื่อมีลูก
4
บริษัทในญี่ปุ่นไม่นิยมรับผู้หญิงที่เคยลาออกจากงานไปเลี้ยงลูก เพราะมองว่าช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงที่ผู้หญิงขาดประสบการณ์การทำงาน
1
ในตลาดแรงงานยังมีการด้อยค่าของผู้หญิง โดยในตำแหน่งงานเดียวกันผู้หญิงจะได้ค่าตอบแทนเพียงแค่ 75% ของผู้ชายเท่านั้น
1
และแม้แต่ตัวรัฐบาลผู้ออกนโยบายเอง ก็ยังมีสัดส่วนผู้หญิงในคณะผู้บริหารและ ส.ส. น้อยมากติดอันดับท้าย ๆ ของโลก
มีผู้บริหารที่เป็นผู้หญิงในบริษัทญี่ปุ่นเพียงแค่ 1% เท่านั้น
ทั้งที่ค่าเฉลี่ยของทุกประเทศทั่วโลก อยู่ที่ 7%
1
..
ด้วยความที่ญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุอันดับต้น ๆ ของโลก
ปัญหาการขาดแคลนแรงงานหนุ่มสาวจึงเกิดขึ้น
1
ทางการญี่ปุ่นหันไปใช้วิธีทุ่มงบประมาณอุดหนุนการสร้างทักษะให้กับแรงงานวัยกลางคน เพื่อทดแทนการขาดแคลนดังกล่าว
แต่นั่นมันแทบจะเกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ชาย ไม่ใช่ผู้หญิง
ถึงแม้สองสามปีที่ผานมาตัวเลขจำนวนผู้หญิงที่กลับเข้าสู่ระบบการทำงานเริ่มสูงขึ้น แต่พอเราลงไปดูในรายละเอียดงานที่พวกเธอทำส่วนใหญ่คืองานพาร์ทไทม์ที่ปกติมีไว้สำหรับนักเรียน นักศึกษา
สิ่งที่น่าเสียดายในเรื่องนี้ก็คือ
ผู้หญิงญี่ปุ่นต่างได้รับการศึกษาที่ดี พวกเธอมีความสามารถ แต่ขาดโอกาสและการยอมรับ
2
ปัญหานี้ ความจริงแล้วก็คล้ายกับอีกหลายประเทศ ที่นโยบายความเท่าเทียมกันทางสังคมมีอยู่แค่ในกระดาษแถลงนโยบาย
แต่ไม่เคยมีความเสมอภาคจริง ๆ เกิดขึ้นเลย...
..
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา