4 ก.ย. 2021 เวลา 03:10 • สิ่งแวดล้อม
#EXPLAINED : ทำไม 'ภูฏาน' ถึงเป็นประเทศที่ปล่อยคาร์บอนติดลบ (Carbon Negative)
สูงขึ้นไปทางด้านตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ตั้งของประเทศเล็กๆ หัวใจสีเขียวที่ชื่อ 'ภูฏาน' ซึ่งมีประชากรเพียง 800,000 คน อาศัยอยู่บนแผ่นดินเขียวขจีสวยงามกว่า 38,000 ตารางกิโลเมตร ปกคลุมไปด้วยพื้นที่ป่าไม้ถึง 72% ของประเทศ
เราคงคุ้นตาคุ้นหูกับคำว่า 'การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์' (Carbon Neutral) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่หลายๆ ประเทศตั้งเป้าจะไปให้ถึง แต่ภูฏานทำได้มากกว่าด้วยการปล่อยคาร์บอนติดลบ เป็น 1 ใน 2 ประเทศในปัจจุบันที่ได้รับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศมากกว่าที่ตนเองปล่อย อีกประเทศคือซูรินาม (Suriname)
2
แล้วมันเป็นไปได้ยังไงกันแน่ ทำไมถึงปล่อยติดลบ ?
จริงๆ แล้วรากฐานของมันอยู่ใต้เสาหลัก 4 ประการ ที่ภูฏานตั้งเอาไว้ คือ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การปกครองที่ดี พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน และการอนุรักษ์วัฒนธรรม แต่ใจความสำคัญคือเสาหลักเหล่านี้ได้นำพาภูฏานให้สามารถอนุรักษ์ป่าไม้เอาไว้ได้
1
🌿 แก้รัฐธรรมนูญและบังคับใช้กฏหมายเพื่ออนุรักษ์ผืนป่า
:
ภูฏานแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี 2551 โดยระบุว่าประเทศต้องรักษาพื้นที่ป่าให้คงอยู่อย่างน้อย 60% ของพื้นที่ในประเทศ เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้ทั้งภูฏานสามารถปล่อยคาร์บอนได้ติดลบ เนื่องจากพวกเขามีพื้นที่ป่ามากกว่าครึ่งของประเทศคอยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ทำหน้าที่เป็นเหมือนอ่างกักเก็บคาร์บอน ภูฏานผลิตคาร์บอนเพียง 2 ล้านตัน ในขณะที่ดูดซับได้ถึง 7 ล้านตันต่อปี
นอกจากนี้รัฐยังมีการห้ามส่งออกไม้ซุง และห้ามการล่าสัตว์ป่าไม่ว่าจะเพื่อการใดก็ตาม
💦 เน้นใช้ไฟฟ้าพลังงานน้ำ
:
พวกเขาอาศัยไฟฟ้าจากแหล่งน้ำของประเทศ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่มาจากธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีการส่งออกพลังงานสะอาดให้ประเทศเพื่อนบ้านเพื่อช่วยลดการปล่อยคาร์บอนอีกด้วย
🗻 ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
:
รัฐบาลมีการกำหนดแนวทางการท่องเที่ยวที่ค่อนข้างเข้มงวด มีการเก็บค่าธรรมเนียมจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศ และบังคับให้นักท่องเที่ยวต้องจ้างไกด์ท้องถิ่น จะได้เป็นหูเป็นตาไม่ให้นักท่องเที่ยวทำลายสิ่งแวดล้อม และยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในประเทศอีกด้วย
1
ภูฏานเคยออกคำสั่งห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งด้วย แต่ก็ไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่จนถึงตอนนี้ เพราะว่าพวกเขายังไม่สามารถหาสิ่งทดแทนพลาสติกที่ยั่งยืนได้
1
ทั้งนี้ภูฏานมุ่งหน้าพัฒนาประเทศโดยให้ความสำคัญกับความสุขของคนมากกว่า GDP เพราะพวกเขาเชื่อว่าการที่ GDP สูงขึ้นอาจทำให้สิ่งแวดล้อมแย่ลงจากความต้องการและการสร้างผลผลิตที่เพิ่มขึ้น และการที่ประเทศมีสิ่งแวดล้อมที่ดี อากาศที่สะอาด ธรรมชาติที่สดใสสวยงาม จะทำให้ประชาชนมีความสุขและมีสุขภาพการเป็นอยู่ที่ดี นอกจากนี้คนในประเทศก็สามารถเข้าถึงการศึกษาและระบบสาธารณสุขได้ฟรีอีกด้วย
1
เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ประเทศอื่นๆ สามารถเรียนรู้และนำไปปรับใช้กับประเทศของตัวเองได้ ถึงแม้ว่าวันนี้ภูฏานจะยังคงต้องการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหาขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ แต่เพียงเท่านี้นพวกเขาก็สามาถช่วยสิ่งแวดล้อมได้มากมายแล้วทีเดียว
แหล่งที่มา:
The Vegan Review - https://bit.ly/3yKN6uf
Intelligent Living - https://bit.ly/3n3pK0C
Visual Capitalist - https://bit.ly/3BE6PgW (เป้าหมายคาร์บอนของแต่ละประเทศ)
เขียน: ic.
โฆษณา